เบาหวานเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างไร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โรคเบาหวานเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular Disease and Diabetes) ร้อยละ 68 ของผู้ป่วยเบาหวาน อายุ 65 ปีขึ้นไปจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และ 16% เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานมากกว่า 2-4 เท่าสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาถือว่าโรคเบาหวานเป็นหนึ่งในเจ็ดปัจจัยที่ควบคุมได้ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

เบาหวานเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างไร

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานถึงเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ? เบาหวานเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างไร

ความดันโลหิตสูง (hypertension)
ความดันโลหิตสูง ถือเป็นปัจจัยหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดเกิดการเสียหายและเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง อุดตัน มีผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความดันโลหิตสูง และภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อผู้ป่วยมีทั้งโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานซึ่งเป็นอาการร่วมกันความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ระดับคลอเรสเตอรอลผิดปกติ และระดับไขมันไม่ดี LDL สูง
ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาไขมันในเลือดร่วมด้วย ระดับไขมัน ไม่ดี LDL สูง ระดับไขมัน ดี HDL ต่ำ เป็นปัจจจัยให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังเป็นลักษณะของความผิดปกติของไขมันที่เกี่ยวข้องกับการดื้ออินซูลินที่เรียกว่าไขมันในเลือดสูง หรือภาวะไขมันในเลือดสูงจากเบาหวานในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ภาวะอ้วน Obesity
ภาวะอ้วนคือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีความสัมพันธ์อย่างมากเกี่ยวกับภาวะดื้ออินซูลิน
ขาดการออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ สำหรับภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนัก สามารถป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ พร้อมทั้งการลดความดันโลหิตช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้

การออกกำลังกาย
สำหรับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวม American Heart Association แนะนำ: การออกกำลังกายกิจกรรมแอโรบิค อย่างน้อย 150 นาทีหรือกิจกรรมแอโรบิก 75 นาทีต่อสัปดาห์ รวมกับกิจกรรมเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ สามารถส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และสุขภาพหัวใจ

ภาวะควบคุมน้ำตาลที่ไม่ดี
การควบคุมน้ำตาลที่ไม่ดี หรือสูงเกินไป หรือควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติ เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่จะช่วยลดการอักเสบในหลอดเลือด ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเพิ่มขึ้นกว่าปกติทำให้เกิดความหนืดของหลอดเลือดแดงส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของเลือดช้า และเมื่อน้ำตาลและไขมันไปเกาะติดกับผนังหลอดเลือดสะสมเป็นปริมาณมากขึ้น จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแตกออกและกลายเป็นลิ่มเลือด จะส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ หากเป็นเบาหวานควรดูแลให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรปรึกษาแพทย์ถึงความจำเป็นต้องใช้ยา หรือพบแพทย์เพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือด

การสูบบุหรี่
คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือไม่เป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือโรคเบาหวานร่วมกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดการหรือควบคุมปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจช่วยชะลอการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อดูแลระดับน้ำตาล และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ทันการ


ข่าวโรคหลอดเลือดหัวใจ+โรคหลอดเลือดสมองวันนี้

รพ.นวเวช จัดแคมเปญ "วัยเก๋า ใช้ชีวิตแบบไม่สะดุด" เพราะสุขภาพของผู้สูงวัยเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องดูแล ตรวจ 5 โรคร้าย ซื้อ 1 ตรวจได้ถึง 3 ในราคาพิเศษ 7,900 บาท ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2566

เมื่อเข้าสู่วัย 50+ จะสังเกตเห็นความเสื่อมในร่างกายของตนเอง เริ่มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งวัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคร้ายได้ง่าย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม หรือแม้แต่ความผิดปกติในช่องท้อง เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับมือต่อความเสี่ยง และการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต "โรงพยาบาลนวเวช" จึงจัดแคมเปญ 50+ วัยเก๋าใช้ชีวิตไม่สะดุด ตรวจ 5 โรคร้าย โดยเป็นโปรแกรมตรวจสุขภาพ เช็ค 5 โรคร้าย ได้แก่ สมอง | หัวใจ |

ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมสูงขึ้นโ... แพทย์เตือนสายควัน สูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงป่วยโรคหัวใจ — ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน โดยพฤติกรรมการสูบบุหรี่นั้นเป็นปัจจัย...

โรคอ้วนควรอ่าน! ฟิตสมรรถภาพร่างกายให้สุขภ... โรคอ้วนควรอ่าน! ฟิตสมรรถภาพร่างกายให้สุขภาพดีต้องทำยังไง? — โรคอ้วนควรอ่าน! ฟิตสมรรถภาพร่างกายให้สุขภาพดีต้องทำยังไง? คำว่า "อ้วน" แค่ได้ยินเบาๆ ก็เจ็บ เจ...

โรงพยาบาลธนบุรี 2 ก้าวสู่มิติใหม่ของการตร... รพ.ธนบุรี 2 ก้าวสู่มิติใหม่ของการวินิจฉัยโรคด้วย CT Scan 443 Slices — โรงพยาบาลธนบุรี 2 ก้าวสู่มิติใหม่ของการตรวจวินิจฉัยโรค ด้วยเครื่อง "CT Scan 443 Slic...

โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอเชิญท่านเข้ารับการตรวจ... แพคเกจการตรวจสุขภาพหลอดเลือด ด้วย PVR (Pulse volume recoding) วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563 — โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอเชิญท่านเข้ารับการตรวจวิเคราะห์หลอดเลือดแดง ด้...

รู้ทันสัญญาณโรคหลอดเลือดหัวใจ อันตรายที่ค... 4 สัญญาณโรคหลอดเลือดสมองที่ควรมาพบแพทย์ — รู้ทันสัญญาณโรคหลอดเลือดหัวใจ อันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม หากปล่อยไว้อาจไม่ทันการ เจ็บหน้าอก ตรงกลาง ร้าวไปที่...

คุณธนัช เกตุมงคล (ที่ 1 จากซ้าย) กรรมการบ... ภาพข่าว: “เอินเวย์ กรุ๊ป จัดงานสัมมนาการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแบบบูรณาการ — คุณธนัช เกตุมงคล (ที่ 1 จากซ้าย) กรรมการบริหาร บริษัท เอินเวย์ กรุ๊ป จำ...

บทความสาระการแพทย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า โด... ข้อควรปฏิบัติยามเจ็บป่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน — บทความสาระการแพทย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า โดย พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม โ...

ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary ... CT CALCIUM SCORE การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ — ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Calcium (CAC) คือการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่สะสมในผ...