ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจาก “ถุงลมนิรภัยทาคาตะ” ทำงานผิดปกติ ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายผ่านเจ้าหน้าที่พิเศษและทรัสตี ภายใต้กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ศาสตราจารย์ เอริก ดี. กรีน เจ้าหน้าที่พิเศษของกองทุนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบุคคลที่ได้รับความเสียหายในคดีถุงลมนิรภัยทาคาตะ (Takata Airbag Individual Restitution Fund) ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และทรัสตีของกองทุนทรัสต์เพื่อชดเชยการละเมิด (Tort Compensation Trust Fund) ที่จัดตั้งขึ้นในคดีล้มละลายของทาคาตะ ได้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้

การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีถุงลมนิรภัยทาคาตะบกพร่อง

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ศาสตราจารย์ เอริก ดี. กรีน เจ้าหน้าที่พิเศษและทรัสตี ได้เปิดโครงการชดเชยค่าเสียหายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบ อันเนื่องมาจากการพองตัวอย่างรุนแรงหรือการแตกของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะที่ใช้แอมโมเนียมไนเตรตในการพองตัว (“ความบกพร่องของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะ”) โดยผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากกองทุน Individual Restitution Fund (“IRF”) มูลค่า 125 ล้านดอลลาร์ของกระทรวงยุติธรรม และ/หรือ กองทุนทรัสต์ Takata Airbag Tort Compensation Trust Fund (“TATCTF”) มูลค่า 140 ล้านดอลลาร์ โดยกระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ และผู้เสียหายยังคงมีเวลาดำเนินการ

ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบอันเนื่องมาจากความบกพร่องของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะ สามารถดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายได้สามประเภท ได้แก่ (i) “IRF Claim” เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากกองทุน IRF ซึ่งเป็นกองทุนชดเชยค่าสินไหมทดแทนสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยมิชอบ กองทุนนี้กำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่พิเศษ และจัดตั้งขึ้นภายใต้คำสั่ง Restitution Order ของศาลแขวงสหรัฐอเมริกาสำหรับเขตตะวันออกของรัฐมิชิแกน สืบเนื่องจากการดำเนินคดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมต่อบริษัททาคาตะ และประเทศสหรัฐอเมริกาต่อบริษัททาคาตะ คอร์ปอเรชั่น คดีหมายเลข 16-cr-20810 (E.D. Mich.), (ii) “Trust Claim” เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากกองทุนทรัสต์ TATCTF ซึ่งเป็นกองทุนชดเชยค่าเสียหายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยมิชอบ กองทุนนี้กำกับดูแลโดยทรัสตี และจัดตั้งขึ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการมาตรา 11 ของทาคาตะ ภายใต้คำสั่งของศาลล้มละลายเขตเดลาแวร์ และ (iii) “POEM Claim” เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจาก Participating Original Equipment Manufacturer หรือ POEM (ปัจจุบันมี POEM รายเดียวคือ Honda/Acura) โดยต้องดำเนินการผ่านกองทุน TATCTF ที่กำกับดูแลโดยทรัสตี

การเรียกร้องค่าเสียหายแต่ละประเภทมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำร้องแตกต่างกันไป และการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ละประเภทครอบคลุมเฉพาะการบาดเจ็บทางร่างกายและการเสียชีวิตโดยมิชอบอันเนื่องมาจากความบกพร่องของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะ โดยไม่ครอบคลุมการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบอันเนื่องมาจากส่วนประกอบอื่น ๆ ของถุงลมนิรภัย เช่น ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน ถุงลมนิรภัยพองตัวเอง การบาดเจ็บจากการชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวสูบลม หรือความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บทางร่างกายหรือการเสียชีวิต

สามารถขอรับแบบฟอร์มการเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งประกอบด้วยคำแนะนำโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการยื่นคำร้องได้ที่เว็บไซต์ของ IRF: www.takataspecialmaster.com หรือเว็บไซต์ของ TATCTF: www.TakataAirbagInjuryTrust.com

การกำกับดูแลกระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ศาสตราจารย์กรีนได้รับการแต่งตั้งจากศาลแขวงให้เป็นเจ้าหน้าที่พิเศษดูแลการเรียกร้องค่าเสียหายประเภท IRF Claim และได้รับการแต่งตั้งจากศาลล้มละลายให้เป็นทรัสตีดูแลการเรียกร้องค่าเสียหายประเภท Trust Claim และ POEM Claim

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง วันหมดเขตยื่นคำร้อง และวิธีการยื่นคำร้อง กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.takataspecialmaster.com และ www.TakataAirbagInjuryTrust.com หรือส่งคำถามมาที่อีเมล [email protected] หรือโทรฟรีที่หมายเลข (888) 215-9544

ติดต่อ: [email protected]


ข่าวกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ+กระทรวงยุติธรรมวันนี้

ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากถุงลมนิรภัยทาคาตะทำงานผิดปกติ อาจยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายผ่านเจ้าหน้าที่พิเศษและทรัสตี ภายใต้กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบ

ศาสตราจารย์ เอริก ดี. กรีน ( Eric D. Green) เจ้าหน้าที่พิเศษของกองทุนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบุคคลที่ได้รับความเสียหายในคดีถุงลมนิรภัยทาคาตะ (Takata Airbag Individual Restitution Fund) ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และทรัสตีของกองทุนทรัสต์เพื่อชดเชยการละเมิด (Tort Compensation Trust Fund) ที่จัดตั้งขึ้นในคดีล้มละลายของทาคาตะ ได้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้ การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีถุงลมนิรภัยทาคาตะบกพร่อง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ศาสตราจารย์ เอริก ดี. กรีน เจ้าหน้าที่พิเศษและทรัสตี ได้เปิดโครงการชดเชยค่า

ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจาก "ถุงลมนิรภัยทาคาตะ" ทำงานผิดปกติ ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายผ่านเจ้าหน้าที่พิเศษและทรัสตี ภายใต้กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบ

ศาสตราจารย์ เอริก ดี. กรีน เจ้าหน้าที่พิเศษของกองทุนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบุคคลที่ได้รับความเสียหายในคดีถุงลมนิรภัยทาคาตะ...

HOYA/PENTAX Medical ออกแถลงการณ์เรื่องการระงับคดีกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ

HOYA Corporation และบริษัทย่อย Pentax of America, Inc. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ PENTAX Medical (รวมเรียกว่า "PENTAX" หรือ "บริษัทฯ") ได้ทำสัญญาผัดผ่อนการดำเนินคดี (Deferred Prosecution Agreement: DPA) กับกระทรวงยุติธรรม (DOJ) ...

เจ้าหน้าที่พิเศษ/ทรัสตีในคดีถุงลมนิรภัยทาคาตะออกแถลงการณ์แจ้งผู้ได้รับความเสียหายจากคดีนี้อาจยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้

ศาสตราจารย์เอริก ดี.กรีน เจ้าหน้าที่พิเศษสำหรับกองทุนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบุคคลที่ได้รับความเสียหายในคดีถุงลมนิรภัยทาคาตะ (Takata Airbag Individual Restitution Fund)...

ZTE Corporation บรรลุข้อตกลงระงับคดีกับรัฐบาลสหรัฐ

ZTE Corporation (0763.HK / 000063.SZ ) ประกาศว่า บริษัทได้บรรลุข้อตกลงระงับคดีทั่วโลกกับรัฐบาลสหรัฐฯ สืบเนื่องจากการดำเนินธุรกิจในอดีตที่มีความเกี่ยวข้องกับคำสั่งควบคุมและห้ามส่งออกของสหรัฐฯ โดยแม้ว่าข้อตกลงกับสำนักงานควบคุมทรัพย์สินในต่างประเทศ ...

KTAM แจงเคทีไฟแนนซ์-เคทีบอนด์ไม่กระทบ กองทุนไม่ได้ลงทุนหุ้น-ตราสารหนี้ดอยซ์แบงก์

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่ตลาดมีความกังวลต่อความสามารถในการชำระหนี้ และผลประกอบการของ ดอยซ์ แบงก์ ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เรียกร้อง...

บทวิเคราะห์ราคาทองคำและ Gold Futures โดยคุณณัฐพงศ์ หิรัณยศิริ ประจำจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 (ภาคเช้า)

ทิศทางราคาทองคำ ราคาทองคำมีความผันผวนตามเนื้อข่าวของดอยซ์แบงก์ที่เข้ามากระทบ โดยจากเดิมที่ดอยซ์แบงก์อาจถูกปรับจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯเป็นเงินกว่า 1.4 หมื่นล้านเหรียญนั้นดู...

สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่งและโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่ 28 กันยายน 2559 โดย YLG

สภาวะตลาดวันที่ 28 กันยายน 2559 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,321.75-1,327.56 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำแท่ง 96.5% ภายในประเทศขายออกอยู่ที่ 21,750 บาทต่อบาททองคำ โดยราคาปรับตัวลดลง 150 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 21,900...