- ผลการจัดอันดับประจำปี 2020 ประกอบด้วย บริษัทจีน 133 แห่ง บริษัทสหรัฐ 121 แห่ง และบริษัทญี่ปุ่น 53 แห่ง
- Walmart ยังรักษาอันดับหนึ่ง ขณะที่ 18 บริษัทมีชื่อติดอันดับเป็นครั้งแรก
เดือนนี้ FORTUNE ประกาศรายชื่อ FORTUNE Global 500 สำหรับปีงบการเงิน 2019 ซึ่งเป็นการจัดอันดับ 500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจากรายได้ โดย Walmart คว้าอันดับหนึ่งเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน และเป็นครั้งที่ 15 นับตั้งแต่ปี 1995 ขณะที่เป็นครั้งแรกที่จีน (รวมฮ่องกง) มีบริษัทติดอันดับมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้น 5 บริษัทจากปีที่แล้วเป็น 124 บริษัท และเมื่อรวมไต้หวัน ทำให้มีบริษัทจากเกรทเทอร์ไชน่าติดอันดับรวมทั้งสิ้น 133 บริษัท ด้านสหรัฐคงที่ด้วยจำนวน 121 บริษัท ส่วนญี่ปุ่นมีบริษัทติดอันดับเพิ่มขึ้นหนึ่งแห่งรวมเป็น 53 บริษัท ทั้งนี้ บริษัทในรายชื่อปี 2020 มาจาก 225 เมืองและ 32 ประเทศทั่วโลก และบริษัท FORTUNE Global 500 ปีนี้ มีซีอีโอหญิงรวม 14 คน
บริษัทในทำเนียบ FORTUNE Global 500 ทำรายได้รวมกันมากกว่าหนึ่งในสามของจีดีพีโลก โดยทำรายได้ 33.3 ล้านล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้น 2%) กำไร 2.06 ล้านล้านดอลลาร์ (ลดลง 4%) และจ้างงาน 69.9 ล้านคนทั่วโลก Saudi Aramco (อันดับ 6) มีกำไรสุทธิ 8.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และเป็นบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดในบรรดาบริษัท FORTUNE Global 500 เป็นปีที่สองติดต่อกัน
บริษัทขนาดใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกในรายชื่อ FORTUNE GLOBAL 500 ได้แก่
1. Wal-Mart Stores (สหรัฐอเมริกา)
2. Sinopec (จีน)
3. State Grid (จีน)
4. China National Petroleum (จีน)
5. Royal Dutch Shell (เนเธอร์แลนด์)
6. Saudi Aramco (ซาอุดีอาระเบีย)
7. Volkswagen (เยอรมนี)
8. BP (สหราชอาณาจักร)
9. Amazon.com (สหรัฐอเมริกา)
10. Toyota Motor (ญี่ปุ่น)
ดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่นี่: https://fortune.com/global500/
รับชมการนำเสนอภาพข้อมูลประวัติความเป็นมาของ Global 500: https://qlik.fortune.com/global500/
ในบทบรรณาธิการของนิตยสาร FORTUNE ฉบับเดือนส.ค.-ก.ย. 2020 คลิฟตัน ลีฟ บรรณาธิการบริหาร ได้เขียนไว้ว่า: "เมื่อปี 1990 ซึ่งเป็นปีที่เราเริ่มการสำรวจ ไม่มีบริษัทในประเทศจีนเลยแม้แต่แห่งเดียวที่ติดอันดับ Global 500 แต่ปัจจุบัน จีนมีบริษัทยักษ์ใหญ่มากกว่าทุกประเทศบนโลกนี้ […] มันชัดเจนจนไม่ต้องอธิบาย (แต่น่าเสียดายที่เราปล่อยไว้โดยไม่พูดถึงบ่อยเกินไป) ว่า การค้าระหว่างประเทศคือสิ่งทื่ทำให้อเมริกาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง และเป็นมานานก่อนจีน บริษัทอเมริกันส่งออกสินค้าและบริการเป็นมูลค่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2019 เพิ่มขึ้นจาก 4.87 แสนล้านดอลลาร์เมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งมากกว่าที่เพิ่มขึ้นห้าเท่าเมื่อพิจารณาในรูปของสกุลเงินดอลลาร์ (nominal dollars) และแม้แต่ปรับตามเงินเฟ้อแล้ว อัตราการเติบโตก็ยังสูงถึง 152% (สำหรับผู้ที่เชื่อว่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าอย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมานั้น เตรียมตกตะลึงได้เลย เพราะเมื่อปรับตามเงินเฟ้อแล้ว การนำเข้าขยายตัว 160% ซึ่งมากกว่าการส่งออกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น)"
เจฟฟ์ โคลวิน บรรณาธิการอาวุโส เขียนถึงการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐกับจีน ว่า: "การเปลี่ยนแปลงใน Global 500 นั้นมีนัยสำคัญ เพราะการแข่งขันนี้ได้ก่อให้เกิดอำนาจทางเศรษฐกิจ บรรดานักวิเคราะห์อาจกล่าวคลุมเครือว่าเศรษฐกิจของประเทศไหนใหญ่ที่สุด สหรัฐยังคงเหนือกว่าเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยจีดีพีสหรัฐในปี 2019 มีมูลค่าอยู่ที่ 21.4 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับของจีนที่ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์ แต่หากพิจารณาจากความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity) ซึ่งปรับตามระดับราคาที่ต่างกันของประเทศต่างๆ พบว่า จีนนำหน้าสหรัฐอยู่เล็กน้อยด้วยมูลค่า 21.4 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับ 20.5 ล้านล้านดอลลาร์ ณ ปี 2018 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่ธนาคารโลกมีข้อมูลอยู่ และตอนนี้ช่องว่างดังกล่าวอาจกว้างขึ้นอีก และอาจกำลังขยายกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นได้"
ดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่นี่: https://fortune.com/global500/
การจัดอันดับพิจารณาจากรายได้รวมประจำปีงบการเงินของแต่ละบริษัทซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่หรือก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2020 ทุกบริษัทที่อยู่ในรายชื่อต้องเปิดเผยรายงานและข้อมูลการเงินบางส่วนหรือทั้งหมดต่อหน่วยงานรัฐบาล โดยเป็นตัวเลขตามการรายงาน และเป็นการเปรียบเทียบกับตัวเลขของปีก่อนหน้าตามที่มีการรายงานเป็นครั้งแรกในปีนั้น
สื่อมวลชนติดต่อ: Alison Klooster
โทร. +1-646-437-6613
[email protected]
Fortune.com | twitter.com/FortuneMagazine | facebook.com/FortuneMagazine | instagram.com/fortunemag
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1244317/FORTUNE_Media_Global_500.jpg
เจโทรร่วมออกบูธเจโทรพาวิลเลียนในงานเมทัลเล็กซ์ 2024 มหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการอันดับหนึ่งของอาเซียนระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายน ที่ไบเทค บางนา Hall 104, บูธ BV29-1~12/BW29-1~14/BX30-1~4 โดยได้ร่วมออกบูธติดต่อกันมาเป็นปีที่ 13 ยกเว้นช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด ในปีนี้เจโทรสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นร่วมออกบูธ 29 บริษัท (มี 10 บริษัทที่มาออกบูธเป็นครั้งแรก) โดยมีเป้าหมายขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ในปีนี้มีความพิเศษเพิ่มขึ้น เจโทรริเริ่มจัดบูธ "Japan Innovators"
กสิกรไทย จับมือ สมาคมไทย-ญี่ปุ่น และ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ จัดงานสัมมนามุ่งเสริมความร่วมมือรับความท้าทายการค้าโลก
—
ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ สมาคมไทย-ญี่...
Funding Societies ได้รับเงินลงทุนจาก กองทุน Cool Japan
—
การลงทุนจากกองทุน Cool Japan (CJF) นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญในโอกาสครบรอบ 10 ปี ที่ Fundi...
งานสัมมนาการลงทุนในประเทศกัมพูชาไทย (Thailand+1)
—
เจโทร สำนักงานกรุงเทพฯ และเจโทร สำนักงานพนมเปญ ร่วมกับสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) และAEM-METI ...
นิฮอน เอ็ม แอนด์ เอ เซ็นเตอร์ โฮลดิงส์ จัดตั้งบริษัท เอทูจี แคปปิตอล เพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวของอาเซียนและการควบรวมกิจการในต่างประเทศ
—
นิฮอน เอ็ม แอนด์ ...
"Zest Thailand ?Thailand-Japan Fast Track Pitch Event 2023?" จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมเปิดทั่วโลกระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและสตาร์ทอัพ
—
กระทรวงเศรษ...
วอลมาร์ต (WALMART) ติดหนึ่งในรายชื่อของฟอร์จูนโกลบอล 500 (Fortune Global 500) เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน
—
ภาคส่วนพลังงานติดอันดับด้วยบทบาทที่โดดเด่น ซาอุดี อ...
เจโทร กรุงเทพฯ เผยแพร่"ทำเนียบรายชื่อธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายคาร์บอนนิวทรัล Vol.2"
—
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) สำ...
EXIM BANK หารือ JETRO กรุงเทพฯ แนวทางส่งเสริมการค้าการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น
—
ดร. รักษ์ วรกิจโภคาทร (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งปร...
ประเทศไทยติดอันดับ 1 ในอาเซียน เป็นครั้งที่ 2 จากโครงการสนับสนุน Asia Digital Transformation (ADX) จากรัฐบาลญี่ปุ่น
—
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี...