“มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด” เชิญชวนอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยสมัครร่วมโครงการอบรมวิธีการสอนฟรี ผ่านศูนย์พัฒนาวิชาชีพแห่งสแตนฟอร์ด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ศูนย์พัฒนาวิชาชีพแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford Center for Professional Development) ได้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ Innovative Teaching Scholars (ITS) โดยขอเชิญชวนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้ามาร่วมโครงการอบรมวิธีการสอนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพื่อนำไปพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนของตนต่อไป โครงการนี้เข้าร่วมได้ฟรี ซึ่งจะช่วยให้อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนการสอนที่มีนักเรียนนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง พร้อมมอบทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้นักเรียนนักศึกษาเดินหน้าสู่ความสำเร็จในเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นนวัตกรรม

โครงการดังกล่าวจะเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 4 กันยายน 2563 นี้ โดยอาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครร่วมโครงการได้ทาง https://scpd.stanford.edu/innovative-teaching-scholars-program-thailand

ผู้ที่ต้องการสมัครร่วมโครงการจำเป็นต้องเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในไทยที่ต้องการเป็นตัวแทนสถาบันของตน และมีใจเปิดรับแนวทางการสอนแบบใหม่ ๆ ยินดีร่วมมือกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกัน และนำความเชี่ยวชาญไปแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงานที่มหาวิทยาลัยของตนและสถาบันอื่น ๆ โครงการ ITS จะมุ่งเน้นไปที่การฝึกฝนทักษะ กรอบการทำงาน และกลวิธีการสอน ซึ่งผู้ร่วมโครงการนำไปประยุกต์ใช้กับหลักสูตรของตนได้ทันที ในรูปแบบที่จะพัฒนาหลักสูตรและแผนการสอนให้ดียิ่งขึ้นโดยไม่ทำให้เสียระบบ

โครงการนี้มี 2 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรกจะเป็นการฝึกอบรมออนไลน์ระยะเวลา 9 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2563 โดยจะประกอบไปด้วยการทำเวิร์กช็อป การฝึกสอนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และโปรเจกต์ตามอัธยาศัย เพื่อช่วยอาจารย์ในการพัฒนาหลักสูตรของตนเอง ส่วนในช่วงที่สองนั้นจะมีขึ้นระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2564 ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ฝึกฝนแนวปฏิบัติและทักษะความเชี่ยวชาญให้ล้ำลึกยิ่งขึ้นในฐานะอาจารย์ผู้มีแนวคิดก้าวล้ำ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้พบปะกันเป็นกลุ่มใหญ่และแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยจะมีผู้ฝึกสอนเจาะจงเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมมือกับอาจารย์ร่วมสถาบันเดียวกัน อาจารย์ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการยังต้องสมัครเป็นคู่ โดยต้องสมัครร่วมกับอาจารย์อีกท่านจากแผนกเดียวกัน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะดำเนินการในภาษาอังกฤษและต้องใช้การปฏิสัมพันธ์สูงมาก ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการจำเป็นต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่สื่อสารในการทำงานได้ด้วย

โครงการ Innovative Teaching Scholars ได้รับการสนับสนุนจาก Stanford Thailand Research Consortium (STRC) ซึ่งให้ความสำคัญกับโครงการวิจัยและการศึกษาที่นำโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยเป็นโครงการที่มุ่งเน้นขอบข่ายการพัฒนาอนาคตของประเทศไทย STRC อยู่ในสังกัดของศูนย์พัฒนาวิชาชีพแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยมีการร่วมมือกับศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ในประเทศไทยในโครงการความร่วมมือต่าง ๆ และได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)


ข่าวมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด+มหาวิทยาลัยวันนี้

"นีแมนน์" เฉือนเพลย์ออฟคว้าแชมป์ พีไอเอฟ ซาอุดิ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ "รัชชานนท์" จบที่ 9 ร่วม

วาคิน นีแมนน์ โปรมือ 124 ของโลกจากชิลี เฉือนเพลย์ออฟชนะ คาเมรอน สมิธ แชมป์เมเจอร์จากออสเตรเลีย และ คาเร็บ เซอร์รัท ดาวรุ่งจากลิฟกอล์ฟชาวอเมริกัน คว้าแชมป์พีไอเอฟ ซาอุดิ อินเตอร์เนชั่นแนล พาวเวอร์บาย ซอฟต์แบงก์ อินเวสต์เมนท์ แอดไวเซอร์ส ที่สนามริยาด กอล์ฟ คลับ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมเบียดขึ้นครองมือหนึ่งอินเตอร์เนชั่นแนล ซีรีส์ คว้าตั๋วลุยลิฟกอล์ฟฤดูกาลหน้า ขณะที่ ทีเค-รัชชานนท์ ฉันทนานุวัฒน์ นักกอล์ฟสมัครเล่นจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทำผลงานดีสุดในกลุ่มผู้เล่นชาว

คนไทยในเวทีโลก...12 นักวิจัย สถาบันเทคโนโ... 12 นักวิจัย สจล. ติดอันดับ World's Top 2% ที่มีผู้อ้างอิงมากที่สุดระดับโลก — คนไทยในเวทีโลก...12 นักวิจัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (...

Exness ส่งหัวหน้าแผนก 20 คนไปเรียนที่บัณฑิตวิทยาลัยธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Exness (เอกซ์เนสส์) โบรกเกอร์ผู้ให้บริการสินทรัพย์หลากหลายประเภท ได้เปิดตัวโปรแกรมพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management Excellence Program) หรือ MMEP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ...

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ มอบทุนการศึกษามากเป็นประวัติการณ์ในปี 2566

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ มอบทุนการศึกษา 85 ทุนให้แก่นักศึกษากลุ่มที่ 6 จาก 29 ประเทศ เพื่อศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาใน 38 หลักสูตรของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ (Knight-Hennessy Scholars) ของมหาวิทยาลัยส...

นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและผู้คิดค้นการโปรแกรมเซลล์ย้อนกลับ รับหน้าที่ดูแลการวิจัยทั้งหมดให้เทิร์น ไบโอ

วิตโตริโอ เซบาสเตียโน ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกในฐานะผู้บุกเบิกวงการวิทยาศาสตร์ ได้ขยายบทบาทหน้าที่ในบริษัทที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ในขณะที่บริษัทแห่งนี้ใกล้ถึงขั้นดำ...

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศรายชื่อนักศึกษากลุ่มที่ 5 ตัวแทนจาก 27 ประเทศและ 35 หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

โครงการไนต์-เฮนเนสซี สกอลาร์ ประกาศรายชื่อนักศึกษาใหม่ 70 ราย โดยเป็นครั้งแรกที่มีนักศึกษามาจากเบลเยียม , จาเมกา , ญี่ปุ่น , ลิเบีย , เปรู , ซาอุดีอาระเบีย , เซอร์...

Stanford Thailand Research Consortium จัดสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ 'Future Thailand - Innovation in Education and Workforce Development' ถกประเด็นช่องว่างทางทักษะในการพัฒนากำลังคน

โครงการ Innovative Teaching Scholars (ITS) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มด้านการวิจัยที่สำคัญของ Stanford Thailand Research Consortium...

โครงการ Knight-Hennessy Scholars โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศรายชื่อนักศึกษาประจำปี 2564 ตัวแทนจาก 26 ประเทศและ 37 หลักสูตรระดับอุดมศึกษา

โครงการ Knight-Hennessy Scholars (https://kh.stanford.edu/) ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประกาศรายชื่อนักศึกษากลุ่มใหม่จำนวน 76 คนประจำปีการศึกษา 2564 ...

กองทุน AMD COVID-19 HPC สนับสนุนนักวิจัยเพื่อต่อสู้กับ Covid-19 เพิ่มสนับสนุนต่อเนื่องอีก 18 สถาบัน

AMD ประกาศการขยายการสนับสนุนระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ที่ขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์ 2nd Gen AMD EPYC และกราฟิกการ์ด AMD Radeon Instinct ให้กับสถาบันต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 18 สถาบัน เพื่อใช้ต่อสู้กับ...