สภาวิศวกร เล็งปรับเงื่อนไขยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” หนุน “วิศวกรรุ่นใหม่” รับยุคดิสรัปชัน ผ่านการนำเสนองานวิจัย หรือแผนดำเนินการแก้ไขสอดคล้องสถานการณ์สังคม อาทิ วิกฤตสุขภาพโควิด-19 หรือภัยธรรมชาติ รุดกระตุ้นวิศวกรรุ่นใหม่ พร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลงในยุคดิสรัปชัน บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญงานวิศวกรรมทุกมิติ นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ยังแนะการปรับโครงสร้างอาคาร-สิ่งก่อสร้าง รับ NEW NORMAL ลงทุนสูง ย้ำทุกหน่วยงานยึดหลัก “เว้นระยะห่างทางสังคม - รักษาความสะอาด” ต่อเนื่อง ป้องกันโควิด-19 โดยคาดว่าจะสิ้นสุดไม่เกินปี 2564
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่ผ่านมา สังเกตได้ว่า นอกเหนือจากองค์ความรู้ด้านการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญในการคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อ และการตรวจรักษา ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สภาวิศวกร ในฐานะหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพของวิศวกรไทย จึงเตรียมปรับเงื่อนไขการยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” และการสอบเลื่อนขั้น ผ่านการนำเสนอผลงานด้านวิศวกรรม ที่มีส่วนช่วยแก้ไขหรือบรรเทาสถานการณ์โควิด-19 หรือภัยพิบัติธรรมชาติ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อให้วิศวกรรุ่นใหม่พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงยุคดิสรัปชัน บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมครบทุกมิติ
แต่ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ หากขาดความร่วมมือจากทุกมหาวิทยาลัย ที่มีการเรียนการสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการบ่มเพาะทักษะการเรียนรู้นักศึกษา ให้มีความคิดอ่านที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมในอนาคต
อย่างไรก็ดี แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย จะคลี่คลายลง แต่หลายภาคส่วนยังคงให้ความสำคัญกับมาตรการควบคุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distance) การทำความสะอาดด้วยเทคโนโลยีฆ่าเชื้อ และมาตรการตรวจคัดกรองบุคคลด้วยการวัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำ นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างอาคาร/โครงสร้างสาธารณะ ยังเป็นอีกหนึ่งแนวทางแก้ไขในระยะยาว ที่หลายหน่วยงานให้ความสนใจรับวิถีนิวนอร์มอล (New Normal) ซึ่งต้องยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าว เป็นการลงทุนค่อนข้างสูง และอาศัยเวลานาน ดังนั้น ในกรณีที่หน่วยงานมีความต้องการปรับโครงสร้างเร่งด่วนและต้นทุนต่ำ สามารถใช้ “ฉากกั้น” แบ่งโซนพื้นที่ทานข้าว-ทำงานเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล คู่ขนานกับการนำเทคโนโลยีฆ่าเชื้อเข้ามาปรับใช้ ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสิ้นสุดไม่เกินปี 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรได้ที่ www.facebook.com/coethailand, www.coe.or.th ไลน์ไอดี @coethai หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สายด่วน 1303
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล และคณะ พบปะ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายก วสท. และคณะกรรมการอำนวยการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาวิชาชีพและเป็นเสาหลักด้านวิศวกรรมของประเทศมา 72 ปี เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในห้วข้อ "การยกระดับวิชาชีพวิศวกรรม" เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ศักยภาพในการพัฒนาความก้าวหน้า คุณภาพชีวิต นวัตกรรมและการแข่งขันบนเวทีโลก รวมทั้งข้อเสนอแนะ
เปิดเทรนด์ 3S ของวิศวกรรมยุคใหม่ เมื่อเมืองต้องตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยพร้อมสร้างความยั่งยืน
—
โลกของเราอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านจากสังคมชนบทสู่ความเป็...
มูลนิธิพระจอมเกล้าฯ ร่วมระดมทุนในงานนักเรียนทุนรัฐบาลฯ
—
ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ แล...
มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯ เซ็นสัญญาก่อสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าคุณทหาร กับบริษัทผู้รับเหมา
—
ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธาน มูลนิธิโรง...
SITI SPU เปิดคลาสเรียนสุดพิเศษ เรียนรู้การบริหารยุคดิจิทัล และเตรียมทักษะให้พร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต กับ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
—
ผศ.ดร.วิรัช...
จีเอเบิล สนับสนุน รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร สร้างศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์แบบครบวงจรแห่งแรกของไทย ร่วมผลักดันวงการแพทย์สู่ Innovative Hospital
—
คุณนวลนิตย์...
BAM ปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด -19 มอบเงินสมทบทุนสร้างเครื่องจ่ายออกซิเจน High Flow พร้อมระบบมอนิเตอร์ทางไกล
—
นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา ประธานคณะกรรมการกำกับดูแ...