ThoughtWorks แนะธุรกิจ วางกลยุทธ์ “ระบบคลาวด์” อย่างไรเพื่อปรับตัวให้ทันในยุคดิจิทัล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปีนี้ถือเป็นหนึ่งตัวเร่งสำคัญที่ย้ำเตือนให้ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะการเงิน การแพทย์ ค้าปลีก ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลที่อะไรก็ไม่แน่นอน โดยหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเดำเนินไปได้อย่างราบรื่นในยุคสมัยนี้คือ “ระบบคลาวด์” ที่ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่องค์กรเทคโนโลยีพูดถึงมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ยังมีองค์กรจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้น หรือบริหารจัดการระบบคลาวด์นี้อย่างไร

ThoughtWorks แนะธุรกิจ วางกลยุทธ์ “ระบบคลาวด์” อย่างไรเพื่อปรับตัวให้ทันในยุคดิจิทัล

Kief Morris ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคลาวด์และ Principal Consultant ของบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีระดับโลก ThoughtWorks วิเคราะห์ไว้ในพอดแคสต์ Pragmatism in Practice ในหัวข้อ “Building Business Resilience in the Digital Era” ว่า แต่เดิมนั้น องค์กรหลายแห่งได้เก็บข้อมูลไว้ในศูนย์ข้อมูลทั้งหมด และพบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายในการออกแบบระบบใหม่เพื่อเปลี่ยนไปสร้างเซิร์ฟเวอร์บนศูนย์ข้อมูลอื่นให้ได้ผลดี และถึงแม้จะย้ายไปใช้ระบบคลาวด์ได้แล้ว ก็มักคิดว่าระบบจะสามารถสเกลตัวเองได้โดยอัตโนมัติ จึงไม่ได้มีแผนรองรับอะไรไว้เผื่อเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ทั้งที่จริงแล้ว องค์กรต้องมีคนที่มีองค์ความรู้ดูแลส่วนนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งมีการบริหารจัดการที่ดี

“แค่ปรับเปลี่ยนเรื่องเทคโนโลยีนั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องดูด้วยว่าทีมงานในองค์กรจะทำงานร่วมกันอย่างไร เหล่าวิศวกรจะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐานอย่างไร บางทีเราจำเป็นจะต้องปรับโครงสร้างองค์กรด้วย เพราะวิธีการทำงานแบบแยกกันทำ ตามแบบเดิมๆ จะไม่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร” Morris กล่าว พร้อมเสริมว่าวิธีการทำงานต้องเปลี่ยนเป็นแบบ “สร้างไป ใช้งานไป” เช่นการรวมทีมนักพัฒนาและทีมปฏิบัติการเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า DevOps ซึ่งเป็นการทำงานแบบ “Continuous Delivery” ที่มีการตรวจสอบและแก้ไขงานไปเรื่อย ๆ ระหว่างดำเนินงาน โดยไม่รอการตรวจสอบช่วงโค้งสุดท้ายแบบดั้งเดิม

Morris เล่าต่อว่าการจะทำงานให้ได้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามมากมาย เช่น ธุรกิจการเงิน ควรจะมีการพัฒนาระบบอัตโนมัติ (automation) ที่ทำให้สามารถตรวจสอบกระบวนการระหว่างทางได้ว่าใครทำอะไร เกิดอะไรขึ้น และมีการบันทึกการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนเก็บไว้เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีทีมงานที่มีทักษะและความรู้ที่เหมาะสม องค์กรควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาพนักงานของตัวเองจนเข้าใจและรู้วิธีการทำงานของคลาวด์อย่างแท้จริง ถ้าว่าจ้างบริษัทภายนอกมาทำ เพราะบอกว่าไม่ใช่ความถนัดของตัวเองหรือไม่มีความรู้ องค์กรจะสูญเสียศักยภาพในการใช้งานคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ และจะทำให้ขาดความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจเมื่อมีเหตุการณ์ในอนาคตที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนระบบ

“สิ่งที่ผมบอกลูกค้าของเราเสมอคือ อย่าเพียงว่าจ้างพวกเราเข้าไปให้สร้างอะไรบางอย่างและจากไปเฉยๆ แต่ควรให้ทีมงานคุณมาทำงานร่วมกับเรา เพื่อเรียนรู้ และทำความเข้าใจไปด้วยกันว่าเรากำลังสร้างอะไร และจะดูแลบริหารจัดการต่ออย่างไร นี่จะเป็นการป้องกันการติดพันกับแพลตฟอร์มคลาวด์ใดแพลตฟอร์มหนึ่งจนเกินไปและไม่สามารถย้ายไปใช้งานที่อื่นได้ง่าย” Morris พูดอย่างตรงไปตรงมาในฐานะบริษัทที่ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านซอฟ์ตแวร์ เขายังอธิบายเพิ่มว่าแพลตฟอร์มคลาวด์ในตลาดมีหลากหลายที่มีข้อดีแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ แต่การจะรู้ว่าองค์กรเราจำเป็นต้องใช้หรือเหมาะกับแพลตฟอร์มใดบ้าง และจะบริหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการทดสอบและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีใครสามารถตอบได้ตั้งแต่วันแรกว่าใช้ระบบไหนร่วมกันแบบไหนแล้วดีที่สุด แม้จะมีเครื่องมือช่วยอย่าง Kubernetes ก็ตาม และนี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมองค์กรควรมีทีมงานที่มีทักษะและความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หนึ่งในองค์กรที่ลงทุนในเรื่องคลาวด์และรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่อย่างชัดเจน ตามความคิดของ Morris คือ Zoom ที่มีทั้งศูนย์ข้อมูลและคลาวด์ผสมผสานกัน โดยมีกลยุทธ์เตรียมไว้ชัดเจนว่าจะสเกลต่อไปอย่างไรเมื่อจำเป็น ส่วนลักษณะองค์กรที่ Morris มองว่าอาจท้าทายเป็นพิเศษในการปรับเปลี่ยนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต คือธุรกิจค้าปลีกที่ต้องผสมผสานการใช้งานข้อมูลทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน

ในส่วนของการเลือกแพลตฟอร์มคลาวด์ ต้นทุนที่ต้องใช้จ่ายก็เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงในระยะยาว แม้ระบบคลาวด์จะทำให้ไม่ต้องเสียค่าฮาร์ดแวร์และค่าซ่อมบำรุง แต่เมื่อดำเนินการไปเรื่อยๆ จะมีค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูงขึ้นจากการที่ต้องมีทีมงานที่มีทักษะเพียงพอและการสร้างระบบใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม Morris ชี้ว่าควรพิจารณาถึงความพิเศษของคลาวด์ในแง่ที่ว่าเราสามารถเปลี่ยนและแก้ไขอะไรต่างๆ ได้ง่ายมากโดยแทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยด้วย และการลงทุนในคลาวด์จะคุ้มค่าอย่างยิ่ง หากองค์กรมีศักยภาพในการพร้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและปลอดภัย และเรียนรู้ได้อย่างว่องไว

สำหรับทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้งานระบบคลาวด์ภายในองค์กรในอนาคต ช่วงสามถึงห้าปีข้างหน้านี้ Morris มองว่ายังมีเรื่องที่เราต่างต้องเรียนรู้อีกมาก เขากล่าวว่า “สิ่งที่เรากำลังทำอยู่กับ Infrastructure as Code ในตอนนี้ เปรียบได้กับสิ่งที่เราเรียนรู้เมื่อสิบหรือยี่สิบปีก่อนในโลกการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน ยังมีเรื่องต่างๆ อีกมากให้เราค้นหาเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการกับตัวโครงสร้างพื้นฐาน เช่น วิธีการจัดองค์ประกอบและโครงสร้างภายในของซอฟต์แวร์ การทดสอบการใช้งาน แต่ต่อไปเราจะค่อย ๆ เห็นการพัฒนาเรื่องเหล่านี้จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการซื้อขายที่ทำให้เราไม่ต้องกังวลกับปัญหาเหล่านี้อีกต่อไป ซึ่งจะทำให้เรามีเวลาไปมุ่งเน้นกับสิ่งที่สำคัญต่อลูกค้าและธุรกิจของเราอย่างแท้จริง”

รับฟังพอดแคสต์ Pragmatism in Practice ตอนนี้ได้ที่: https://www.thoughtworks.com/podcasts/building-business-resilience-in-the-cloud-era


ข่าวธุรกิจอุตสาหกรรม+บริหารจัดการวันนี้

บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมงาน Sustainability Week Asia 2025 ครั้งที่ 4 ฉายวิสัยทัศน์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero

นายนพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชั่นธุรกิจอุตสาหกรรม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์จากัด (มหาชน) ร่วมเสวนาในงาน Sustainability Week Asia ครั้งที่ 4 จัดโดย Economist Impact ภายใต้ธีม From Idealism to Pragmatism รวบรวมผู้นำด้านความยั่งยืนจากทั่วโลกกว่า 1,000 คน ร่วมเจาะลึกถึงประเด็นสำคัญที่กำลังผลักดันการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจ ทั้งในเรื่องของการบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างยั่งยืน การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด ผู้นำด้าน โซลูชันไอ... A-HOST ร่วมออกบูธและบรรยายในงาน Automation Expo 2025 — บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด ผู้นำด้าน โซลูชันไอทีครบวงจร และตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ Oracle & Microsoft ได้...

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอ... คณะบริหารธุรกิจ มจพ.วิทยาเขตระยอง รับสมัครนักศึกษาโควตาพื้นที่ภาคตะวันออก — คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขต ระยอง เปิด...