นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ครั้งที่ 5/2563 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 บรรเทาปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตรกรรมไปสู่ภาคอื่น ๆ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นให้มีความมั่นคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทางเลือก มีอาหาร มีอาชีพ มีความอุดมสมบูรณ์ มีความอบอุ่นจากครอบครัว แล้วความสุขตามวิถีชีวิตพอเพียงก็จะเกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เป็นทางรอดของเกษตรกรไทย เพื่อมุ่งสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว นอกจากจะช่วยฟื้นฟู เศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เกษตรกรสามารถเลี้ยง ตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 96,216 ราย แบ่งเป็นเป้าหมายเกษตรกร 64,144 ราย เป้าหมายการจ้างงานเกษตรกร 32,072 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 4,009 ตำบล 75 จังหวัด
โดยในวันนี้ ที่ประชุมมีมติขยายเวลารับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ รอบที 3 รวมถึงยังได้มีมติพิจารณาปรับปรุงคุณสมบัติในการรับสมัครเกษตรกรและการจ้างงานระดับตำบลให้มีการผ่อนปรนในเรื่องของหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ลงจากในรอบที่ 1 และ 2 โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ http://ntag.moac.go.th และกระทรวงเกษตรฯ และจะเริ่มรับสมัครในรอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 8 - 22 ตุลาคม 2563 สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ http://ntag.moac.go.th ยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ที่เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่
ขณะที่การรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในรอบที่ 1 และ 2 ได้ปิดรับสมัครลงแล้ว สรุปผลการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในรอบที่ 1 เกษตรกร 20,357 คน ผู้จ้างงาน 25,137 คน และรอบที่ 2 เกษตรกร 13,143 คน ผู้จ้างงาน 6,477 คน รวมทั้ง 2 รอบ มีจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 65,114 คน แบ่งเป็น เกษตรกร 33,500 คน ผู้จ้างงาน 31,614 คน ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัด อยู่ระหว่างเร่งพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยคาดว่าจะเริ่มขับเคลื่อนโครงการและเริ่มจ้างงานได้ภายในวันที่ 30 ตุลาคมนี้
มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่ก่อตั้งโดยเจตนารมย์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและชาวจีนโพ้นทะเลที่มุ่งหวังผลิตเยาวชนไทยให้มีความรู้คู่คุณธรรม และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยและจีน ดังนั้นตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจึงมีปณิธานที่แน่วแน่ในการบ่มเพาะคุณลักษณะของนักศึกษาและบุคลากรให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ "มีคุณธรรม 6 ประการ (ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู) ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการมีจิตอาสาพร้อมรับใช้สังคม" และตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
อินโดรามา เวนเจอร์ส และ SEAMEO SEPS ฉลองความสำเร็จโครงการ Waste Hero Education เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
—
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผ...
พิสมัย "หัวใจพอเพียง" จากผู้ต้องโทษ พลิกฟื้นผืนดิน เปลี่ยนชีวิต สร้างความสุขและพึ่งตนเองได้จาก "โคก หนอง นา"
—
นายวรนัฐ ติรประเสริฐสิน พัฒนาการจังหวัดฉะเช...
ม.พะเยา ต้อนรับ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียน บุคลากรและนักเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดพะเยา
—
วันพุธที่ 3...
เอสซีจี รับรางวัล UN Women 2022 Thailand WEPs Awards จากโครงการ "พลังชุมชน" สร้างอาชีพแก้จนกว่า 10,000 ราย
—
เอสซีจี โดย นางจันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู...
ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา All For Education เน้นสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ในงาน "มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ประจำปี 2565"
—
"ในวันนี้รัฐบา...
"นายอำเภอหนองโดน-เจ้าอาวาสวัดโปร่งเก่า" ร่วมเปิดโครงการ "พลิกฟื้น คืนชีวิต ชาวนา
—
ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิ...
"ลุงป้อม"ชื่นชมโครงการแรงงานพันธุ์ดีฯ ช่วยลูกจ้าง นายจ้าง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองได้
—
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำทีมโรดโชว์นิทรรศการ...
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา เข้าร่วมนำเสนอผลการขับเคลื่อน ศจพ.ต่อคณะรัฐมนตรี
—
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 65 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นำ...