การรักษาลิ้นหัวใจ ผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MITRAL VALVE REPAIR)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โรคลิ้นหัวใจที่พบมากในคนไทยคือ ความเสื่อมของลิ้นหัวใจตามวัยและโรคหัวใจรูห์มาติก นอกจากนี้ยังพบจากสาเหตุอื่น เช่น ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ซึ่งลิ้นหัวใจที่พบว่ามีปัญหาส่วนใหญ่คือ ลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve) ที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย หากความเสียหายไม่มากจนเกินไป และไม่มีโรคร่วมอื่นๆที่ต้องทำผ่าตัดร่วม ปัจจุบัน สามารถทำการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) ที่ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องตัดกระดูกสันอก (Sternum) ช่วยให้แผลเล็ก เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นาน กลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ

การรักษาลิ้นหัวใจ ผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MITRAL VALVE REPAIR)

ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) เป็นการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจโดยใช้เครื่องมือผ่าตัดที่ออกแบบเป็นพิเศษและใช้กล้องที่ทำให้เห็นภาพอย่างละเอียดใส่ผ่านรูขนาดเล็ก 4 รูบริเวณซี่โครงด้านขวาเพื่อให้มองเห็นภาพที่มีรายละเอียดชัดเจน โดยจะใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมผ่านท่อที่ใส่จากหลอดเลือดบริเวณขาหนีบเพื่อช่วยพยุงการทำงานของปอดและหัวใจชั่วคราวให้แพทย์เข้าไปผ่าตัดซ่อมแซมและเปลี่ยนลิ้นหัวใจได้อย่างราบรื่น โดยไม่จำเป็นต้องตัดกระดูกสันอก (Sternum) เหมือนในอดีต

วิธีนี้นอกจากใช้เวลาผ่าตัดไม่นานอยู่ที่ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง ยังช่วยให้แผลมีขนาดเล็กประมาณ 4 - 5 เซนติเมตรเท่านั้น ทั้งยังเสียเลือดน้อย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อบริเวณกระดูกสันอก เพราะไม่ต้องเลื่อยกระดูกสันอก ใช้เวลาพักฟื้นไม่นานก็กลับไปใช้ชีวิตทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ วิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์เป็นสำคัญ

ศัลยแพทย์หัวใจจะพิจารณาการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) จากอาการและความผิดปกติของผู้ป่วยและผลการตรวจวินิจฉัยการทำงานของลิ้นหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ที่แสดงความผิดปกติของลิ้นหัวใจได้ชัดเจนเป็นสำคัญ หากต้องเข้ารับการผ่าตัดแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจจะพิจารณาอายุ สภาพร่างกายของผู้ป่วย โรคประจำตัว หรือโรคต่างๆ ที่พบร่วม รวมถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจที่เกิดปัญหา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจตามวิธีมาตรฐานได้ การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็กคืออีกทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง

ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้คือ 1.ไม่ต้องตัดกระดูกสันอก (Sternum) 2.แผลเล็ก เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย 3.ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ 4.ลดระยะเวลาการพักฟื้น 5.ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ 6.หมดกังวลเรื่องความไม่สวยงามจากแผลผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: Mitral Valve Repair) ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเป็นสำคัญ หากผู้ป่วยมีโรคร่วมอื่นๆ ที่ต้องผ่าตัดหลายโรค อาจไม่สามารถผ่าตัดรักษาด้วยวิธีนี้ได้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีผ่าตัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ รพ.หัวใจกรุงเทพ พร้อมให้การรักษาโรคหัวใจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทีมสหสาขาตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและได้ผลลัพท์ที่ดี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รพ.หัวใจกรุงเทพ โทร. 02-310-3000 หรือโทร. 1719


ข่าวหัวใจพิการแต่กำเนิด+โรคหัวใจวันนี้

บำรุงราษฎร์ สานต่อกิจกรรมงานวิ่งการกุศล Bumrungrad Race to Heal 2025 Presented by Bumrungrad Hospital Foundation ช่วยเหลือเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จัดงานวิ่งการกุศล "Bumrungrad Race to Heal 2025 Presented by Bumrungrad Hospital Foundation" ประเภท Family Run 2.5 กิโลเมตร, Fun Run 5 กิโลเมตร และ Mini Marathon 10 กิโลเมตร ณ อุทยานสวนจตุจักร เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 โดยงานนี้จัดเป็นครั้งที่ 2 หลังจากงาน Bumrungrad Run for Health 2023 โดยนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด มอบให้แก่มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คุณแบร์รี่ วอล์ฟแมน Senior Executive Director of Operations โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า เข้าสู่ปีที่ 45 ที่

นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธา... มูลนิธิกรุงศรีสนับสนุนการผ่าตัดช่วยเหลือเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด — นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแ...

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที... ไทยประกันชีวิตมอบเงินผ่าตัดเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด — นายไชย ไชยวรรณ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ในฐานะรองประธ...

นางสาวฐิติมา เลี้ยงพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่า... ไทยประกันชีวิตมอบเงินจากกิจกรรม We Love We Run We Share Running ช่วยเหลือเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด — นางสาวฐิติมา เลี้ยงพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่าย กลุ่มสื่อ...

ไทยประกันชีวิต จัดงาน "We Love We Run We ... ไทยประกันชีวิตจัดงาน We Love We Run We Share Running — ไทยประกันชีวิต จัดงาน "We Love We Run We Share Running" ส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมมอบรายได้ส...

ธนาคารทิสโก้ นำโดย นายพิชา รัตนธรรม ผู้ช่... ธ.ทิสโก้ ร่วมสนับสนุน "กองทุนสมิติเวช เพื่อชีวิตใหม่" — ธนาคารทิสโก้ นำโดย นายพิชา รัตนธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารทิสโก้ (ที่สองจากซ้าย)...

อมรินทร์ กรุ๊ป เปิดตัว อมรินทร์ อาสา โครง... อมรินทร์ กรุ๊ป เปิดตัว อมรินทร์ อาสา โครงการที่พร้อมทำดีเพื่อสังคม — อมรินทร์ กรุ๊ป เปิดตัว อมรินทร์ อาสา โครงการที่พร้อมทำดีเพื่อสังคม จับมือพันธมิตร ร่ว...

จากปัญหาที่พบในการวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต... ม.มหิดลคิดค้น Ultrasound Markers บ่งชี้โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ในครรภ์ — จากปัญหาที่พบในการวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ได้นำไปสู่ความพยายามของมหาว...