ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) และ Blockchain Community Initiative (BCI) ประกาศความสำเร็จในการยกระดับแพลตฟอร์มและเครือข่ายจดหมายค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ (eLG) พร้อมขยายขอบเขตการให้บริการและเครือข่ายรองรับธุรกิจทุกขนาด
ศักยภาพที่ก้าวล้ำไปอีกขั้นของแพลตฟอร์มบล็อกเชนบีซีไอ ครอบคลุมถึงการยกระดับเครือข่ายให้รองรับบริการจากผู้ให้บริการคลาวด์และเวนเดอร์หลายราย (multi-cloud และ multi-vendor) การสำรองข้อมูลและระบบพร้อมการกู้คืน รวมถึงระบบ high availability แบบ multi-region อย่างแท้จริง
ในแต่ละปี มีการออกหนังสือค้ำประกันผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยให้แก่องค์กรธุรกิจเป็นมูลค่ารวมหลายแสนล้านบาท โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการค้ำประกันหากผู้ซื้อผิดสัญญา ขั้นตอนเจรจาระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และธนาคาร อาจต้องใช้เวลานานถึงเก้าวัน และความเสี่ยงจากกรณีปลอมแปลงหนังสือเอกสารอาจส่งผลให้ผู้ขายไม่ได้รับการชดเชยหรือช่วยเหลือใดๆ
ปัจจุบันมีธนาคาร 22 แห่ง พร้อมทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ 15 ราย ที่เข้าร่วมแพลตฟอร์มบนเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ ผ่าน Thailand Blockchain Community Initiative ที่วันนี้เป็นที่รู้จักในนาม บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรองรับกระบวนการเกี่ยวกับข้อผูกมัดการชำระเงิน การยื่นประมูลงาน และกระบวนการการค้าภายในต่างๆ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้เริ่มเปิดใช้งานจริงในช่วงปลายปี 2562 และปัจจุบันรองรับการทำหนังสือค้ำประกันมูลค่าประมาณ 9.5 พันล้านบาท นำสู่การลดระยะเวลาที่ใช้ในการออกหนังสือค้ำประกันลงเหลือน้อยกว่าหนึ่งวัน โดยหน่วยงานสมาชิกบางแห่งยังพบว่าสามารถลดต้นทุนการทำธุรกรรมลงได้ถึง 200% eLG ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดและความเสี่ยงของการปลอมแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
“แพลตฟอร์มบล็อกเชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบีซีไอ เพราะสอดคล้องกับโรดแมปของโมเดลการใช้งานแบบไฮบริดที่จะขยายสู่ตลาดต่างประเทศในอนาคต หนังสือค้ำประกันเป็นเพียงบริการแรกของบีซีไอ โดยจะมีการเพิ่มบริการอื่นในอนาคตอันใกล้นี้ แพลตฟอร์มนี้ถือเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับบีซีไอ สู่การสเกลและขยายบริการต่างๆ ที่นอกเหนือจากการเพิ่มความเร็วและศักยภาพการดำเนินงาน สู่องค์กรจำนวนมากขึ้น” นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “บล็อกเชนเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำสู่แพลตฟอร์มการเชื่อมต่อแบบหลายอุตสาหกรรม บล็อกเชนเอื้อให้ธุรกิจสามารถพลิกโฉมกระบวนการและการดำเนินงานต่างๆ ที่ขาดประสิทธิภาพ โดยพันธมิตรที่ใช่ รวมถึงแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่รองรับการขยายการใช้งาน มีความปลอดภัย และรองรับการใช้งานแบบมัลติคลาวด์ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เครือข่ายการใช้งานเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพสู่สภาพแวดล้อมและภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป”
“การอัพเกรดระบบครั้งใหญ่จาก Hyperledger Fabric v1.1 เป็น Hyperledger Fabric v1.4 LTS ถือเป็นความท้าทายมหาศาลทั้งในมุมธุรกิจและเทคนิค ที่ต้องอาศัยการเตรียมตัวหลายเดือน พร้อมกับความร่วมแรงร่วมใจอย่างมากจากทั้ง 15 องค์กรที่เข้าร่วม ในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อยกระดับกระบวนการทางธุรกิจ ความปลอดภัยของระบบ กระบวนการกำกับดูแลระบบ การตรวจสอบให้มั่นใจว่าระบบสอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับ รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรทางเทคนิคมากมาย ทีมงานไอบีเอ็มได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อ BCI ซึ่งทำให้เคสนี้เป็นหนึ่งใน best practice ของโลก และนำสู่ความสำเร็จเป็นอย่างดีของการอัพเกรดครั้งนี้ โดยเป็นไปภายในระยะเวลาที่กำหนดและระบบไม่มีการดาวน์เลยแม้แต่ครั้งเดียว” นายสิริวัฒน์ เกียรติเจริญสิน ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “ด้วยไอบีเอ็มบล็อกเชนในฐานะเทคโนโลยีที่รองรับระบบ และด้วยไมล์สโตนความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่เราก้าวมาถึงในวันนี้ เราพร้อมแล้วที่จะต้อนรับสมาชิกใหม่สู่แพลตฟอร์ม eLG เพื่อร่วมกันนำศักยภาพสูงสุดสู่การทำธุรกรรมทางธุรกิจในประเทศไทย”
“ไอบีเอ็มมีความภูมิใจที่ได้ร่วมสนับสนุนบีซีไอและการรวมกลุ่มของสถาบันต่างๆ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำเทคโนโลยีบล็อกเชนบนสภาพแวดล้อมไอบีเอ็มคลาวด์ที่มีความปลอดภัยสูง เข้ามาช่วยแก้หนึ่งในปัญหาสำคัญของการทำธุรกรรมทางการเงินของไทย” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “แพลตฟอร์มที่กลุ่มธนาคารไทยและไอบีเอ็มการาจคลาวด์ได้ร่วมกันเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2559 นี้ ได้ผนวกเอาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของผู้เล่นในอิโคซิสเต็มเข้าด้วยกัน ทั้งกลุ่มที่เป็นธนาคารและกลุ่มที่ไม่ใช่ธนาคาร จนเติบโตเป็นเครือข่ายใหญ่ที่เปี่ยมประสิทธิภาพภายในระยะเวลาอันสั้น”
วันนี้ บริษัทในประเทศไทย ทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก สามารถเริ่มใช้บริการ eLG จาก BCI ได้ง่ายๆ โดยลูกค้าสามารถเลือกออพชันในการเข้าใช้พอร์ทัลของบีซีไอได้ผ่านโมเดลต่างๆ ทั้งแบบ on-premise แบบprivate แบบผ่านคลาวด์หรือผ่านผู้ให้บริการบริหารจัดการระบบคลาวด์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ https://en.bci.network/products
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย สมาคมผู้ดูแลเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ไทย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เดินหน้าส่งเสริมธุรกิจไทยเข้าสู่โลกดิจิทัลผ่าน "โครงการส่งเสริมธุรกิจไทยใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ด้วยชื่อเว็บไซต์ .co.th หรือ .in.th พร้อมบริการจัดทำเว็บไซต์หน้าร้านออนไลน์ฟรี ผ่านเว็บไซต์ www.thaionline.in.th DBD Registered ใหม่ ใช้งานง่าย เพิ่มความน่าเชื่อถือ
'ไปรษณีย์ไทย' พร้อม 5 พันธมิตร ขยายเครือข่ายการสร้างประโยชน์จากขยะ ในโครงการ 'Green Hub'
—
'ไปรษณีย์ไทย' พร้อม 5 พันธมิตร ขยายเครือข่ายการสร้างประโยชน์จาก...
ผู้บริหารระดับสูงพันธวณิช รับรางวัล Executive of the Year สาขา Technology
—
คุณวิชิต ศรีกรีพุทธนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พันธวณิช จำกัด (ในภาพ) รับรางวัล...
กระทรวงดีอี-ETDA จับมือ TMA เปิดเวทีแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ผู้เชี่ยวชาญ เร่งขับเคลื่อนศักยภาพดิจิทัลไทย ดัน GDP เติบโตสู่รายได้สูง อย่างยั่งยืน!
—
กระทรวงดิจิ...
JTS ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568
—
บริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ JTS นำโดย คุณวีรยุทธ โพธารามิก ประธานกรรมการ, ดร.พาวุฒิ...
ผถห.TSE ไฟเขียวเพิ่มทุน 211.77 ล้านหุ้น ลุยขยายธุรกิจโรงไฟฟ้า - Healthcare - Wellness
—
นายณรงค์ รัฐอมฤต (กลาง) ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ, ดร.แคทลีน มา...
FVC ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 เดินหน้าขยายการลงทุน 3 ธุรกิจหนุนรายได้โต 25%
—
นายวิทิต สัจจพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท (กลางขวา) นายวิจิตร เตชะเกษม ...
STX จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห. ไฟเขียวพร้อมอนุมัติจ่ายปันผลอีก 0.10 บาท
—
ดร.จเรรัฐ ปิงคลาศัย (กลาง) รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายทรงวุธ เ...
บีโอไอผนึกพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2025 เชื่อมโยงผู้ซื้อทั่วโลกจับคู่ธุรกิจไทย คาดสะพัดกว่า 2 หมื่นล้านบาท
—
บีโอไอ ผนึกกำลังสมาคมส่งเสริมการรับช่ว...