พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ เป็นต้น ว่า การประชุม กนช. ในวันนี้ เพื่อรับทราบผลการบูรณาการหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาด้านน้ำ การเตรียมการรองรับฤดูฝน รวมทั้งการพิจารณากรอบแผนงาน/โครงการสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมของหน่วยงานที่จะเสนอขอตั้งงบประมาณในปี 2565 โดยมีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
นอกจากนี้ยังได้พิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกำหนดขอบเขต บทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจของหน่วยงานด้านการบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศ หลักเกณฑ์การมอบหมายคณะกรรมการลุ่มน้ำปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำตามมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและแม่น้ำลำคลอง ให้เป็นพื้นที่ชะลอและรองรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝนและสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ในฤดูแล้ง โดยเร่งดำเนินการใน 3 แห่งนำร่อง ได้แก่ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร หนองหาร จังหวัดสกลนคร และคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร
สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จ.ระยอง เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำภายในแผนพัฒนารองรับเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) สามารถกักเก็บน้ำได้ 40 ล้าน ลบ.ม. เมื่อแล้วเสร็จ สามารถขยายพื้นที่ชลประทานได้ 30,000 ไร่ เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรในเขต อ.เขาชะเมา ช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากในเขต อ.แกลง และเป็นแหล่งน้ำสำรองสนับสนุนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 65-67 งบประมาณทั้งสิ้น 3,551 ล้านบาท ส่วนโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงราย เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และช่วยชะลอการไหลของน้ำในฤดูน้ำหลาก บรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย เมื่อแล้วเสร็จ จะสามารถกักเก็บน้ำได้ 32 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้ 17,200 ไร่ และส่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของราษฎรได้ 4,775 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี ตั้งแต่ปี 65–68 งบประมาณทั้งสิ้น 1,325 ล้านบาท และโครงการจัดหาน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาที่โรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่า จ.นครราชสีมา เป็นโครงการก่อสร้างและปรับปรุงระบบประปาทดแทนระบบเดิมที่เสื่อมสภาพ เพื่อลดการสูญเสียในระบบท่อส่งน้ำและรองรับการขยายตัวของชุมเมืองพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมาและพื้นที่ข้างเคียง จำนวน 7 ตำบล เมื่อแล้วเสร็จ จะทำให้มีปริมาณน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาเพิ่มจากเดิม 50,000 ลบ.ม./วัน พื้นที่รับประโยชน์ 11 ตำบล 229,351 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 76.70 ตารางกิโลเมตร งบประมาณทั้งสิ้น 1,047 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี’65 ซึ่งกนช.จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเปิดโครงการดังกล่าวต่อไป
ด้านดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนช.ยังได้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำในช่วงเดือน พ.ค. - 21 ก.ย.63 ที่ผ่านมา ที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุ ทำให้มีฝนตกหนักและมีปริมาณน้ำไหลเข้าในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น จากพายุซินลากู พายุฮีโกส อิทธิพลจากร่องมรสุม และล่าสุดพายุโนอึล รวมแล้วเกือบ 5,000 ล้าน ลบ.ม. แต่ถือว่ายังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอ่างขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศมีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี’58 ที่มีน้ำในอ่างฯน้อยที่สุด และยังน้อยกว่าปีที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินปริมาณน้ำต้นทุนก่อนสิ้นฤดูฝนพร้อมเร่งทำแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 63/64 ทั้งประเทศ ให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือน ต.ค.นี้ เพื่อเตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ ก่อนให้หน่วยงานปฏิบัตินำไปใช้บริหารจัดการน้ำ กำหนดมาตรการช่วยเหลือหากเสี่ยงได้รับผลกระทบ รวมถึงให้ข้อมูลไปถึงภาคประชาชนล่วงหน้าในการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งด้วย
“ปัจจุบันแหล่งน้ำที่มีอยู่ทั่วประเทศทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็ก มีปริมาณน้ำรวมคิดเป็นร้อยละ 49 ของปริมาณการกักเก็บโดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางถึง 95 แห่ง ที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30% แบ่งเป็น อ่างฯขนาดใหญ่ 11 แห่ง และอ่างฯขนาดกลาง 84 แห่ง ซึ่งเบื้องต้น สทนช.ได้ประสานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประเมินน้ำต้นทุนในทุกแหล่งน้ำ ความต้องการน้ำในฤดูแล้ง ปี 63/64 ของทุกลุ่มน้ำเพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนการจัดสรรน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงขณะนี้ คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่พบว่าหากจะต้องสนับสนุนน้ำในการเพาะปลูกกรณีฝนทิ้งช่วงต้องมีปริมาณน้ำ 9,000 ล้าน ลบ.ม. แต่ปัจจุบันปริมาณน้ำใช้การรวมของ 4 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประมาณ 4,000 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้น ช่วงฤดูฝนอีก ประมาณ 1 เดือนที่เหลือนี้ จึงจำเป็นต้องเร่งเก็บกักน้ำเพิ่ม และบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มข้นต่อเนื่องและเป็นไปตามแผน” ดร.สมเกียรติ กล่าว
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
อบก. จับมือ กกท. ลงนาม MOU ร่วมรณรงค์ลดก๊าซเรือนกระจก ดันกิจกรรมด้านกีฬาสู่รูปแบบ Carbon Neutral Event ผ่าน 4 องค์กรกีฬา
—
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระ...
"Electronic Nose" นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน ยกระดับจัดการปัญหากลิ่นเหม็น
—
นายแพทย์ธิต...
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งบริหารจัดการน้ำถึงมือประชาชน มุ่งฟื้นฟูวิกฤตภัยแล้ง จ.ร้อยเอ็ด
—
ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย...
29 พันธมิตร รัฐ-เอกชน-การศึกษา หนุนใช้ประโยชน์ขยะอาหาร ชูเว็บไซต์ "ฟู้ดเวสต์ฮับ" เสิร์ฟไอเดียธุรกิจใหม่จากงานวิจัยคนไทย
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก...
รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม
—
รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...
อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567"
—
นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัด...