ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวง อว. ร่วมเป็นเกียรติและสักขีพยาน เนื่องในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดพืชสมุนไพรไทย ระหว่าง นายเอกภพ เดชเกรียงไกรสร รองประธานมูลนิธิณภา ในพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิด ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ ดอกจันทน์กะพ้อ พัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากพืช พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์บำรุงผิว - บำรุงผิวหน้า พร้อมชู "ไทยแบรนด์" สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้พ้นโทษ ผู้ขาดโอกาส และชุมชน ในวันอังคารที่ 9 มีนาคม 2564 ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวง อว. ถนนโยธี
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้เห็นถึงการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ อว.ไปให้บริการมูลนิธิณภาฯ ในพระราชดำริฯ ซึ่งจะมีผลต่อประชาชนและชุมชนต่างๆ โดยมูลนิธินภาฯ จะเข้ามาช่วยทำแบรนด์ ทำตลาด เสริมในสิ่งที่ อว. ยังขาดอยู่ ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ ก็จะนำความรู้ลงสู่ชุมชนเช่นเดียวกับ วว. และ วศ. จะได้นำงานวิจัยของตนเองมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง กล่าวว่า อว. จะนำงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมาสร้างเป็นแบรนด์ไทยที่มีความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ขณะเดียวกันความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยสร้างทักษะให้กับชุมชนในการพัฒนาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นสากลยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรายได้สามารถแข่งขันในตลาดสินค้าได้
สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 5 หน่วยงานจะร่วมกันศึกษาวิจัย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยยึดหลัก BCG Model โดยนำวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้ได้สินค้าที่มีเอกลักษณ์และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มี โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณของสมุนไพรไทยตามมาตรฐานสากลและสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้พ้นโทษ ผู้ขาดโอกาส และชุมชนอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่น่าสนใจภายใต้ความร่วมมือ คือ การวิจัยสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทย ได้แก่ ดอกบัวแดง ดอกจันทน์กะพ้อ ดอกเก็ดถวา และดอกกฤษณา เพื่อสกัดเป็นสารออกฤทธิ์สารหอมระเหย หรือสารสกัดรูปแบบอื่นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบการบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำความสะอาดในครัวเรือน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยในส่วนของ วว.จะมีการจัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสารออกฤทธิ์และสารหอมระเหยจากพืชสมุนไพรให้กับมูลนิธิณภาฯ ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินงานของ สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ ของ กรมหลวงราชสาริณีด้วย
เป้าหมายของผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือนี้ คือ 1. สร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มผู้พ้นโทษหญิง-ชาย ที่ไม่มีโอกาสได้รับรู้ความเป็นไปของสังคมภายนอก ให้ได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพพัฒนาทักษะให้สามารถผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นการเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้พ้นโทษให้สามารถออกมาประกอบอาชีพ รวมถึงมูลนิธิณภาฯ จะรับผู้พ้นโทษบางส่วนเข้าทำงานกับมูลนิธิ และกลุ่มผู้ขาดโอกาสในบริเวณโดยรอบจังหวัดพื้นที่การดำเนินงานของมูลนิธิณภาฯ เช่น อุดรธานี สุราษฏร์ธานี ให้สามารถมีอาชีพและรายได้ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ และ 2. เกิดผลิตภัณฑ์จากสารสกัดไม้ดอกไทย ภายใต้แบรนด์จัน (chann) ที่มีความที่โดดเด่นมีความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ให้สามารถนำไปจัดจำหน่ายได้ ก่อให้เกิดรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับพันธมิตรจังหวัดสงขลา ได้แก่ จังหวัดสงขลา อำเภอระโนด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และชุมชนบ้านขาวหมู่ 2 ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดเวทีเสวนาเรื่อง "น้ำดื่มจากน้ำฝน ลดโลกร้อน" ภายใต้การดำเนินโครงการการเสริมสร้างศักยภาพให้ชุมชนบริหารจัดการลดการปลดปล่อยก๊าซ
วว. ร่วมกับ 17 หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา นำ วทน. ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ/บุคลากรสายวิชาการ
—
ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง...
วว. จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ 17 หน่วยงาน ประสานความร่วมมืองานวิจัยพัฒนาประเทศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจั...
อว. ขับเคลื่อนโครงการ "เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง" MOU 4 หน่วยงาน รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
—
อว. ส่งเสริมแนวทางสร้างรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตที่ เปิดกว้าง...
มรภ.สุราษฎร์ธานี ศึกษาดูงานการดำเนินโรงเรียนประถมสาธิต มรภ.พระนคร
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรศักดิ์ แซ่โค้ว คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธาน...
โรงแรมเคปฟาน เกาะสมุย ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฉีดวัคซีน ป้องกันโควิด-19 ของพนักงานโรงแรมครบตามเงื่อนไข (สมุย พลัส) จากศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ
—
ทิโม่ เคว้น...
บริษัท บี.เค.เค ซิกเนเจอร์ จำกัด ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนพืชกระท่อม
—
บริษัท บี.เ...
ลงนาม MOU พัฒนาสารสกัดจากพืชกระท่อม เตรียมผลักดันเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
—
นายโกศล ตาลทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี.เค.เค ซิกเนเจอร์ จำกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ...
สอวช. ร่วมเวที มรภ.สุราษฎร์ธานี ชี้แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต
—
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...