นักวิจัยจุฬาฯ ตอบโจทย์เกษตรกรโคนมรายย่อย เพิ่มเวลาขนส่งน้ำนมดิบคุณภาพ โดยไม่ต้องแช่เย็น ลดภาระค่าใช้จ่าย ถนอมคุณประโยชน์ของน้ำนมให้ผู้บริโภค
รายจ่ายในการขนส่งความสดของน้ำนมวัวจากฟาร์มไปยังศูนย์น้ำนมดิบเป็นภาระของเกษตรกรมาโดยตลอด เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จุลินทรีย์ในนมวัวจึงเติบโตได้เร็ว ส่งผลให้นมบูดเสียง่าย คนเลี้ยงวัวนมจึงต้องทำงานแข่งกับเวลา แถมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับการเก็บรักษาคุณภาพน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิต่ำตลอดทางระหว่างการขนส่ง
"นมวัวเสียง่ายมาก หลังจากที่เกษตรกรรีดนมมาแล้ว ต้องรีบนำมาแช่เย็น มิฉะนั้นจะเสียระหว่างทาง แล้วศูนย์น้ำนมดิบก็จะไม่รับซื้อเพราะซื้อไปก็เสี่ยงนมเสีย ทางเดียวตอนนี้ที่ทำกันอยู่คือการแช่เย็น ซึ่งราคาตู้แช่ก็สูง กลายเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในส่วนของเกษตรกรฟาร์มนมวัว และก็ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อนมดื่มในราคาที่สูงขึ้นตามมา เรื่องนี้คือโจทย์สำคัญในการวิจัยของเรา" เดวิด มกรพงศ์ นักวิจัยในหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงที่มาของโครงการประดิษฐ์คิดค้น PASS+
"นวัตกรรรมนี้ช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนมวัวด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกว่า UV ซึ่งจากผลการวิจัย เราพบว่า PASS+ ช่วยให้จำนวนจุลินทรีย์ลดลงได้ถึง 90% ทำให้นมไม่เน่าเสียแม้ไม่แช่เย็น และยังคงคุณประโยชน์ของน้ำนมได้ครบถ้วน"
เดวิด ขยายความต่อไปว่าเมื่อน้ำนมวัวผ่านกระบวนการด้วยเครื่อง PASS+ แล้ว เกษตรกรฟาร์มโคนมจะมีเวลาในการขนส่งนานขึ้นอีกราว 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงเป็นอย่างช้า ซึ่งเพียงพอต่อการถนอมคุณภาพอาหารระหว่างการเดินทาง
"เมื่อเราสามารถรักษาความสดของน้ำนมไว้ได้นานขึ้นโดยไม่ต้องใช้ความเย็น เราก็จะลดต้นทุนการผลิตด้านการขนส่งไปได้มาก เกษตรกรก็ไม่ต้องมีภาระซื้อตู้แช่เย็น รายจ่ายในการผลิตค่าขนส่งก็ลดลง ผู้บริโภคก็จะได้รับน้ำนมวัวที่สดใหม่ มีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลงกว่าเดิมด้วย"
ปัจจุบัน PASS+ ได้ขึ้นบัญชีเป็นนวัตกรรมไทยเรียบร้อยแล้ว และมีเกษตรกรรายย่อยหลายฟาร์มในเครือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่ได้ทดลองใช้ PASS+ แล้ว ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ
"นวัตกรรม PASS+ จะช่วยพลิกวงการฟาร์มโคนมได้อย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยได้มีโอกาสได้ลืมตาอ้าปากได้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ในการพัฒนาคุณภาพน้ำนมจากฟาร์ม ผู้บริโภคจะได้ดื่มนมที่มีคุณภาพเยี่ยมในราคาที่ถูกลง" เดวิด กล่าวทิ้งท้าย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยด้านโคนม เพื่อถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการผลิต รวมถึงการสร้างฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตัวอย่าง เดินหน้าพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคเหนือ คู่ขนานกับการสร้างนักวิชาการรุ่นใหม่ สร้างรายได้ที่มั่นคง นำไปสู่อาชีพเกษตรกรโคนมที่ยั่งยืน โดยมี รศ.จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ ซีพี-เมจิ ร่วมลงนาม พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประภากร ธาราฉาย
จุฬาฯ วิจัยหนุน"สระบุรีพรีเมียมมิลค์" ต้นแบบธุรกิจเพื่อเกษตรกรโคนมไทยแข่งขันในตลาดโลก
—
สัตวแพทย์ จุฬาฯ วิจัยหนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมพัฒนาและผลิตน้ำนมคุณภ...
เผย 20 ไอเดียของคนรุ่นใหม่ ส่งนวัตกรรมจากทั่วโลกเข้าชิงรางวัล James Dyson Award ปี 2022 นี้
—
ผู้เข้ารอบ 20 อันดับ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา การประกวดนวั...
จุฬาฯ วิจัยหนุน"สระบุรีพรีเมียมมิลค์" ต้นแบบธุรกิจเพื่อเกษตรกรโคนมไทยแข่งขันในตลาดโลก
—
สัตวแพทย์ จุฬาฯ วิจัยหนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมพัฒนาและผลิตน้ำนมคุณ...
'รมช.มนัญญา' หนุนสหกรณ์โคนมศรีสะเกษ ขยายพื้นที่เลี้ยงโคนม สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรโคนมไทย เล็งตั้งโรงงานนมพาสเจอร์ไรส์ กระจายน้ำนมดีมีคุณภาพในจังหวัด
—
รมช.มนัญญา ...
สหกรณ์โคนมฟรีสแลนด์คัมพิน่า ฉลองครบรอบ 150 ปี จากยอดหญ้าสู่น้ำนมโคคุณภาพ (grass to glass)
—
นับเป็นเวลากว่า 150 ปี ที่หนึ่งในสหกรณ์โคนมที่ใหญ่ที่สุดของโลก...
จับมือยกระดับการพัฒนาผู้เลี้ยงโคนมไทย
—
นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ...
ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทย
—
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเ...
รมช.มนัญญา ประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาสมาชิกสหกรณ์โคนมภาคใต้-ตะวันตก น้ำนมดิบล้น ให้ อ.ส.ค. รับซื้อ 40 ตัน ผลิตนมยูเอชที
—
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรี...