หอการค้าไทย จัดบรรยายออนไลน์ สถานการณ์ส่งออกสินค้าทางทะเลด้วยระบบคอนเทนเนอร์: บริบทไทยและบริบทโลก สรุปสถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย เปิดเผย ภายหลังเป็นประธานกล่าวเปิด การบรรยายออนไลน์ เรื่อง สถานการณ์ส่งออกสินค้าทางทะเลด้วยระบบคอนเทนเนอร์: บริบทไทยและบริบทโลก เนื่องมาจาก สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบ ต่อห่วงโซ่อุปทานการส่งออกและนำเข้าสินค้าทั่วโลก รวมถึง ประเทศไทย โดยเฉพาะ ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุสินค้า การจัดสรรพื้นที่ระวางเรือเพื่อวางตู้สินค้า รวมทั้ง การปรับเพิ่มขึ้นของค่าระวางเรือ หอการค้าไทย ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมา ร่วมกับ สมาชิก ผู้ประกอบการ ตลอดจน หน่วยงานภาครัฐ เพื่อผลักดันแนวทางแก้ไขปัญหาแต่ละมิติให้บรรเทาลง และเพื่อเป็นการสรุปสถานการณ์ปัญหาขนส่งสินค้าทางทะเล แนวทางแก้ไขปัญหา และ ทิศทางในอนาคต จึงได้จัดการบรรยายออนไลน์ครั้งนี้ขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก ผู้แทนบริษัท เมอส์กไลน์ ไทยแลนด์ (Maersk Line Thailand) ซึ่งเป็น ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเลรายใหญ่ที่สุดในโลก มีระบบบริการขนส่ง สินค้าทางทะเลและบริการเกี่ยวเนี่องครบวงจร ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร เพื่อสรุปสถานการณ์ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ในมิติห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ ให้แก่ สมาชิกหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

หอการค้าไทย จัดบรรยายออนไลน์ สถานการณ์ส่งออกสินค้าทางทะเลด้วยระบบคอนเทนเนอร์: บริบทไทยและบริบทโลก สรุปสถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต

นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวถึง การขับเคลื่อน แนวทางแก้ไขสถานการณ์ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับส่งออกสินค้า โดย หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ได้ผลักดันข้อเสนอการแก้ปัญหา โดยเฉพาะ ข้อเสนอการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวก ให้เรือใหญ่ขนาดเกิน 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตร ซึ่งบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เข้าเทียบท่าเรือในประเทศไทยที่แหลมฉบังได้สะดวกขึ้น เพื่อส่งเสริมการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ลดปัญหาการขาดแคลนตู้ฯ ไปยังหน่วยงานภาครัฐต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม รวมไปถึง ได้เสนอต่อ คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา ซึ่งดำเนินงาน ภายใต้ ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 หรือ ศบค.เศรษฐกิจ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธาน โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว จึงมอบหมายให้ กระทรวงคมนาคม ร่วมกับ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งพิจารณากำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว

โดยปัจจุบัน กรมเจ้าท่า ก็ได้ออกประกาศกรมฯ ที่ 25/2564 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อง การกำหนดให้เรือที่มีความยาวเรือมากกว่า 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตร เข้าเทียบท่า โดยสาระสำคัญ คือ การกำหนดแนวปฏิบัติให้ เรือที่มีความยาวมากกว่า 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตร เข้ามายังประเทศไทยครั้งแรก ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จะต้องขออนุญาตจาก กรมเจ้าท่า และ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วไม่ต้องขออนุญาตอีกภายในระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ โดยเฉพาะ การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ทั้งนี้ การออกประกาศดังกล่าว ภาคเอกชน คาดการณ์ว่า จะช่วยให้สามารถนำเรือใหญ่ที่บรรทุกตู้ คอนเทนเนอร์เข้ามาเทียบท่าเรือ ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 20-30% ในเส้นทางหลัก และ จะส่งเสริมให้มีการนำตู้ฯเปล่า เข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น เดือนละประมาณ 12,000 ตู้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าได้ นอกจากนี้ ยังจะช่วยให้ค่าระวางเรือในการขนส่งจากประเทศไทยลดลง ทั้งนี้ ในช่วงท้าย ได้กล่าวขอขอบพระคุณไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญ ตลอดจน ความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา ตลอดจน ขอบคุณภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ที่มีส่วนขับเคลื่อนแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

นายพิเศษ ฤทธาภิรมย์ กรรมการ บริษัท เมอส์กไลน์ ไทยแลนด์ กล่าวในการบรรยาย โดยสรุปสาระสำคัญสถานการณ์ปัญหาอุปสรรคการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ Perfect Storm ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ปัญหาหลักเกิดจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การขนส่งเกิดปัญหาคอขวด (Bottle Neck) ที่ท่าเรือ ประกอบกับ การขาดแคลนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าระหว่างท่าเรือ การขนส่งและหมุนรอบของตู้คอนเทนเนอร์ไม่เป็นไปตามตารางเวลา อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่า ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จะคงตัว และ ค่อยๆคลี่คลายลง ภายในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน โดยปลายปี 2564 สถานการณ์จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับ การจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทย ก็จะเป็นปัจจัยเสริมในการช่วยคลี่คลายปัญหาดังกล่าวให้บรรเทาลง สำหรับทิศทางอนาคต มองว่า ควรผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการซ่อมตู้คอนเทนเทอร์ เพื่อรองรับอุปสงค์และอุปทานของตู้ฯ กรณีเกิดการกระชากตัวของอุปสงค์และอุปทานตู้ฯอีกในอนาคต นอกจากนี้ สนับสนุนแนวทางการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ด้านการขนส่งทางทะเลให้มีความสะดวกในทุกมิติ เพื่อบริหารจัดการระบบการนำเข้า-ส่งออก และ การถ่ายลำ หรือ Transshipment ที่ท่าเรือได้ต่อเนื่องและตรงเวลา อย่างไรก็ดี ในอีก 2 ปีข้างหน้า จะมีการต่อเรือสินค้า เพิ่มเข้าสู่ระบบการขนส่งทางทะเลทั่วโลกอีกประมาณ 10% ซึ่งจะรองรับการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วยระบบตู้คอนเนอร์ได้เพิ่มขึ้น เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อม ต่อไป


ข่าวตู้คอนเทนเนอร์+ระหว่างประเทศวันนี้

MPJ แย้มข่าวดีรับปีใหม่ รุกขยายลานตู้ที่ศรีราชาครั้งใหญ่ คาดเพิ่มรายได้ลานตู้ 52%

นายจีระศักดิ์ มานะตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ เปิดเผยว่า แนวโน้มปริมาณการส่งออกและนำเข้าของไทยยังเติบโตต่อเนื่อง โดยใน ไตรมาส 4 ที่ผ่านมา มีปริมาณการขนส่งสินค้าที่สูงตามเป้าหมายของบริษัทฯ ทั้งในส่วนธุรกิจ Freight Forwarding และ ธุรกิจลานตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นธุรกิจหลัก และ คาดว่าปริมาณการค้าระหว่างประเทศ จะเติบโตต่อเนื่อง ตามที่นักเศรษฐศาสตร์ของภาครัฐและเอกชนได้คาดการณ์ไว้ บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งหุ้นโลจิสติกส์ ที่น่า... MPJ ปันผลเด่น อนาคตไกล — เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งหุ้นโลจิสติกส์ ที่น่าจับตาและมีความโดดเด่นไม่แพ้หุ้นโลจิสติกส์ตัวอื่นๆ สำหรับ บมจ. เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ ...

"MPJ" ขึ้นแท่น หุ้นปันผลสูง ยิลด์ 10% แถมโต ปีละ 20%

หลังรายงานผลประกอบการปี 2567 เรียกว่าราศีจับทันที สำหรับ MPJ หรือ บริษัท เอ็ม พี เจ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ MPJ ผู้นำโลจิสติกส์แบบครบวงจรและผู้นำด้านบริหารลานตู้คอนเทนเนอร์ ที่ผลงานเข้าเป้า ยิลด์เกือบ 10% เติบโตปีละ 20% แถมยังปันผลสูง กลาย...

กทม. เพิ่มป้าย-สัญญาณไฟแจ้งเตือน ป้องกันอุบัติเหตุในอุโมงค์ทางลอด

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวกรณีเกิดเหตุพัดลมระบายอากาศภายในอุโมงค์ทางลอดกรุงเทพกรีฑาร่วงหล่นว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น คาดว่าสาเหตุมาจากรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์สูงและล้ำเข้าไปในเส้นขอบทาง ทำให้เกี่ยว...

KBS ประกาศชัด! ไม่มีโรงงานน้ำเชื่อม แถมไม... KBS ไร้ผลกระทบจีนระงับนำเข้าน้ำเชื่อมจากไทย — KBS ประกาศชัด! ไม่มีโรงงานน้ำเชื่อม แถมไม่ได้จำหน่ายน้ำเชื่อม ชี้! เน้นส่งออกน้ำตาลให้กับลูกค้ารายใหญ่ผ่าน...