สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เร่งส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมเกษตร ปั้นสตาร์ทอัพใน 6 สาขา ได้แก่ 1) การเกษตรดิจิทัล 2) เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ โดรนและระบบอัตโนมัติ 3) เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 4) การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ 5) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและขนส่ง และ 6) บริการทางธุรกิจเกษตร จำนวนทั้งหมด 66 ราย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรที่มีโอกาสเติบโตปี 2021 เช่น แพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์ การทำฟาร์มในเขตเมือง และการสร้างบริการแบบเบ็ดเสร็จ
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งความท้าทายด้านการเกษตร ที่แม้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ การระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ด้วยวิถีชีวิตใหม่ส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น การเดินทางท่องเที่ยวลดลง การเลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น การส่งต่อสินค้าเกษตรไปถึงมือผู้บริโภคได้โดยตรงนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยบริหารจัดการ ซึ่ง NIA ได้มีการติดตามและสรรหาแนวทางในการช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการผลักดันนวัตกรรมและสตาร์ทอัพที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ภาคเกษตรกรรมสามารถนำเอานวัตกรรม และเทคโนโลยีเหล่านั้นไปปรับใช้ เพื่อลดผลกระทบที่เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขหรือควบคุมเองได้ โดยในปีที่ผ่านมาได้มุ่งบ่มเพาะให้สตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology)
เช่น เรือรดน้ำไร้คนขับ เพื่อช่วยลดปัญหาขาดแคลนแรงงานในพื้นที่การทำสวน การนำร่องนำสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาพัฒนาทางผลิตภัณฑ์และรูปแบบทางตลาดบนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นการจับคู่ระหว่างสตาร์ทอัพกับเกษตรกร 50 กลุ่ม ทำให้ผู้ประกอบการบางกลุ่มสามารถขายสินค้าและผลิตผลได้มากขึ้น และบางรายมียอดสั่งซื้อที่มากเกินความคาดหมายจนเกิดเทรนด์การค้าขายสินค้าชุมชนบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่จำเป็นโดยมุ่งหวังให้เกษตรกรรมไทยก้าวไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น
"NIA มีแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมในการเติบโตของสตาร์ทอัพเกษตร เพื่อเพิ่มโอกาสและศักยภาพทางการแข่งขัน ซึ่ง NIA มองว่าโอกาสในประเทศไทยนั้นค่อนข้างมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสตาร์ทอัพเกษตรของไทยมีความสามารถ และได้เปรียบในด้านพื้นที่ทางการเกษตรที่สามารถเข้าไปทดลองได้ค่อนข้างมาก มีความหลากหลายของพืชพันธุ์ รวมทั้งยังมีตลาดผู้ใช้ในประเทศมากถึง 25 ล้านคน ทั้งนี้ NIA ไม่ได้คาดหวังว่าสตาร์ทอัพเกษตรจะต้องไปถึงระดับยูนิคอร์น แต่จะต้องมีแนวทางใหม่ นวัตกรรรมใหม่ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรของประเทศให้อยู่ดีกินดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี 2021 NIA จึงได้วางแนวทางในการส่งเสริมสตาร์ทอัพรวบรวมสตาร์ทอัพด้านเกษตร ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาใน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.การเกษตรดิจิทัล 2.เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ โดรนและระบบอัตโนมัติ 3.เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 4.การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ 5.การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและขนส่ง และ6.บริการทางธุรกิจเกษตร จำนวนทั้งหมด 66 ราย เบื้องต้นคาดว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้ จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์และงานบริการ รวมทั้งลดความเสียหายในด้านผลผลิต และลดต้นทุนบางประการที่เกษตรกรต้องแบกรับในปัจจุบัน"
ดร.กริชผกา กล่าวต่อว่า นอกเหนือจากการส่งเสริมนวัตกรรมด้านการเกษตรให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายแล้ว NIA ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรที่มีโอกาสเติบโต เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมดังกล่าว พร้อมเป็นแนวทางสำหรับการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทยให้ก้าวทันความต้องการของโลก และก้าวสู่ผู้นำของภูมิภาค ได้แก่
ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตกรรมสายกรีนโตแรงกว่าร้อยละ 25 ในช่วงตลอด 10 ปีนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดพื้นที่แห่งโอกาสนำ 4 สตาร์ตอัปไทย สาขาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (Climate Tech Green Tech) เข้าร่วมจัดแสดงนวัตกรรม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น พร้อมทั้งพบปะสตาร์ตอัป ผู้เชี่ยวชาญ และนักลงทุนจากต่างประเทศใน "งาน Web Summit Qatar 2025" ณ กรุงโดฮา
เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล
—
ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการ...
ชีววิทยา ม.พะเยา สุดเจ๋ง! คว้า 1 ใน 5 ทีม นวัตกรรมสร้างสุข ได้รับเงินต่อยอดจาก NIA
—
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาวิชาชีววิท...
ไทยพาณิชย์-NIA-depa ชูความสำเร็จหลักสูตร IBE 6 นำผู้ประกอบการ 109 บริษัทสู่เส้นทางความยั่งยืน
—
ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การม...
เอ็นไอเอ - ทรู - สจล. ส่ง 5 นวัตกรรมไขปัญหาจัดการขยะในเมืองด้วย "ฉลาดทิ้ง : สถานีจัดการขยะอัจฉริยะ"
—
เอ็นไอเอ ทรู สจล. ส่ง 5 นวัตกรรมไขปัญหาจัดการขยะในเม...
เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาชน" ด้านนวัตกรรม-เทคโนโลยี 4 ปีซ้อน
—
เอ็นไอเอครองแชมป์อันดับหนึ่ง "องค์การมหาชน" ด้านนวัตกรรม-เทคโนโลยี 4 ปีซ้อน ...
ไทยพาณิชย์ผนึกพันธมิตรแนะผู้ประกอบการสู้เมกะเทรนด์โลก เร่งโตด้วย "นวัตกรรมดิจิทัล" และ "ความยั่งยืน"
—
เมกะเทรนด์โลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเ...
ไทยพาณิชย์ ร่วมกับ NIA และ depa เปิดหลักสูตร IBE รุ่น 6 "DIGITAL SUSTAINOVATION" หนุนเอสเอ็มอีมุ่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อเติบโตยั่งยืน
—
ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมก...
เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
—
เอ็นไอเอ สสส. ใช้พลังคนรุ่นใหม่สร้าง "ชาต...