"มองเก่าให้ใหม่" แนวทางสร้างสรรค์ในมุม 360 องศา อนาคตแห่งการออกแบบมาพร้อมการอนุรักษ์ ในงานสถาปนิก'64

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อเราพูดถึงเทรนด์การออกแบบสถาปัตยกรรม หนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน นอกจากการออกแบบสไตล์โมเดิร์นหรือมินิมอลิสนั้น อีกกระแสหนึ่งที่ได้มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในแวดวงสถาปนิกคือ การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าในชุมชนซึ่งมีทั้งอาคาร สิ่งก่อสร้าง และวิถีชีวิต ซึ่งภายในงานสถาปนิก'64 งานแสดงสถาปัตยกรรมและวัสดุก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 34 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-27 มิถุนายน 2564 ได้นำเสนอแนวคิด "มองเก่าให้ใหม่: Refocus Heritage" สะท้อนเรื่องราวมรดกสถาปัตยกรรม ร่วมกันอนุรักษ์ ปรับใช้ และต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานให้คงอยู่กับคนรุ่นใหม่ต่อไปได้ยาวนานและทรงคุณค่า

"มองเก่าให้ใหม่" แนวทางสร้างสรรค์ในมุม 360 องศา อนาคตแห่งการออกแบบมาพร้อมการอนุรักษ์ ในงานสถาปนิก'64

คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวอธิบายหัวข้อการก่อสร้างและการอนุรักษ์ สำหรับวงการสถาปัตยกรรมมีนัยน่าสนใจในวงกว้างมากขึ้น และจะมีการแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในอีกหลากหลายมิติ ส่งผลกระทบต่องานดีไซน์ถูกนำมาแลกเปลี่ยนรายละเอียดอย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น และมีผลต่อแนวการออกแบบในปัจจุบัน ให้มีการพัฒนา หรือมีทิศทางการสร้างสรรค์งานในแบบก้าวกระโดด

เทคโนโลยีคือสิ่งนำพาสถาปนิกไปสู่การเปลี่ยนแปลงในช่วงปี'64 นี้ "ชนะ" ยกตัวอย่างเมื่ออีกซีกโลกสามารถสร้างผลงานชิ้นใหม่ได้ ในอีกไม่กี่นาทีงานชิ้นนั้นก็ถูกเผยแพร่มาถึงประเทศไทย โดยในส่วนของงานอนุรักษ์ของเก่า และการก่อสร้างของใหม่ จะได้เห็นชัดว่ากำลังกลายเป็นเรื่องราวเดียวกัน ทั้งยังจะเป็นการเปิดมิติมุมมองโลกใหม่ให้กว้างขึ้น ตึกเก่ามีคุณค่าในอดีต จะถูกนำมาพัฒนาให้มีชีวิตชีวาเพื่อใช้คุณประโยชน์ได้ในอนาคต

"ผมขอยกตัวอย่างโรงภาพยนตร์สกาล่า คงเป็นแรงบันดาลใจสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ งานออกแบบยุคนี้จึงไม่ใช่เพียงก่อสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ไปเสียทั้งหมด แต่เป็นการสร้างเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันของมรดกวัฒนธรรมต่างๆ และมีความสำคัญยิ่งขึ้นโดยเฉพาะด้านการใช้สอย อาคารเก่าแก่อีกแห่งในกรุงเทพฯ ศุลกสถานริมแม่น้ำเจ้าพระยาถ้ารีโนเวทโดยเพิ่มประโยชน์ใช้สอยเพื่อให้อาคารคงอยู่ นอกจากคุณค่าก็จะสร้างความน่าตื่นตาให้กับอาคารเก่าแก่ ซึ่งเป็นทิศทางการออกแบบใหม่ในปัจจุบัน และต่อเนื่องไปถึงการรองรับการใช้ชีวิตสำหรับอนาคต

ผมเข้ามาทำงานนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ได้เห็นอาคารเก่าทรงคุณค่าด้วยการใช้งานหลากมิติ สำนักงานป่าไม้ จ.แพร่ มรดกจากบริษัทค้าไม้จากเดนมาร์ก ในอดีตเป็นอาคารสถานไม้สักสร้างใน ปี 2478 เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของกรมป่าไม้ หรือเป็นโรงเรียนสร้างคนทำงานป่า และในอนาคตอาคารนี้คือศูนย์รวมพลได้เช่นเดียวกัน ไม่จำกัดแค่ข้าราชการป่าไม้ แต่กิจกรรมเปลี่ยนไปเพื่อการอนุรักษ์เพื่อการเรียนรู้ป่าริมแม่น้ำของคนทั่วไปได้อีกด้วย"

วิธีการอนุรักษ์จึงถูกนำมาตีความในหลากหลายมิติ ชนะ กล่าวอธิบายในเรื่องของการรักษาของเก่านอกจากคงอดีตไว้แล้ว การนำตึกเก่าแก่หลายๆ แห่ง ซึ่งบางแห่งจัดเป็นโบราณสถานนำมาก่อสร้างใหม่เพื่อใช้ได้ในอนาคต จึงนับเป็นการสร้างสรรค์ทิศทางการออกแบบใหม่ที่น่าสนุกสำหรับนักออกแบบอย่างมาก

"การอนุรักษ์ในวันนี้คือการสร้างเพื่อให้ใช้สอยต่อไปได้อีก งานอนุรักษ์ไม่เป็นเพียงจบในมุมการสตาฟคงของเก่าไว้ให้แค่มองได้เพียงความชื่นใจ หรือรีโนเวทแล้วทิ้งเขาไว้เหงาๆ ไร้ชีวิตชีวา แต่สำหรับผมและนักออกแบบยุคนี้อีกหลายๆ ท่าน ขอมองในมุมสร้างประโยชน์เพื่อใช้สอยให้ได้มากกว่าที่เคยเป็นในอดีต สอดคล้องกับวิธีการออกแบบในปัจจุบันนี้ก็เพื่อสำหรับรองรับชีวิตในอนาคต และนี่คือมิติที่ขยายกว้างขึ้น โดยมองว่าทุกๆ วัฒนธรรมดั้งเดิมไม่ว่าจะเก่าแก่อย่างไร คุณค่าความงามเหล่านั้นก็ย่อมอยู่ร่วมกับโลกอนาคตได้ งานออกแบบจึงไปไกลกว่าคิดสร้างวิธีใช้ ไม่หยุดแค่การคิดดีไซน์สร้างอาคาร หรือครีเอทการตกแต่งภายในให้สวยงามเพียงเท่านั้นนะครับ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่แตกต่างจากการสร้างกล่องขึ้นมา แต่งานที่มีคุณภาพเราต้องคิดสร้างกล่องใบนั้นให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาให้ได้อีกด้วย แล้วถ้าเราสามารถก้าวไป ณ จุดนั้นได้ ก็จะกลายเป็นวิธีการสร้างเศรษฐกิจให้กับเมืองอนาคตได้ด้วยครับ"

ภารกิจกู้ชีพมรดกสถาปัตยกรรมไม่ให้สูญสลายไปตามกาลเวลา จึงเป็นสิ่งที่ถูกนำมาเป็นประเด็นสนทนาต่อยอดในงานสถาปนิก'64 ชนะ กล่าวว่าเรื่องเทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญอีกเรื่องที่สถาปนิกจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน

"การชำระประวัติศาสตร์วันนี้มีการนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ได้อย่างมีประโยชน์มหาศาลมาก เราได้เห็นอาคารโรงงานกระดาษอายุเกือบร้อยปีใน จ.กาญจนบุรี มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกันกับอาคารเก่าร่วมสมัยเดียวกันในเยอรมนี และเราสามารถใช้ข้อมูลที่มีร่วมกันของอาคารเก่าแก่เหล่านี้มาใช้ในการอนุรักษ์ได้ โดยดึงเอาเสน่ห์ของจิตวิญญาณเก่ากลับมา ซึ่งเป็นการทำงานอย่างมีพื้นฐานข้อมูล โดยการสร้างโมเดลจำลองด้วยคอมพิวเตอร์สร้างภาพเมื่อราวร้อยกว่าปีที่แล้วได้แจ่มชัดถูกต้อง และตรงประเด็นขึ้นด้วยก่อให้เกิดพื้นที่ใช้สอยใหม่ในอนาคต และให้คนในชุมชนผู้เฒ่าผู้แก่ให้ข้อมูลเดิม ไปจนสร้างงานให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วม ซึ่งล้วนส่งผลให้การก่อสร้างและการอนุรักษ์เติบโตและมีชีวิตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน"

ชนะ กล่าวว่าการรับหน้าที่นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้ถกเถียงพูดคุยกันระหว่างคนทำงานกลุ่มสถาปนิกร่วมอาชีพด้วยกัน จึงรู้ว่างานอนุรักษ์คือวิธีการทำงานละเอียดเกินกว่าตาเห็น และกลายเป็นความสุนทรีย์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

"เพื่อนของผม อมตะ หลูไพบูลย์ ในวงการล้วนยอมรับฝีมือการสร้างผลงานของเขาคือระดับแนวหน้า คุณอมตะได้สร้างงานขึ้นมาจากสถานีรถไฟศาลาแดง ซึ่งเป็นสถานีแห่งแรกในเมืองไทยก่อนที่จะไปถึงสถานีหัวลำโพง เขาสร้างจากเรื่องเล่าที่ไม่มีคนรุ่นนี้ได้เคยเห็นหน้าตาสถานีศาลาแดงหรอกนะครับ เสิร์ชข้อมูลไปในอินเตอร์เน็ตก็ไม่มีภาพสถานีนี้เลยแถมภาพในยุคเก่าก็เป็นขาวดำไปอีก การใช้จินตนาการของนักออกแบบรุ่นปัจจุบันโดยคุณอมตะดึงเอารูปทรงหลังคาสถานีรถไฟแบบเก่ามาเป็นจุดสำคัญของตัวอาคาร สามารถสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ใจกลางเมือง The Commons ศาลาแดง ขึ้นมาให้กลายเป็นแอเรียสุดชิคได้ ในทำเลใกล้สถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง

ผมมองว่านี่คือการอนุรักษ์เชิงความรู้สึก โดยดึงให้คุณค่าในอดีตให้เกิดขึ้นมาได้ในย่านนั้น ซึ่งวันนี้มีกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่เลือกหยิบงานตึกเก่ามาสร้างสรรค์ใหม่อีกหลายๆ กลุ่มเลยนะครับ เช่น กลุ่ม Onion ก็คือกลุ่มสถาปนิกที่ออกแบบปรับปรุงชุบชีวิตตึกแถวเก่าจากอดีตเป็นโกดังเก็บของขนาด 4 คูหาในย่านท่าเตียน ให้กลายเป็น 'ศาลารัตนโกสินทร์' บูทีคโฮเต็ลซึ่งโลเคชั่นวิวดีมาก อยู่ตรงข้ามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีฉากหลังงดงามเป็นวัดอรุณราชวราราม โดยมีพื้นฐานการออกแบบทั้งโครงสร้างและการตกแต่งภายในโดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบันอีกด้วย เป็นการออกแบบความเก่าที่มีคำจำกัดความว่า 'Rustic Modern' สร้างอาคารโดยรวมให้กลมกลืนไปกับโครงสร้าง ทำเลที่ตั้ง และชุมชนแวดล้อมโดยรอบ ซึ่งในกรุงเทพฯ มีตึกเก่าให้สถาปนิกสร้างสรรค์ผลงานพื้นที่ใหม่อีกมากมายนะครับ"

ชนะ กล่าวทิ้งท้ายโดยฝากชวนมาแลกเปลี่ยนความรู้กันในงานสถาปนิก'64 ซึ่งจะสร้างสุนทรียภาพได้ดีทั้งในกลุ่มคนร่วมงานประชาชนทั่วไป หรือกลุ่มสถาปนิกร่วมอาชีพสามารถเก็บเกี่ยวความรู้ประวัติศาสตร์วันวาน เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลิตผลงานชิ้นใหม่ประดับวงการได้ให้ยืนยาวต่อไป


ข่าวการออกแบบสถาปัตยกรรม+วัสดุก่อสร้างวันนี้

"สตาร์มาร์ค" ร่วมแสดงความยินดีกับนักออกแบบที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน "TIDA AWARD 2024 Gala Night"

นางสาวณัฐปภัสร์ ศรีสกุลภิญโญ (ที่ 7 ขวา) กรรมการผู้จัดการ และคุณอรรถพล รัตนชินกร (ที่ 6 ขวา) ผู้อำนวยการ บริษัท สตาร์มาร์คแมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชุดครัวและผลิตเฟอร์นิเจอร์ Built-in ตกแต่งระดับพรีเมียม เข้าร่วมงานประกาศผลรางวัลและร่วมแสดงความยินดีกับนักออกแบบที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในงาน "TIDA AWARD 2024 Gala Night" ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม เป็น

บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ร... แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ รับ 3 รางวัล จาก PropertyGuru Thailand Property Awards 2024 — บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) รับ 3 รางวัลสำคัญ จากงาน Property...

คณะผู้บริหาร บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (ม... SA จับมือพันธมิตรจัดพิธีลงเสาเอกโครงการ Island Collection จ.ภูเก็ต — คณะผู้บริหาร บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) หรือ SA ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบว...

วอลทริกซ์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในการประชุมริสก์ไฟว์ ซัมมิต ประจำปี 2566

วอลทริกซ์ ซิสเต็มส์ (Valtrix Systems) ผู้ให้บริการโซลูชันตรวจสอบการออกแบบสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งริสก์ไฟว์ (RISC-V) ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม มีความยินดีที่ได้เปิดตัวสองผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ สติง-แอดวานซ์ (STING-Advanced) และ สติง-...

การแข่งขันการออกแบบสีเขียวในระดับนานาชาติ... การประกวด FuturArc Prize (FAP) 2024 เปิดรับสมัครแล้ว!!! — การแข่งขันการออกแบบสีเขียวในระดับนานาชาติ ที่เปิดรับทั้งระดับผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและนิสิต...

คุณทะยานชล วงศ์ศรีสกุลแก้ว รองผู้จัดการทั... ต้อนรับนักศึกษาเยี่ยมชมโรงแรม — คุณทะยานชล วงศ์ศรีสกุลแก้ว รองผู้จัดการทั่วไป โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา ให้การต้อนรับ ผศ.ดร.ทัชชญา สังขะกูล...

ดาร์ อัล อาร์คาน โกลบอล เปิดขาย "เลส์ เวกส์ บาย เอลี ซาบ" เรสซิเดนซ์ระดับพรีเมียมในกาตาร์ พร้อมวิวทะเลและท่าจอดเรือสุดหรู

ดาร์ อัล อาร์คาน โกลบอล (Dar Al Arkan Global) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในซาอุดีอาระเบีย เปิดการขาย เลส์ เวกส์ บาย เอลี ซาบ (Les Vagues by ELIE SAAB) โครงการที่อยู่อาศัยระดับพรี...