ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นหนึ่งในวิกฤตสุขภาพที่คุกคามประชาชนในประเทศไทยและทั่วโลกมานานหลายปี แต่ทว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 ส่งผลให้ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น และยังเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง ดังนั้นวงการแพทย์ต้องปรับตัวให้ทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีโทรเวชกรรม (Telemedicine) หรือการพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมถึงนวัตกรรมการวินิจฉัยและรักษาที่ช่วยย่นระยะเวลาในโรงพยาบาลให้แก่ผู้ป่วย ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับพาหะหรือเชื้อโรค และยังลดความแออัดในโรงพยาบาลลง
แต่เดิม การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำเป็นวิธีการรักษาที่แพร่หลายที่สุดในการทำเคมีบำบัด ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลานานพอสมควร ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในโรงพยาบาลนานหลายชั่วโมงต่อรอบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและผู้ดูแล รวมถึงในแง่ของการยกระดับระบบการดูแลสุขภาพ ได้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งเป็นยาชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นการแพทย์วิถีใหม่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยลดช่วงเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงช่วยบรรเทาความกังวลให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ต้องมาโรงพยาบาลอีกด้วย
พญ.ปิยวรรณ เทียนชัยอนันต์ อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า "จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการบริการในโรงพยาบาลและบุคลากรการแพทย์ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการรักษา โดยผู้ป่วยมะเร็งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป ปัจจุบันนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อการรักษามะเร็งมีความก้าวหน้าและทันสมัยขึ้นเป็นอย่างมาก อาทิ การรักษาด้วยยามุ่งเป้าที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด HER-2 positive ด้วยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง นวัตกรรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพการรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยมีการรวมยามุ่งเป้าสองชนิดในเข็มเดียวและให้ยาโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ยามุ่งเป้าต่อ HER-2 สองชนิดในเข็มเดียวกันแบบฉีดใต้ผิวหนังนี้ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่ามีประสิทธิภาพการรักษาไม่แตกต่างจากยาแบบให้ทางหลอดเลือดดำ2 โดยยามุ่งเป้าต่อ HER-2 สองชนิดช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเกิดซ้ำของโรค และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิด HER-2 positive ทุกระยะได้อย่างมีนัยสำคัญ3-5 นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยประหยัดเวลาในการรับยาได้มากถึง 90% เมื่อเทียบกับการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ จาก 3-4 ชั่วโมงต่อครั้ง เหลือเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และลดการแออัดในโรงพยาบาล1"
ความก้าวหน้าด้านการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดที่ร่วมกันทำงานและส่งเสริมนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพจำเพาะบุคคล ผู้ให้บริการสาธารณสุขจึงสามารถรับมือและจัดการกับภัยคุกคามจากมะเร็งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ "โรช ไทยแลนด์ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการวินิจฉัยและการรักษาที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์อันทันสมัย นอกจากนี้ เรายังสร้างความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันการเข้าถึงการรักษาสำหรับผู้ป่วยในประเทศไทยให้ครอบคลุมและเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้และมีอัตราการรอดชีวิตสูง หากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ " ฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าวปิดท้าย
นวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้วยส่วนผสมของยามุ่งเป้าสองชนิดในเข็มเดียวกันและให้ยาด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ถือเป็นก้าวสำคัญของวิทยาการทางการแพทย์เพื่อยกระดับผลลัพธ์การรักษาให้กับผู้ป่วย ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน เวลากลายเป็นตัวแปรหลักต่อการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ดังนั้นการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลที่ติดตามมาด้วยลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับพาหะหรือเชื้อโรคได้ ขณะเดียวกันการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความคล่องตัวมากขึ้นยังช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาล ทำให้บุคลากรการแพทย์ให้บริการกับผู้ป่วยรายอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย
ในยุคที่ชีวิตเร่งรีบ อาหารแปรรูปกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมของคนทุกวัย ด้วยความสะดวก รสชาติอร่อยถูกปาก และหาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นไส้กรอก แฮม หรืออาหารกระป๋อง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าอาหารเหล่านี้เต็มไปด้วยสารกันบูดและสารเคมี ถ้ากินบ่อย ๆ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง ซึ่งรวมถึง "มะเร็งเต้านม" ได้เช่นกัน โดยข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2563 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 18,000 คนต่อปี และเสียชีวิตประมาณ 4,800 คน ซึ่งแนวโน้มอัตราการเกิดโรคยังคงเพิ่มขึ้น นับเป็นสถิติที่น่าเป็นห่วง วันนี้
AVALON" แบรนด์จิวเวอรี่ ร่วมกับสภากาชาดไทย จัดประมูลเครื่องประดับช่วยผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และสมทบกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
—
สำนักงานจัดหาราย...
รับได้จริงๆ เหรอ? 22 คนต่อวันที่มะเร็งเต้านมคร่าชีวิตหญิงไทย มูลนิธิถันยรักษ์ฯ x ทรู ชวนลดเสี่ยง "เต้า ต้อง ตรวจ" รอไม่ได้ ยิ่งเร็ว ยิ่งรอด
—
The Global C...
ไทยพาณิชย์มอบประกัน E-Cancer มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2024 พร้อมบริจาคเงินสนับสนุนโครงการ Opal for Her ส่งต่อพลังผู้หญิงช่วยผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
—
ธนาคารไทยพา...
BDMS Wellness Clinic ผนึกโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ สร้างความตระหนักรู้ถึงโรคมะเร็งเต้านม พร้อมส่งมอบการดูแลแบบครบองค์รวม
—
BDMS Wellness Clinic ผนึกโ...
3 ต.ค.นี้ รวมพลังสีชมพู Pink Power ในกิจกรรม A Mile to Smile ก้าวต่อไปเพื่อรอยยิ้มของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
—
'Pink Power' รวมพลังสีชมพูในกิจกรรม A Mile to S...
วาโก้ จับมือ เดอะมอลล์ กรุ๊ป และโครงการ Opal for Her มอบวาโก้บาลานซิ่งบราพร้อมเต้านมเทียม และสนับสนุนเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้อยโอกาส
—
นายธรรมรัตน...
ให้รักช่วย RUN ไปด้วยกัน “12 สิงหา ฮาล์ฟ มาราธอน กรุงเทพฯ 2024” ครั้งที่ 29 วิ่งเพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ชวนคนไทยใส่ใจสุขภาพ
—
งาน “12 สิงหา ฮาล์ฟ มาราธอน...
โอซีซี ส่งต่อพลังแห่งความหวังและความห่วงใย ให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
—
ธีรดา อำพันวงษ์ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอซีซี จำกัด ...