Shanghai Electric (SEHK: 02727, SSE: 601727) ผู้ผลิตและซัพพลายเออร์อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า อุปกรณ์อุตสาหกรรม และบริการครบวงจรชั้นนำระดับโลก ประกาศว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์การาจี ยูนิต 2 (K-2) ในปากีสถาน ซึ่งติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เจเนอเรชันสาม Hualong One (HPR1000) ของ Shanghai Electric ได้เชื่อมกับโครงข่ายไฟฟ้าสำเร็จเมื่อวันที่ 19 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น โดยนายโอมาร์ อายุบ ข่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของปากีสถาน ได้โพสต์ข่าวนี้ผ่านทวิตเตอร์ของเขาทันที
โรงไฟฟ้า K-2 จะผลิตไฟฟ้าได้เกือบ 1 หมื่นล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชากรหนึ่งล้านคนในแต่ละปี โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะช่วยลดการใช้ถ่านหินราว 3.12 ล้านตันต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้กว่า 70 ล้านต้น ขณะเดียวกัน การก่อสร้างโครงการนี้ยังช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในปากีสถาน โดยสร้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่งในประเทศ และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจ
โรงไฟฟ้า K-2 สร้างขึ้นภายใต้สัญญาที่ลงนามระหว่างบริษัทนิวเคลียร์แห่งชาติจีน (China National Nuclear Corporation) กับคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูปากีสถาน (Pakistan Atomic Energy Commission) ในปี 2556 และ Shanghai Electric ได้เข้าร่วมในฐานะผู้จัดหาส่วนประกอบหลักที่จำเป็น อย่างชิ้นส่วนภายในเครื่องปฏิกรณ์และชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
ก่อนที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Hualong One จะถูกติดตั้งในโรงไฟฟ้า K-2 ซึ่งเป็นโครงการระดับนานาชาติโครงการแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวได้ถูกติดตั้งเป็นครั้งแรกที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูฉิง ยูนิต 5 ในประเทศจีน ซึ่งเปิดดำเนินงานเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2564 นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีของการวิจัยและพัฒนา เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Hualong One ยังประสบผลสำเร็จในโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากถึง 45 โครงการ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของจีน
Shanghai Electric เริ่มผลิตชิ้นส่วนภายในเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้า K-2 ในปี 2558 โดยใช้มาตรฐานการออกแบบระดับสูงสุดของโลก ครอบคลุมอุปกรณ์ 236 ประเภท และประกอบด้วยชิ้นส่วน 13,487 ชิ้น โดยเครื่องปฏิกรณ์มีความสูง 11.036 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด 4.188 เมตร และน้ำหนักราว 160 ตัน
Shanghai Electric ประสบความสำเร็จทางเทคโนโลยีมากมายในโครงการโรงไฟฟ้า K-2 ซึ่งใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ระดับ 1,000 เมกะวัตต์ที่จีนส่งออกเป็นครั้งแรก โดยครอบคลุมถึงการใช้เทคโนโลยีเชื่อมโรเตอร์แรงดันต่ำและกังหันไอน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถหลักของอุปกรณ์และเทคโนโลยีได้อย่างมหาศาล และทำลายข้อจำกัดด้านการจัดหาอุปกรณ์ในการตีขึ้นรูปโรเตอร์ ยิ่งไปกว่านั้น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและส่วนประกอบเกือบทั้งหมดที่ใช้กับชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไอน้ำ K-2 ยังได้รับการพัฒนาโดยผู้ผลิตในประเทศอย่างอิสระ
ทีมงานของ Shanghai Electric ประสบความสำเร็จในการเอาชนะปัญหารวม 71 ประการ ซึ่งรวมถึงความท้าทายทางเทคนิคและการทดสอบ โดยในระหว่างนั้น ทีมงานได้พัฒนาวัสดุสำหรับการวิจัยและพัฒนา 2 รายการ เทคโนโลยีการเชื่อม 5 รายการ เทคโนโลยีการตรวจสอบ 4 รายการ และนวัตกรรมเทคโนโลยีอื่น ๆ อีก 7 รายการ ทั้งยังได้รับสิทธิบัตรด้านการผลิต 10 ฉบับ นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2561 หรือ 33 เดือนหลังเริ่มโครงการ บริษัท Shanghai No. 1 Machine Tool Works Co., Ltd. ในเครือ Shanghai Electric ก็ประสบความสำเร็จในการส่งมอบชิ้นส่วนภายในเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้า K-2 สู่จุดหมายปลายทาง ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2561 ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 1,100 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัท Shanghai Electric พัฒนาอย่างอิสระและครอบครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาเต็มรูปแบบ ก็ส่งมาถึงปากีสถาน หลังจากนั้นเพียงสองเดือน หรือในเดือนกันยายน โรเตอร์และกระบอกสูบแรงดันต่ำของกังหันไอน้ำ K-2 ก็เสร็จสมบูรณ์ กลายเป็นโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังการผลิตระดับ 1,000 เมกะวัตต์ในต่างประเทศแห่งแรกของจีน
ตลอดกระบวนการทดสอบและติดตั้ง ทีมงานของ Shanghai Electric ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 และต้องพัฒนาโครงการ K-2 ให้เสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้ เพื่อให้การบำรุงรักษาเครื่องปฏิกรณ์ Hualong One เครื่องแรกในต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทได้จัดตั้งศูนย์บริการภาคสนามแห่งแรกในต่างประเทศสำหรับโครงการ K-2 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 โดยคัดลอกแบบมาจากบริการภาคสนามของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจีน ความพยายามทั้งหมดทั้งปวงส่งผลให้โรงไฟฟ้า K-2 ประสบความสำเร็จในการเชื่อมกับโครงข่ายไฟฟ้า และสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่คุ้มค่าและเชื่อถือได้มาสู่ปากีสถาน
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1477232/1.jpg
คุณกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) เข้ารับรางวัล โดยโรงไฟฟ้าชีวมวลปัตตานี กรีน เพาเวอร์ (PTG) กำลังการผลิตติดตั้ง 23 เมกะวัตต์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภท โครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าที่กำกับดูแลโดยรัฐบาล (On-Grid: National Grid) จาก Mr.Phosay Sayasone รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในงานการประกวดผลงานพลังงานระดับภูมิภาคอาเซียน ASEAN Energy
CMAN คว้ารางวัลสถานประกอบการประหยัดพลังงานดีเด่น
—
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (ซ้าย) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบโล่รางวัลสถา...
ดิเอมเมอรัลด์รับรางวัลประหยัดพลังงานดีเด่น
—
คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบโล่รางวัล "ส...
"SYS" โรงงานเหล็กรายแรกที่คว้ารางวัลเกียรติยศโรงงานที่มีการประหยัดพลังงานดีเด่น สะท้อนความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
—
SYS เหล็กดีที...
เชลล์คว้า 2 รางวัลดีเด่นระดับประเทศและระดับอาเซียน จากอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
—
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นางสาวอรอุทัย ณ เชียงให...
"SYS" คว้ารางวัลเกียรติยศด้านการจัดการพลังงานในโรงงานดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน
—
นายสุรศักดิ์ พูลเกิด ผู้จัดการโรงงานห้วยโป่ง บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด...
SCGP รับรางวัลดีเด่น Thailand Energy Awards จากผลงานนวัตกรรมเตาเผาไหม้เปลี่ยนของเหลือใช้เป็นพลังงานทดแทน
—
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรั...
เดอะมอลล์ กรุ๊ป คว้า 3 รางวัล Thailand Energy Awards 2022
—
The Mall Group คว้า 3 รางวัล จากโครงการ Thailand Energy Awards 2022 ได้แก่ เดอะไลฟ์สโตร์ งามวง...
อพท.รับรางวัล ITA Awards ปี 2566
—
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)...
เดลต้า ประเทศไทยรับรางวัล Thailand Energy Awards 2022 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประเภททีมงานจัดการพลังงาน
—
บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ...