ทั่วโลกมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมกว่า 127 ล้านคนแล้ว โดยในประเทศไทยพบการแพร่ระบาดคลัสเตอร์ใหม่เป็นระยะและมีการควบคุมอย่างไม่ลดละ รัฐบาลและคนไทยกำลังเตรียมตัวเปิดประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกพลังความร่วมมือกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน (เอไอเอส) เผยต้นแบบนวัตกรรม UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ มีมือจับฉายรังสี UV-C แบบเคลื่อนที่ (Moving UV-C Radiation Source) สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99 % โดยสามารถควบคุมระยะห่าง กำหนดความเร็วได้อย่างแม่นยำเพื่อให้มีประสิทธิภาพและทั่วถึง ใช้ 5G ควบคุมระยะไกลและเชื่อมต่อประมวลผลผ่าน IoT คาดใช้เวลา 6 เดือนพัฒนาจากต้นแบบสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในอนาคต มุ่งสร้างพื้นที่ปลอดไวรัสให้ธุรกิจเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมรับมือการแพร่ COVID-19 ระลอกใหม่ และตอบรับการเปิดประเทศ โดยนวัตกรรมนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า แม้ว่าวัคซีนโควิดจะเริ่มนำเข้ามาฉีดให้ประชาชนแล้ว เรายังจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับโควิดต่อไป จึงเป็นที่มาของการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ โดยทีมวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นที่น่ายินดีที่ คณะวิศวะมหิดล และ เอไอเอส ได้ลงนามความร่วมมือ (MOA) ผนึกพลังของผู้นำภาควิชาการและผู้นำเทคโนโลยีสื่อสารของไทยที่จะพัฒนาจากต้นแบบนวัตกรรมนี้ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นจริงและมีศักยภาพในตลาด เพื่อประโยชน์ต่อคนไทยและเศรษฐกิจไทยโดยรวม มุ่งตอบโจทย์ทำอย่างไรจึงจะสร้างพื้นที่ปลอดไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง ฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อโรคได้อย่างมั่นใจและทั่วถึง ตลอดจนทำงานอัตโนมัติแทนมนุษย์ได้ 24 ชม.เพื่อให้คนไทยรับมือกับ Next Normal และโควิด-19 ระลอกใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ โดยรัฐบาลมีโรดแมปเปิดประเทศไทย จะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 (เม.ย. - มิ.ย. 64) เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ได้รับวัคซีนแล้ว เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวหลัก เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา เกาะสมุย พัทยา และเชียงใหม่ โดยต้องกักตัวในโรงแรมเป็นเวลา 7 วัน , ไตรมาส 3 (ก.ค. - ก.ย. 64) นำร่องที่จ.ภูเก็ต จะไม่มีการกักตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบโดส สามารถบินตรงเข้าสนามบินภูเก็ต และตรวจเชื้อเมื่อเดินทางมาถึง โดยไม่ต้องกักตัวและต้องอยู่ใน จ.ภูเก็ตอย่างน้อย 7 วัน ก่อนเดินทางไปที่อื่น ๆ และใช้มาตรการป้องกันควบคู่กับ Vaccine Certificate และแอปพลิเคชั่นติดตามตัว , ส่วนไตรมาส 4 (ต.ค. - ธ.ค. 64) เพิ่มพื้นที่นำร่อง กระบี่ พังงา เกาะสมุย พัทยา และเชียงใหม่ , คาดว่าเดือนมกราคม 2565 ความหวังเปิดทั้งประเทศที่คนไทยรอคอยจะเป็นจริง
คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน (เอไอเอส) กล่าวว่า "เรามีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและขีดความสามารถของทีมงาน มาร่วมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา กับ "โครงการ AIS ROBOT FOR CARE" ที่ได้นำศักยภาพของเครือข่าย 5G, AI, Cloud และ Robotic มาประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายดิจิทัลพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์ 5G เพื่อช่วยปฏิบัติงานทางการแพทย์ วันนี้ เอไอเอส จึงภูมิใจอย่างยิ่งที่ทีม AIS Robotic Lab ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล วิจัยพัฒนา UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ ที่ถือเป็นต้นแบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ ที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ในขั้นต่อไปใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
นับเป็นนวัตกรรมต้นแบบที่จะพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในตลาดอนาคต อาจเป็นการขายและบริการให้เช่า ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และคนไทยสามารถใช้นวัตกรรมในราคาประหยัด ลดการนำเข้า สร้างความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจและชีวิตประจำวัน นำมาซึ่งความมั่นคงทางสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศนอกจากนี้ ยังถือเป็นเป็นการบ่มเพาะบุคลากรด้าน Digital และ Robotic ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย"
ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "ไวรัสโรค COVID-19 และเชื้อโรคอีกหลายชนิด นอกจากระบาดโดยการแพร่กระจายในละอองฝอยอากาศแล้ว ยังอาจกระจายเชื้อไวรัสและเชื้อต่างๆสู่พื้นผิวของวัสดุและของใช้ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต โรงภาพยนตร์ สำนักงาน เป็นต้น ในทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เป็นที่ยอมรับว่า การใช้รังสี UV-C ที่มีความยาวคลื่น 200-280 นาโนเมตร สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่อยู่บนพื้นผิวต่างๆได้ ปัจจัยที่จะทำให้การฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีได้เต็มประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับการออกแบบทางวิศวกรรม ได้แก่ 1.ค่าความเข้มของหลอด (Power Density) 2.ระยะห่างของพื้นผิวที่ต้องการฉายเพื่อฆ่าเชื้อ และ 3.ระยะเวลาของการฉายรังสี (Time) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าเชื้อนั้นจะต้องนำแสงรังสีเข้าใกล้กับตัวพื้นผิวที่ต้องการฆ่าเชื้อให้มากที่สุด และต้องทำให้ครอบคลุมทั่วถึงพื้นผิวทั้งหมดด้วย (ระยะห่าง ขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ ตามหลักวิศวกรรม)
ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ UVC Moving CoBot มีส่วนประกอบหลัก 4 อย่าง ซึ่งทำงานร่วมกัน คือ 1. แหล่งกำเนิดรังสียูวีซี ขนาดกำลังอย่างน้อย 16 วัตต์ ขนาดหลอดยาว 25 - 35 เซนติเมตร ติดตั้งบนปลายแขนของหุ่นยนต์แขนกล 2. หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะ ซึ่งแขนทั้งสองข้างของหุ่นยนต์ติดตั้งแหล่งกำเนิดรังสียูวีซี และฐานของหุ่นยนต์ ติดตั้งเข้ากับ AGV รถนำทางอัตโนมัติ สามารถครอบคลุมการฉายรังสีในระยะ 65 - 75 ตารางเซนติเมตร เคลื่อนไหวได้ความเร็วต่ำสุด 2 เซนติเมตร/5 นาที และความเร็วสูงสุด 110 เซนติเมตร/นาที ยกโหลดน้ำหนักวัตถุได้ 5 กิโลกรัม 3. รถนำทางอัตโนมัติ (Automated Guide Vehicle : AGV) สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่มีแถบแม่เหล็กกำหนดไว้ ตัวรถมีความเร็วในการเดินทางไม่ต่ำกว่า 8 เมตร/นาที สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 500 กิโลกรัม ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นระบบขับเคลื่อน 4. ระบบเครื่องจักรมองเห็น (Machine Vision) ทำหน้าที่ค้นหาสัญลักษณ์เพื่อประเมินผลคุณลักษณะของวัตถุภายในพื้นที่ โดยระบบจะจดจำวัตถุและออกคำสั่งการเคลื่อนที่ตามที่บันทึกไว้หรือรหัสบาร์โค้ด"
UVC Moving CoBot ได้ผ่านการทดสอบในประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อไวรัสสูงถึง 99.99 % จากศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล จุดเด่นและประโยชน์ คือ แขนกลของหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ จึงสามารถทำความสะอาดโต๊ะ ตู้ เตียง ผนัง ชั้นวางสินค้า และฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้อย่างทั่วถึง ซึ่งมีความปลอดภัยอย่างมาก และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมกันพัฒนาฟีเจอร์อัจฉริยะ อย่าง เทคโนโลยี Virtual Mapping ที่ช่วยกำหนดแผนที่เส้นทางเดินของหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่เข้าหาวัตถุหรือสถานที่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และยังสามารถบังคับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ตามต้องการ ผ่านเครือข่าย 5G ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้อัตโนมัติ ตลอด 24 ชั่วโมง ลดภาระงานหนัก และลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากรังสี UV-C และลดการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast
AIS โชว์ศักยภาพความเชื่อมั่นนักลงทุน ประสบความสำเร็จการขายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน มูลค่ารวม 25,000 ล้านบาท ตอกย้ำผู้นำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย
—
"บริษัท แอด...
Webull x AIS ผนึกกำลัง 2 แพลตฟอร์มดิจิทัล มอบประสบการณ์ซื้อขายหุ้นสหรัฐฯ แบบครบวงจร เพื่อคนไทย
—
บริษัทหลักทรัพย์ วีบูลล์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ "Webull T...
AIS เตรียมออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ชูอันดับความน่าเชื่อถือระดับ "AAA(tha)"
—
บริษัท แอดวา...
เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ AIS ส่งต่อความอุ่นใจช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ผ่าน "กรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่เที่ยวได้อุ่นใจ (ไมโครอินชัวรันส์)"
—
นายสาระ ล่ำซำ...