นายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ (ApplicationZoom) ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำสำหรับทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และฟื้นฟูภาคเกษตรภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ขณะนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มีนาคม 64) มีเกษตรกรผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแล้ว 28,265 ราย จากเป้าหมาย 32,000 ราย และมีการจ้างงานเกษตรทฤษฎีใหม่ระดับตำบลไปแล้วประมาณ 13,000 ราย จากเป้าหมาย 16,000 ราย
สำหรับโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดรับสมัครเพิ่มเติม (รอบที่ 5) ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 64 โดยจะเริ่มพิจารณาจากเกษตร 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบลฯ และได้ลาออกไป จำนวนกว่า 5,300 รายโดยจะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปให้ข้อมูลกับเกษตรกรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรก เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะกลับเข้าร่วมโครงการอีกครั้ง 2. ให้กรมพัฒนาที่ดินพิจารณาเกษตรกรจากกลุ่มที่สมัครเข้าร่วมโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน (บ่อจิ๋ว) หากมีคุณสมบัติครบถ้วน และยินดีเข้าร่วมกับโครงการ 1 ตำบลฯ สามารถส่งรายชื่อมาให้ทางคณะกรรมการฯ พิจารณาการเข้าร่วมโครงการฯ ได้ 3. ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปก.) พิจารณาเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนด สามารถส่งรายชื่อมาให้ทางคณะกรรมการฯ พิจารณาเข้าร่วมกับโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ได้เช่นกัน และ 4. กลุ่มเกษตรกรใหม่ ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถขอรายละเอียดโครงการ และสมัครเข้าร่วมโครงการได้
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ให้ความสำคัญในเรื่องของการสื่อสารทำความเข้าใจกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแล้ว และยังไม่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในขั้นตอนต่าง ๆ และรายละเอียดโครงการ 1 ตำบลฯ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และสามารถขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบลฯ ไปในทิศทางที่ถูกต้อง และเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
ทั้งนี้ หากเกษตรกรท่านใด มีความประสงค์จะสมัครเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบลฯ หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อยื่นใบสมัคร หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้ภูมิลำเนาของท่าน สำหรับท่านที่สมัครแล้ว สามารถตรวจสอบผลการคัดเลือกได้ที่ https://ntag.moac.go.th/?p=publish
มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่ก่อตั้งโดยเจตนารมย์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและชาวจีนโพ้นทะเลที่มุ่งหวังผลิตเยาวชนไทยให้มีความรู้คู่คุณธรรม และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยและจีน ดังนั้นตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจึงมีปณิธานที่แน่วแน่ในการบ่มเพาะคุณลักษณะของนักศึกษาและบุคลากรให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ "มีคุณธรรม 6 ประการ (ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู) ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการมีจิตอาสาพร้อมรับใช้สังคม" และตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
อินโดรามา เวนเจอร์ส และ SEAMEO SEPS ฉลองความสำเร็จโครงการ Waste Hero Education เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
—
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผ...
พิสมัย "หัวใจพอเพียง" จากผู้ต้องโทษ พลิกฟื้นผืนดิน เปลี่ยนชีวิต สร้างความสุขและพึ่งตนเองได้จาก "โคก หนอง นา"
—
นายวรนัฐ ติรประเสริฐสิน พัฒนาการจังหวัดฉะเช...
ม.พะเยา ต้อนรับ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียน บุคลากรและนักเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดพะเยา
—
วันพุธที่ 3...
เอสซีจี รับรางวัล UN Women 2022 Thailand WEPs Awards จากโครงการ "พลังชุมชน" สร้างอาชีพแก้จนกว่า 10,000 ราย
—
เอสซีจี โดย นางจันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู...
ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา All For Education เน้นสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ในงาน "มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ประจำปี 2565"
—
"ในวันนี้รัฐบา...
"นายอำเภอหนองโดน-เจ้าอาวาสวัดโปร่งเก่า" ร่วมเปิดโครงการ "พลิกฟื้น คืนชีวิต ชาวนา
—
ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิ...
"ลุงป้อม"ชื่นชมโครงการแรงงานพันธุ์ดีฯ ช่วยลูกจ้าง นายจ้าง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองได้
—
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำทีมโรดโชว์นิทรรศการ...
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา เข้าร่วมนำเสนอผลการขับเคลื่อน ศจพ.ต่อคณะรัฐมนตรี
—
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 65 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นำ...