3 ท่า สู้อาการปวดหลัง ของชาวออฟฟิศซินโดรม
นอกจากโรคซึมเศร้าที่จะเป็นที่พูดถึงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาแล้ว โรคออฟฟิศซินโดรม ก็เป็นอีกโรคที่อยู่ในกระแสหลักไม่แพ้กัน เพราะคนส่วนใหญ่ก็นั่งทำงานในออฟฟิศกันเป็นหลัก ยิ่งช่วงที่ต้อง Work Form Home คนทำงานที่บ้านหลายรายที่โต๊ะและเก้าอี้ไม่ได้ระดับที่ถูกต้อง ก็ป่วยเป็นอาการนี้กันถมเลยทีเดียว
อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่ที่เจอกันมากที่สุด ก็คือ "อาการปวดหลัง" นี่แหละ เข้าใจนะว่ามาหาหมอแต่ละทีเสียเวลาเยอะแยะเลย ฉะนั้นแล้วเราเลยมีท่าบริหารง่ายๆ เพื่อช่วยผ่อนคลายอาการปวดหลังมาให้ลองทำที่บ้านดูก่อน
* ท่าก้มหน้าให้นั่งลงบนเก้าอี้ทำงานจากนั้นยื่นมือไปด้านหน้า และค่อยๆ โน้มตัวลงให้หน้าอกติดกับต้นขามากที่สุด พร้อมเอื้อมมือให้จับถึงบริเวณข้อเท้าหรือปลายขาให้ได้มากที่สุด (ค้างไว้ 5 วินาที)
* ท่ายืดกล้ามเนื้อใต้ท้องแขน ไหล่ หลังเริ่มต้นยกแขนสูงจากนั้นให้เอื้อมมือไปจับพนักพิงหัว (ถ้าไม่มีพนักพิงหัวให้ประสานมือที่ท้ายทอยแทน) จากนั้นดึงตัวไปข้างหน้า เพื่อยืดกล้ามเนื้อทุกส่วนให้ยืดหยุ่น (ค้างไว้ 5 วินาที)
* ท่ายกหลังเริ่มต้นให้ท้าวมือกับเก้าอี้นั่งของเรา จากนั้นทิ้งน้ำหนักลงไปที่เท้า แล้วเกร็งกล้ามเนื้อยกสะโพกขึ้น พยายามยกให้ได้มากที่สุด (ค้างไว้ 5 วินาที)
โดยทำทั้ง 3 ท่ารวมเป็นเซ็ต เซ็ตละ 5-10 ครั้งก็พอ แนะนำว่าถ้าใครมีอาการปวดหลังมาก ควรทำทุกวันเป็นอย่างยิ่ง เท่านี้หลัง คอและไหล่ ก็ได้ผ่อนคลายหายปวดลงได้เพียบเลยล่ะ
แต่ถ้าทำไปซักสองสัปดาห์แล้วอาการปวดหลังยังไม่ทุเลาลง อันนี้แนะนำให้พบแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อตรวจหาสาเหตุ และรักษาอาการให้ตรงจุดนะ บางครั้งการกายภาพด้วยท่าพื้นฐานแบบนี้อาจฟื้นฟูอาการบาดเจ็บได้ไม่ทันใจ ต้องใช้เครื่องมืออื่นๆช่วยในการรักษาอีกทีนะ
โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมให้บริการทางการแพทย์ ในงาน SX Sustainability Expo 2024 งานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เน้นการให้บริการสำหรับคนวัยทำงานพิชิตโรค office syndrome ด้วยการจัดให้บริการอัลตราซาวด์ลดปวดและให้คำแนะนำป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม โดยนักกายภาพบำบัด ปรึกษาด้านโภชนาการ โดยนักกำหนดอาหาร และการตรวจวัดระดับสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีผู้เข้ารับบริการอย่างคั่ง เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น G
อาจารย์กายภาพบำบัด ม.หัวเฉียวฯ คว้ารางวัลจากการประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กภ.ศิรินันท์ จันทร์หนักอาจารย์ประจำ คณะกายภ...
บอกลาอาการปวดเรื้อรัง โรคออฟฟิศซินโดรม ด้วย PMS
—
บอกลาอาการปวดเรื้อรัง โรคออฟฟิศซินโดรม ด้วย PMS ออฟฟิศซินโดรม อาการของคนที่ทำงานประจำอยู่กับที่ มีการ...
รับชม Facebook Live "รักษาให้ตรงจุด.. หยุดอาการปวดจาก Office Syndrome"
—
เคยไหม? นั่งทำงานนาน ๆ แล้วรู้สึกปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ "โร...
ปวดเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ รักษาได้ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง
—
การเจ็บปวดเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ เป็นปัญหาที่พบได้ในทุกช่วงวัย แต่พบมากเป็นพิเศษ...
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา จัดอบรมนวดออฟฟิศซินโดรม ร่วมกับ สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี (สคอ.สฎ)
—
โรคออฟฟิศซินโดรม คือ อะไร? โรคออฟฟ...
รพ.พระรามเก้า จับมือ บมจ. ปตท. จัดโครงการ PTT Me Suk (ปตท. มีสุข) เพื่อบุคลากร ร่วมฟิตร่างกายบอกลา "โรคออฟฟิศซินโดรม"
—
นายแพทย์วิทยา วันเพ็ญ (ที่ 8 แถวบน...
โรงพยาบาลพระรามเก้า จับมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ PTT Me Suk (ปตท. มีสุข) แก่บุคลากร เสริมศักยภาพกาย-ใจ ห่างไกล "ออฟฟิศซินโดรม"
—
โรงพยาบาลพร...
Work From Home อย่างไรไม่เสี่ยงเป็น “ออฟฟิศซินโดรม” เช็กลิสต์ตนเองพฤติกรรมเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงหรือไม่
—
เข้าสู่เดือนเมษายนแล้ว ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้...