เคพีเอ็มจี เปิดตัวแผนงาน ESG - Our Impact Plan และความคืบหน้าตัวชี้วัดทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

11 Feb 2021

  • เคพีเอ็มจี รวมแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือ ESG ไว้ด้วยกันภายใต้โครงการ Our Impact Plan
  • แผนงานประกอบด้วย การมุ่งหน้าลดคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 เพิ่มการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย (Inclusion and diversity) และการเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เผยความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Capitalism Metrics) และความมุ่งมั่น 4 ด้าน ได้แก่ โลก (Planet) คน (People) การเติบโต (Prosperity) และบรรษัทภิบาล (Governance)
เคพีเอ็มจี เปิดตัวแผนงาน ESG - Our Impact Plan และความคืบหน้าตัวชี้วัดทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เคพีเอ็มจี เผยแผนการดำเนินงานระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือ ESG ภายใต้โครงการ Our Impact Plan ซึ่งผนวกแนวปฏิบัติเดิมและนโยบายใหม่เข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้น 4 ด้านสำคัญ ได้ แก่ โลก (Planet) คน (People) การเติบโต (Prosperity) และบรรษัทภิบาล (Governance)

แผนดังกล่าวยังแสดงข้อมูลปัจจุบันจากเครือข่ายเคพีเอ็มจีทั่วโลก และเทียบกับตัวชี้วัดที่ระบุไว้ในรายงาน Measuring Stakeholder Capitalism ซึ่งจัดทำโดย สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ผ่านการร่างและปรึกษากับ สภาธุรกิจนานาชาติ (International Business Council: IBC) ซึ่งเคพีเอ็มจีเองมีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนา

เคพีเอ็มจี จะยังคงเดินหน้าเพื่อบรรลุความมุ่งมั่นที่ระบุไว้ในแผนงานและปรับปรุงการรายงานความคืบหน้าในอนาคต

บิลล์ โทมัส ประธานและซีอีโอ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า "การรวมพลังความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลของเรา ทำให้เคพีเอ็มจี มีโอกาสและหน้าที่รับผิดชอบในการช่วยกำหนดและเป็นผู้นำในประเด็นสำคัญที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของจุดมุ่งหมายของเราในการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความเชื่อมั่นและสร้างการเปลี่ยนแปลง ถึงเวลาที่เราต้องปรับปรุงวิธีการพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น เริ่มด้วยการวัดผลการดำเนินงาน การเรียนรู้จากกันและกัน และการรับผิดชอบซึ่งกันและกัน โดย Our Impact Plan เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และเราทราบว่าต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ แต่นี่ก็ถือเป็นขั้นแรกที่จะช่วยให้เคพีเอ็มจีเป็นองค์กรที่ดียิ่งขึ้น"

เจน ลอรี หัวหน้าฝ่ายกิจการองค์กร เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า "ความท้าทายที่โลกต้องเผชิญ เป็นประเด็นสำคัญในปี 2563 ซึ่งย้ำเตือนให้เราทุกคนต้องลงมือสร้างความแตกต่าง โดยเคพีเอ็มจี มีความคืบหน้าที่สำคัญ แต่เราทราบดีว่ายังคงต้องดำเนินการต่อในระยะยาว แผนงาน Our Impact Plan ของเราได้รวมเอาพันธกิจด้าน ESG ไว้ในที่เดียว ทำให้สามารถวัดความก้าวหน้าของโครงการและปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบได้ นอกจากนี้เรายังได้รับเกียรติในการทำงานร่วมกับองค์กรระดับโลกและระดับท้องถิ่นจำนวนมากทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาสำคัญของโลกและร่วมกันสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง"

"Our Impact Plan ตอกย้ำความมุ่งมั่นอันยาวนานของเคพีเอ็มจีที่มีต่อข้อตกลงระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ ในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)" ลอรี กล่าว "และต่อจากนี้ เราจะเพิ่มความเข้มข้นในการลงมือปฏิบัติและจะรายงานความคืบหน้าอย่างเปิดเผย"

ผลการดำเนินงานด้าน ESG ที่สำคัญ

  • โลก (Planet): เราประกาศปณิธานการเป็นองค์กรคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Carbon Organization) ภายในปี 2573 ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 50 การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนร้อยละ 100 และการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลือ
  • คน (People): ในปี 2563 เราได้จัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Collective Action Plan) ซึ่งร่างขึ้นด้วยข้อมูลและการมีส่วนร่วมจากพนักงานหลายพันคน ซึ่งจะกำหนดเป้าหมายด้านความหลากหลายในที่ทำงาน (Diversity) และความเท่าเทียม (Equality)
  • การเติบโต (Prosperity): การที่เคพีเอ็มจีเป็นพันธมิตรกับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และหน่วยงานอื่นๆ ช่วยให้เราสามารถสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเรียนรู้ และการเปิดตัวเครือข่าย KPMG IMPACT ก็ทำให้เคพีเอ็มจีในประเทศต่างๆ ช่วยลูกค้าในกระบวนการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและกำหนดทิศทางของวาระ ESG ในอนาคต
  • บรรษัทภิบาล (Governance): ในปี 2563 มีการปรับปรุงจรรยาบรรณองค์กร (Code of Conduct) ทั่วโลกและปรับปรุงค่านิยม (Values) นอกจากนี้เรายังใช้ตำแหน่งและความเชี่ยวชาญในการช่วยพัฒนาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้าน ESG ซึ่งรวมถึงการทำงานร่วมกับ สภาธุรกิจนานาชาติของสภาธุรกิจโลก (WEF IBC) เพื่อสร้างตัวชี้วัดทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Capitalism Metrics)นอกจากนี้เคพีเอ็มจียังดำรงตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับในหน่วยงานต่างๆ เช่น International Integrated Reporting Council (IIRC), Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD), Corporate Reporting Dialogue และ Sustainability Accounting Standards Board (SASB) และอื่นๆ

เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว กล่าวว่า "พนักงานของเคพีเอ็มจีตระหนักถึงความสำคัญของจุดมุ่งหมายองค์กรและความเปลี่ยนแปลงที่บริษัทสามารถสร้างให้เกิดแก่สังคมได้ โดยโครงการ KPMG Care & Share ที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมต่างๆ ที่ครอบคลุมแนวคิด ESG ในทุกแง่มุม ในด้านสิ่งแวดล้อม เรามุ่งลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการลดใช้กระดาษ ลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และนำไปรีไซเคิลสู่อุปกรณ์การแพทย์เพื่อบริจาคให้โรงพยาบาล ในด้านสังคม เราสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาด้วยการบริจาคทุนการศึกษาและคอมพิวเตอร์ อีกทั้งเคพีเอ็มจียังเป็นพันธมิตรกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมให้ความรู้และพัฒนานิสิต ภายใต้โครงการ 'Up Academy' เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2564 จะจัดในหัวข้อ Youth ESG ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างทัศนคติด้าน ESG ให้แก่นิสิตผู้เข้าร่วม ซึ่งจะมีโอกาสได้ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในสังคม โดยมีทีมงานเคพีเอ็มจีคอยให้คำแนะนำจากประสบการณ์จริง นอกจากนี้ พนักงานและผู้บริหารยังร่วมบริจาคเงินและสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในด้านบรรษัทภิบาล เราพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดยการเพิ่มทักษะแห่งอนาคตผ่านการเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มศักยภาพ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราคงความเป็นองค์กรชั้นนำที่มอบคุณค่าอย่างแท้จริงสู่สังคม"