ม.มหิดล ส่งเสริมเด็กและครอบครัวรณรงค์ลดเสี่ยง COVID-19 ผ่านการเรียนรู้และร่วมกิจกรรมชิงรางวัลออนไลน์ครั้งแรก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศถึง 4 เสาหลักทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้เพื่อรู้ (Learning to know) การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติ (Learning to do) การเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกัน (Learning to live together) และการเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to be)

ม.มหิดล ส่งเสริมเด็กและครอบครัวรณรงค์ลดเสี่ยง COVID-19 ผ่านการเรียนรู้และร่วมกิจกรรมชิงรางวัลออนไลน์ครั้งแรก

ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งหมุนไปพร้อมกับเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดฝันนานัปการ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย "เด็ก" คือความหวังของการอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ คือผู้นำที่จะต่อสู้การเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (CSIP) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมชิงรางวัลออนไลน์เพื่อรณรงค์การลดเสี่ยง COVID-19 ครั้งแรกสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งตอบโจทย์ 4 เสาหลักทางการศึกษาของ UNESCO

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (CSIP) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การลงทุนที่ไม่ต้องใช้เงิน แต่ได้ผลที่ยั่งยืน คือ การให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยในการรณรงค์เรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ในบ้าน ซึ่งในช่วงที่เด็กๆ ต้องหยุดเรียนในช่วงวิกฤติ COVID-19 ทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (CSIP) มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมเอาองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาจัดทำในรูปแบบของคลิปวิดีโอ เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ดังกล่าว มาสร้างสรรค์เป็นโครงงานเพื่อการรณรงค์ลดเสี่ยง COVID-19 แล้วส่งมาประกวดชิงรางวัลกัน ซึ่งนอกจากเด็กๆ จะได้รับความรู้ และได้แสดงความคิดสร้างสรรค์แล้ว เด็กๆ ยังได้ปฏิบัติตนเพื่อการป้องกัน COVID-19 จนเป็นนิสัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว จากการที่ให้พ่อแม่ได้ช่วยลูกในการเรียนรู้ทำความเข้าใจกับบทเรียนและทำโครงงานอีกด้วย

กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า "วิทยาศาสตร์เพื่อการป้องกันอุบัติภัยและโรคระบาด COVID-19" เนื่องจากเด็กๆ ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่การตั้งโจทย์การแก้ปัญหา การคิดวิธีการแก้ไขปัญหา การลงมือแก้ไขปัญหาตามวิธีที่คิดและการวัดประเมินผลจากการลงมือทำ ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ พบว่าพ่อแม่กลับจากที่ทำงานแต่ไม่ยอมเปลี่ยนเสื้อในทันที แต่มาเล่นกับลูกก่อน ในขณะที่ได้เรียนรู้ว่าเชื้อ COVID-19 มาจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลายของเพื่อนๆ ที่ทำงานของพ่อแม่ ซึ่งอาจจะติดมากับเสื้อพ่อแม่ จึงได้มาคิดแก้ปัญหาโดยให้พ่อแม่ไปอาบน้ำให้เร็วที่สุดก่อนมาเล่นกับลูก แล้วใช้วิธีการพูดคุย หรือติดป้ายวาดการ์ตูนติดไว้หน้าบ้านว่า "กรุณาเปลี่ยนเสื้อก่อนเล่นกับลูก" เป็นต้น จากนั้นพอผ่านไปสักระยะ ก็จะมาวัดผลกันว่าพ่อแม่เปลี่ยนเสื้อเร็วขึ้นหรือไม่ แล้วถ่ายคลิปบรรยายส่งมาร่วมสนุก โดยอาจให้พ่อแม่ช่วยด้วย

โครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 16 ปี ส่งคลิปความยาวประมาณ 2 - 5 นาที ก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 พร้อมกับร่วมสนุก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ รวมทั้งวัดผลออนไลน์ผ่านระบบ Zoom กันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อรับประกาศนียบัตรซึ่งจะส่งให้ทั้งตัวเด็กๆ เอง และโรงเรียนของเด็กๆ เพื่อรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้อีกด้วย

ซึ่งคลิปวิดีโอที่ทางโครงการฯ ได้รวบรวมไว้สำหรับเด็กๆ มีตั้งแต่การให้เด็กๆ ได้รู้จักกับ COVID-19 อาการของ COVID-19 การปฏิบัติตัวในที่สาธารณะ วิธีการป้องกันตัวเองและคนในบ้าน การทำความสะอาดป้องกันโรค COVID-19 วิธีล้างมือ 7 ขั้นตอน และวิธีเลือกหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้มีการนำหลักสูตร "The Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง" ของโครงการฯ มาจัดทำในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย

โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ป.1 - 3 ป.4 - 6 และ ม.1 - 3 ซึ่งปัจจุบันมีเด็กๆ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมแล้วกว่า 300 ราย สำหรับผู้ปกครอง โรงเรียนที่สนใจ หรือหน่วยงานใดมีความประสงค์จะร่วมให้การสนับสนุนโครงการฯ สามารถติดต่อได้ทาง Facebook: NICFD หรือ CSIP www.cf.mahidol.ac.th ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 นี้


ข่าวองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์+องค์การการศึกษาวันนี้

มาตรฐานอาชีพครูฝึกในสถานประกอบการ โดย สคช. ขึ้นแท่นระดับสากล หลัง UNESCO-UNEVOC ยกให้เป็นนวัตกรรมตัวอย่าง ในการขับเคลื่อนมาตรฐานอาชีพในระบบฝึกอบรม

UNESCO-UNEVOC หรือ ศูนย์ระหว่างประเทศด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ ยกระดับมาตรฐานอาชีพครูฝึกในสถานประกอบการที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จัดทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และคนในอาชีพ เป็นตัวอย่างนวัตกรรมด้านการบูรณาการสมรรถนะและคุณวุฒิใหม่ ซึ่งผลงานชิ้นดังกล่าว มีการนำมาตรฐานอาชีพครูฝึกในสถานประกอบการ ซึ่งทำหน้าที่สอนงาน ถ่ายทอดความรู้ upskill และ reskill กำลังคนสาขาต่างๆ ได้อย่างมีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานสากล ดร.นพดล ปิยะตระภูมิ

อพท. จับมือ ยูเนสโกและอิโคโมสสากล ชวนสุโข... ร่วมหาคำตอบ สุโขทัยที่น่าจะเป็น – เมืองมรดกโลกและเมืองสร้างสรรค์ อย่างไรที่ยั่งยืน — อพท. จับมือ ยูเนสโกและอิโคโมสสากล ชวนสุโขทัยถอดรหัสโต๊ะกลม การท่องเที...

อพวช. จัดงาน “NSM Alumni Day 2018”

ตามที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กำหนดให้วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน International Science Center & Science Museum Day (ISCSMD) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ เป็นต้นมา และในปี ๒๕๖๑ นี้ อพวช. จึงกำหนดจัดกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวัน...

นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภ... ภาพข่าว: มิวเซียมสยาม ยกระดับพิพิธภัณฑ์ไทย — นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)(คนกลาง) นางมณฑิรา หรยางกูร...

ไปรษณีย์ไทย และ ยูเนสโก จัดงานแถลงเปิดตัวแสตมป์ "มรดกโลกในอาเซียน"

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ร่วมกับ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เรียนเชิญร่วมเปิดตัวแสตมป์ที่ระลึก ชุด มรดกโลกในอาเซียน ซึ่งจัดทำขึ้นในโอกาสพิเศษครบรอบ 70 ปี ของการก่อตั้งยูเนสโก...

ไปรษณีย์ไทย จัดงานแสตมป์ที่ระลึกครบรอบการก่อตั้ง ยูเนสโก ครบ 70 ปี ชุด มรดกโลกในอาเซียน

ไปรษณีย์ไทย ร่วมกับ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมเปิดตัว แสตมป์ที่ระลึกครบรอบการก่อตั้ง ยูเนสโก ครบ 70 ปี ชุด มรดกโลกในอาเซียน (UNESCO World Heritage Sites...

สท.พม. เชิญชวนเด็กเยาวชนร่วมประกวดเรียงความระดับเยาวชนนานาชาติ “๒๐๑๓ International Essay Contest for Young People” ในหัวข้อ The Power of Culture to Create a Better Future

นางญาณี เลิศไกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ(สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคม...

แนะนำหนังสือใหม่ : คัมภีร์สามอักษร หรือ ซันจื้อจิง

คัมภีร์สามอักษร หรือ ซันจื้อจิง แบบเรียนอมตะของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มากว่า 700 ปี เป็นคำสอนในแนวทางปรัชญาขงจื๊อ โดยมีกุศโลบายคือการสอนผ่านการเล่าเรื่องหรือเล่านิทาน ในรูปแบบบทกลอนอักษรจีนประมาณ 1140 อักษร โดย...