การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (EST) ลดความเสี่ยงหัวใจวาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (EST) ลดความเสี่ยงหัวใจวาย

การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (EST) ลดความเสี่ยงหัวใจวาย

"กรรมพันธุ์" ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ทำให้เกิด "โรคหัวใจ" แต่เราป้องกันได้ด้วยการตรวจ Exercise Stress Test (EST)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ อันดับ1 คือ กรรมพันธุ์ ซึ่งครอบครัวไหนที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ คือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตจากโรคหัวใจก่อนวัยอันควร ญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง เป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจด้วย

อันดับ 2 คือ ความเสื่อมตามอายุ ยิ่งอายุมากขึ้นระบบการทำงานของหัวใจและเส้นเลือดก็เสื่อมลง จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

และอันดับ3 คือ โรคร่วม โดยโรคที่พบว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจบ่อยที่สุด คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง

โรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการเตือนที่เราสามารถสังเกตได้ ดังนี้นะ

* จะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง

* มีเหงื่อออกมาก

* ปวดร้าวไปกรามสะบักหลังและแขนซ้าย

* หอบ เหนื่อย ใจสั่น

* จุกบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน

เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาล่าช้า ซึ่งมักทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตตามมาได้

ถึงแม้ว่าเราจะดูแลรักษาสุขภาพอย่างดี ป้องกันและควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจแล้ว แต่เราก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจมาก่อน!!

แนะนำว่าถ้าครอบครัวไหนมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ควรตรวจสุขภาพของหัวใจเป็นประจำทุกปีด้วยการตรวจ Exercise Stress Test (EST) ซึ่งสามารถตรวจได้ละเอียดมากกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั่วไป นอกจากนี้ยังมี Cardiac MRI ช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ได้อย่างมีคุณภาพและความละเอียดสูง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แผลเป็นบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจหลังเกิดหัวใจวาย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดทั้งก่อนและหลังการรักษา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถระบุได้ชัดว่าหัวใจมีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายที่อาจเกิดขึ้นได้

ศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง รพ.รามคำแหง ให้บริการดูแลด้านหัวใจอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/readcenter_clinic/8


ข่าวโรคหัวใจ+หัวใจวายวันนี้

โรคหัวใจที่คนวัยทำงาน.. ควรใส่ใจ

นพ.ธนาภูมิ พงษ์กิจพิศาล อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ อนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจในวัยทำงาน จะพบในช่วงอายุ 30-60 ปี โดยมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความเครียดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน หรือหัวใจวายนั่นเอง ด้วยเหตุนี้คนในวัยทำงานจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต จัดสรรเวลาออกกำลังกาย งดเหล้า งดบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

เราทุกคนรู้ดีว่าหัวใจสำคัญแค่ไหน? เพราะเป... อย่าชะล่าใจ!!! "หัวใจ" แข็งแรงแค่ไหน? ก็ต้องตรวจ — เราทุกคนรู้ดีว่าหัวใจสำคัญแค่ไหน? เพราะเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักตลอด 24 ชั่วโมง สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่ว...

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร... ตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แล้วที่โรงพยาบาลธนบุรี 2 — โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่องอาการที่สังเกตได้ คื...

โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงก... รพ.เมดพาร์ค อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 ชวนหมอทั่วไทยร่วมคัดกรองโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ — โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 (ครั้...

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญ... ศิริราช เชิญร่วมบริจาคเลือดรับปีใหม่ไทย 9 - 16 เม.ย.68 — คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญรับปีใหม่ "สงกรานต์สุขใจให้เลือด" โดย...

"โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพัน... โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้ — "โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ...