ม.อ. เปิดหลักสูตร "การจัดการระบบกิจการฮาลาล" ที่แรกของไทย มุ่งผลิตบุคลากรตอบโจทย์ธุรกิจครบวงจร เร่งยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่ผู้นำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สร้างมิติใหม่วงการศึกษา เปิดตัวหลักสูตร "การจัดการระบบกิจการฮาลาล" (Halal System Management) บูรณาการตามหลักการฮาลาลที่ถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของศาสนาอิสลาม และวิถีชีวิตของมุสลิม โดยเป็นหลักสูตรแรกของไทย มุ่งผลิตบุคลากรตอบโจทย์ธุรกิจด้านฮาลาลแบบครบวงจร เปิดโอกาสให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปเรียนรู้ 2 รุ่นต่อปี หวังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลประเทศไทยก้าวสู่ผู้นำระดับโลก

ม.อ. เปิดหลักสูตร "การจัดการระบบกิจการฮาลาล" ที่แรกของไทย มุ่งผลิตบุคลากรตอบโจทย์ธุรกิจครบวงจร เร่งยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่ผู้นำ

ผศ.ดร.อัสมัน แตอาลี ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ) ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา และ 4 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาการอิสลาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี คณะอุตสาหกรรมเกษตร และคณะวิทยาการจัดการม.อ.หาดใหญ่ เปิดหลักสูตรใหม่ "การจัดการระบบกิจการฮาลาล" (Halal System Management) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของโลกที่มุ่งผลิตบุคลากรตอบโจทย์ธุรกิจด้านฮาลาลแบบครบวงจร เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศไทยก้าวสู่ผู้นำระดับโลก

ทั้งนี้หลักสูตรการจัดการระบบกิจการฮาลาล (Halal System Management) เป็นหลักสูตรบูรณาการตามหลักการฮาลาลที่ถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของศาสนาอิสลาม และวิถีชีวิตของมุสลิม เปิดโอกาสให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้เพื่อประกอบกิจฮาลาลแบบมืออาชีพ ผ่านการเรียนการสอนตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารฮาลาล ฮารอม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างครบวงจร ตลอดจนการบริหารจัดการควบคุม ตรวจสอบ และดูแลระบบฮาลาลในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการขอใบรับรองมาตรฐานฮาลาลประกอบกิจการ เป็นระยะเวลา 4 เดือน เรียนภาคทฤษฎี ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 3 เดือน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการฮาลาลจริง ที่ กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ อีก 1 เดือน

สำหรับภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล นับว่าเป็นตลาดใหญ่มีสัดส่วนประมาณ 15% ของตลาดอาหารทั่วโลก และยังมีศักยภาพการเติบโตสูง ทำให้ทั่วโลกต้องจับตาและให้ความสำคัญในตลาดดังกล่าว เนื่องจากประชากรของโลกที่นับถือศาสนาอิสลามมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทยมีประชากรที่นับถือ ศาสนาอิสลามประมาณ 3.2 ล้านคน มากกว่า 80 % อาศัยอยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นโอกาสสร้างการเติบโตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ผศ.ดร.อัสมัน กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้ประกอบการผลิตสินค้าฮาลาลเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดกระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ตั้งแต่ระดับความรู้พื้นฐานด้านฮาลาล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการจัดการด้านฮาลาลในระดับอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหาผลิตภัณฑ์ฮาลาลขาดความเชื่อมั่นกับประเทศคู่ค้ามุสลิม จึงสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน ซึ่งการจัดทำหลักสูตรการจัดการระบบกิจการฮาลาลในครั้งนี้ จะผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านฮาลาล ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตลาดมุสลิมในตะวันออกกลาง ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนฮาลาลของประเทศไทย

สำหรับคุณสมบัติของผู้เข้าหลักสูตรการจัดการระบบกิจการฮาลาล ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือปวส. และต้องมีประสบการณ์งานด้านฮาลาลอย่างน้อย 2 ปี แบ่งการจัดการเรียนการสอนเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. ภาคปกติ (จันทร์-ศุกร์) 2. ภาคสมทบ (เสาร์-อาทิตย์) โดยอัตราค่าเล่าเรียน ภาคปกติ 35,000 บาท/คน ภาคสมทบ 45,000 บาท/คน (รวมค่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าเดินทางสำหรับเรียนภาคปฎิบัติ) จะเปิดรับผู้เรียนจำนวน 2 รุ่นต่อปี รุ่นละ 60 คน โดยรุ่นที่ 1 เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2564 เริ่มการเรียนการสอนในเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2564 และรุ่นที่ 2 เริ่มการเรียนการสอนในเดือนกันยายน - ธันวาคม 2564


ข่าวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์+อุตสาหกรรมอาหารฮาลาลวันนี้

ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) มุ่งพัฒนาทักษะความรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อเตรียมบุคลากร

ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ช... จับตาไทย! ลุยพัฒนา ATMPs-สเต็มเซลล์ พลิกโฉมการแพทย์ เพิ่มโอกาสรักษาโรคร้ายแรง — ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ชั้นนำ เร่งเครื่องพัฒนา ATMPs-สเต็...

เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทอ... เครือ รพ.พญาไท - เปาโล จับมือ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พัฒนานวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์ — เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหา...

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineeri... AI Engineering & Innovation Summit 2024 ขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก — สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร...