กทม.ยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ในกรุงเทพฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายสุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวถึงการยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กรุงเทพมหานครได้เร่งรัดให้บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยการเพิ่มจุดตรวจคัดกรอง เพื่อแยกผู้ป่วยออกจากชุมชน ปรับแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 โดยจะเร่งฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ตั้งเป้าหมายฉีดให้ได้ 1 ล้านโดส ภายใน 2 สัปดาห์ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการตั้งโรงพยาบาล (รพ.) สนาม ICU สนามเพิ่มเติม ขณะเดียวกันยังได้จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) ให้ครบทุกเขตทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อคัดกรองอาการและดูแลในเบื้องต้น รอการส่งต่อไปรักษาในสถานพยาบาล ลดปัญหาการแพร่ระบาดและติดเชื้อของคนในครอบครัวและชุมชน จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ดูแลและประเมินอาการผู้ป่วย โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ดูแลอาการผู้ป่วยโควิด-19 ได้แก่ (1) เครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วสำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือด หากวัดค่าออกซิเจนในระหว่างรอส่ง รพ. หากพบว่ามีค่าต่ำกว่า 95% จะรีบส่งเข้ารักษาใน รพ. (2) เครื่องออกซิเจนใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 95% ระหว่างการรอส่งเข้า รพ. สำหรับผู้ป่วยสมัครใจแยกกักตัวในบ้านที่พักอาศัยของตนเอง (Home Isolation) ระหว่างรอเตียงเข้ารักษาใน รพ. จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ โดยต้องเป็นผู้ป่วยโควิดสีเขียวที่ไม่มีอาการ ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เป็นผู้สูงอายุ โดยระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อสส. ดูแลและประเมินอาการผู้ป่วย ตรวจวัดค่าออกซิเจน และให้ยาตามอาการ หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองจะรีบนำส่งเข้ารักษาใน รพ.

นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กทม. กล่าวว่า ได้จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจร่วมชุดเฉพาะกิจทหาร และตำรวจ เฝ้าระวังแคมป์ที่พักคนงานก่อสร้าง ไม่ให้เคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกแคมป์ รวมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งจุดตรวจคัดกรองการเดินทางในถนนสายหลักที่ประชาชนเดินทางออกนอกพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อสกัดไม่ให้เดินทางข้ามจังหวัด นอกจากนี้ ได้ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือจากประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสุขอนามัยส่วนบุคคล (D-M-H-T-T-A) อย่างเคร่งครัด


ข่าวกระทรวงสาธารณสุขกำหนด+สุขสันต์ กิตติศุภกรวันนี้

สจล. และคณะอุตสาหกรรมอาหาร ผลิตน้ำดื่มเพื่อมอบช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวน 10,000 ขวด พร้อมสิ่งขอจำเป็น และเงินสมทบทุน

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำทีมผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักศึกษา นำน้ำดื่มจำนวน 10,000 ขวด ที่ผลิตจากคณะอุตสาหกรรม สจล. ด้วยกระบวนการ Reverse Osmosis ผ่านกระบวนการกรอง และผ่านกระบวนการ การฆ่าเชื้อด้วยระบบเครื่อง Ozone Generator และ UV คุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขกำหนด พร้อมสิ่งของจำเป็น และเงินสมทบทุนผ่านการรับบริจาคจำนวน 144,372.87 บาท จากกิจกรรม "สจล. รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" เมื่อระหว่างวันที่ 16 25

วันที่ 28 พฤษภาคมของทุกปี กระทรวงสาธารณสุ... นศ. ICT ม.มหิดล คิดค้น AI ชี้วัดสังคมออนไลน์ เพื่อผลักดันสู่นโยบายสุขภาวะทางจิต — วันที่ 28 พฤษภาคมของทุกปี กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นวันสุขบัญญัติแห่งช...

วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี กระทรวงสาธาร... ม.มหิดล เตรียมพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อผู้ป่วยกายภาพบำบัด ตอบโจทย์ชีวิตยุค New Normal — วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็น "วันสาธารณสุ...