ก.แรงงาน ชวนเจ้าของกิจการ ทำมาตรฐานผู้ประกอบอาชีพ (ม.26) ย้ำ มีแต่ได้กับได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ก.แรงงาน ชวนเจ้าของกิจการ ทำมาตรฐานผู้ประกอบอาชีพ (ม.26) ย้ำ มีแต่ได้กับได้ กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เชิญชวนเจ้าของกิจการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ ตามมาตรา 26 พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพในวงจรการผลิต มีแต่ได้ไม่มีเสีย

ก.แรงงาน ชวนเจ้าของกิจการ ทำมาตรฐานผู้ประกอบอาชีพ (ม.26) ย้ำ มีแต่ได้กับได้

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน มอบหมายให้ กพร. ดำเนินการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพใน 3 มิติทั้ง New skill Re skill และ Up skill เพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมตามมาตรฐานฝีมือ รักษาสภาพการทำงาน และสร้างโอกาสการมีงานทำให้แก่แรงงานทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานใหม่ แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ผู้ว่างงาน นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี รวมถึงส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้แก่สถานประกอบกิจการอีกทางหนึ่งด้วย ก.แรงงาน ชวนเจ้าของกิจการ ทำมาตรฐานผู้ประกอบอาชีพ (ม.26) ย้ำ มีแต่ได้กับได้

นายธวัช กล่าวต่อไปว่า ได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ดำเนินการตามมาตรา 26 ภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เชิญชวนให้นายจ้าง และสถานประกอบกิจการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน กำหนดอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนตามทักษะฝีมือ พิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน พัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งส่งผลดีต่อสถานประกอบกิจการในแง่ของการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ช่วยลดการสูญเสียในวงจรการผลิตลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานได้ โดยขั้นตอนจะทำร่วมกันระหว่างสถานประกอบกิจการกับ สพร.หรือ สนพ.ในการจัดตั้งคณะทำงานในการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน จัดทำข้อสอบภาคความรู้ ภาคปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อสอบ จัดทดลองทดสอบให้แก่พนักงาน และเสนอต่อคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อขอหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพแล้วนำไปใช้ได้ทันที

ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกอบกิจการได้รับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนตามมาตรา 26 แล้ว และได้นำมาตรฐานดังกล่าว ไปใช้ในการทดสอบให้แก่ลูกจ้างของตนในปีที่ผ่านมา มีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนในแต่ละสาขา ระดับละ 10,000 บาทอีกด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานและนำไปใช้ในการทดสอบให้แก่ลูกจ้างของตน ต่อไป ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่สถานประกอบกิจการจะได้รับแล้ว พนักงานหรือลูกจ้างก็จะได้ทราบระดับทักษะฝีมือ และข้อบกพร่องของตนเองเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและช่วยให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมอีกด้วย ในส่วนของผู้บริโภคเป็นการเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการบริโภคสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยตรวจสอบได้จากแรงงานผู้มีทักษะฝีมือ "การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้ประกอบกิจการจัดทำ และนำมาใช้วัดระดับทักษะของพนักงาน กรณีที่พนักงานมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรต่อไปได้ จึงขอเชิญชวนสถานประกอบกิจการที่สนใจ เข้าร่วมจัดทำมาตรฐานดังกล่าว

สอบถามข้อมูลได้ที่ สพร. หรือ สนพ. ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน 02-2451822, 02-6434987 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4" อธิบดี กพร.กล่าว


ข่าวกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน+มาตรฐานฝีมือแรงงานวันนี้

โฮมโปร ร่วมสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 มุ่งยกระดับมาตรฐานแรงงานไทยสู่ระดับสากล

โฮมโปร ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทย ด้วยการร่วมเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้แรงงานไทยได้แสดงศักยภาพ พร้อมยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้สามารถแข่งขันในระดับสากล ในโอกาสนี้ นายธีรพล รอดเฉื่อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายบริหารการจัดส่งและติดตั้ง บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนขึ้นรับรางวัล "ผู้สนับสนุนการแข่งขัน" จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน สอดคล้องความต้องการในอนาคต — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน...

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตร... กรมพัฒน์ เดินหน้า ตั้งศูนย์ทดสอบฯ "เครื่องถมนครศรี" แห่งแรกในไทย — กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาเครื่องถม ที่จังหวัดนครศรีธ...

นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมื... อธิบดีกรมพัฒน์ ยกระดับมาตรฐานค่ายมวยไทยในต่างแดน จัดทดสอบครูมวยไทยในไต้หวัน — นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสร...

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษ... กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเกษมบัณฑิต ตั้งศูนย์ทดสอบวัดระดับทักษะนักศึกษา ป.ตรี — กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เร่งตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐา...

นางจิรนันท์ ยิ่งล้ำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒน... สพร.42 หนองคาย เข้าตรวจเยี่ยมสถานประกอบกิจการในพื้นที่จังหวัดหนองคาย — นางจิรนันท์ ยิ่งล้ำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 42 หนองคาย มอบหมายให้นางสาวรุ...

กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชงมา... ก.แรงงาน ชงมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3 สาขา Upskill แรงงานรองรับอัตราค่าจ้างตามฝีมือ — กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชงมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 3 สาขาเข...