สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยปกติแล้วร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างต่ำกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว หากเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่อาการของโรคจะรุนแรงมากขึ้นและร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อได้น้อยลง จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้ป่วยมะเร็งทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างเร็วที่สุด เพื่อลดโอกาสการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้
ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากหากได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะร่างกายมีภูมิต้านทานที่ต่ำกว่าปกติ จึงมีความเสี่ยงที่เชื้อจะอยู่ในร่างกายได้นานกว่าและเกิดอาการรุนแรงกว่าบุคคลทั่วไป จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน-19 โดยเร็ว แต่ผู้ป่วยมะเร็งมีหลายกลุ่ม เพื่อให้การฉีดวัคซีนมีประสิทธิภาพที่สุดควรได้รับการฉีดให้เหมาะสม ในผู้ป่วยที่สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ทันที คือ ผู้ป่วยมะเร็งที่ผ่านการวินิจฉัยแล้วแต่ยังไม่ได้รับการรักษา หรืออยู่ในขั้นตอนการรักษารับประทานยาและพบแพทย์ทุกเดือน รวมทั้งผู้ป่วยที่รักษาจนหายแล้วที่ไม่มีประวัติแพ้วัคซีน ในผู้ป่วยมะเร็งที่รับการผ่าตัดควรฉีดวัคซีนก่อนหรือหลังการผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ ผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูกจะต้องเว้นระยะให้ร่างกายฟื้นตัวและไม่มีภาวะแทรกซ้อนปรากฏหลังการรักษาประมาณ 3 เดือน จึงจะฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันที่ได้รับยาเคมีบำบัดทำลายเซลล์มะเร็ง ให้ฉีดวัคซีนเมื่อเกณฑ์ของเม็ดเลือดขาวมีระดับปกติ และในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับยาฉีด อาทิ ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า ยาฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และที่ได้รับรังสีรักษา ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในส่วนของญาติผู้ป่วยโรคมะเร็งก็ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วที่สุดเช่นกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้ป่วย
ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนผู้ป่วยควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ดื่มน้ำ 500-1000 ซีซี เลี่ยงการดื่มชา กาแฟ ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด ถ้ามีอาการไข้ไม่สบายให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน ไม่ควรกินยาที่ไม่ใช่ยารักษาโรคประจำตัวหรืออาหารเสริมก่อนเข้ารับวัคซีน การดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีนหากมีไข้หรือปวดศีรษะสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หากมีผื่นลมพิษ ไข้สูงมาก หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง เจ็บหน้าอกให้พบแพทย์ทันที ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้บ่อย รักษาระยะห่างทางสังคม และควรเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามนัดหมายทั้ง 2 เข็ม หากมีคำถามหรือข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวทันที
นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถฉีดวัคซีนได้ทุกตัว โดยต้องเป็นวัคซีนที่ได้มาตรฐาน ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โทร. 02-310-3000 หรือโทร.1719
เมื่อเร็ว ๆ นี้ แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS และ ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และผู้อำนวยการสถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ ดร.โยชิยูกิ อูเอโนะ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยามากาตะ โดยมีเนื้อหาความร่วมมือด้านการบริการทางการแพทย์ การบริการสุขภาพ
BDMS ลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรักษามะเร็ง กับมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น
—
แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพ...
โรค "มะเร็ง"ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัวอีกต่อไป เอาชนะได้ด้วยตัวเรา I AM & I WILL : Together, all our actions matter
—
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี ตรงกับ วันมะเ...
เรียนรู้สัญญาณเตือน ก่อนจะเป็นมะเร็งตับ
—
โรคมะเร็งตับยังคงเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของมะเร็งทั้งหมด โดยเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในเพศชาย...
BDMS Wellness Clinic ผนึกโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ สร้างความตระหนักรู้ถึงโรคมะเร็งเต้านม พร้อมส่งมอบการดูแลแบบครบองค์รวม
—
BDMS Wellness Clinic ผนึกโ...
BeDee ร่วมกับ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ เปิดตัวตู้ We Care Your Selfcare จากแนวคิด Health & Convenient
—
BeDee แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่ช่วยให้คุณ...
โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ MOU สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมพัฒนางานวิจัยและยกระดับพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
—
โรงพยาบาลมะเร็งก...
แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวนด์ ราคา 3,500 บาท ตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2565
—
เนื่องในเดือนแห่งการรณรงค์ป้องก...