จากภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณคืนชีวิตสู่เซรามิก ในผลงานอนุรักษ์ภาพถ่ายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จาก PixCera ร่วมกับ ศิลปินช่างภาพร่วมสมัย ชาติฉกาจ ไวกวี

30 Jun 2021

เมื่อเอ่ยถึงวัสดุที่ทรงคุณค่า สวยงาม และทนทานเหนือกาลเวลา คงหนีไม่พ้น "เซรามิก" ที่ทาง PixCera แบรนด์ผลิตภัณฑ์เซรามิกชั้นนำของประเทศไทย ได้ยกระดับคุณค่า และคุณสมบัติของเซรามิก ให้เป็นวัสดุพิเศษที่สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานระดับมาสเตอร์พีซ ภายใต้คอนเซปต์ "Fine Customized Ceramic" และนำเซรามิกมาปรับใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่งานสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน ภาชนะใช้งาน ไปจนถึงการเก็บรักษาผลงานศิลปะ หรือภาพถ่ายโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ลงบนแผ่นเซรามิก เพื่อคงความสวยงามและไม่เสื่อมคลายไปตามเวลา

จากภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณคืนชีวิตสู่เซรามิก ในผลงานอนุรักษ์ภาพถ่ายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จาก PixCera ร่วมกับ ศิลปินช่างภาพร่วมสมัย ชาติฉกาจ ไวกวี

จากวัสดุที่มีเอกลักษณ์เฉพาะต่อยอดคุณค่าสู่การอนุรักษ์งานศิลป์ให้คงอยู่ตลอดไป  แบรนด์ PixCera จึงร่วมมือกับคุณชาติฉกาจ ไวกวี ช่างภาพร่วมสมัยของเมืองไทย "CHARDCHAKAJ x PIXCERA" เปิดตัวคอลเลคชั่นพิเศษ ภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)  ในรูปแบบ Ceramic Art Panel ผลงานการอนุรักษ์ภาพถ่ายโบราณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ"สมเด็จวัดระฆัง"ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น อมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทยและมีพุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชุดภาพถ่ายโบราณ มีการสันนิษฐานว่าได้รับการบันทึกไว้ในพุทธศักราช 2407 โดย ฟรานซิส จิตรช่างภาพอาชีพชาวไทยคนแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยเทคนิคฟิล์มกระจกเปียกแบบโบราณ (Wetplate Collodion Ambrotype) และมีเพียงแค่ 3 ภาพเท่านั้น ที่ถูกค้นพบซึ่งคุณชาติฉกาจได้นำฟิล์มต้นฉบับทั้งหมดนี้มาบูรณะซ่อมแซมให้สมบูรณ์ และบันทึก ด้วยกระบวนการพิมพ์ภาพความละเอียดสูงลงบนแผ่นเซรามิก มอบทั้งความสวยงามเป็นสิริมงคลและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ควรรักษาไว้ต่อไป

คุณชาติฉกาจ ไวกวี ช่างภาพร่วมสมัยระดับโลก เผยถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า

"เพราะภาพแต่ละภาพมีคุณค่าในตัวเองและสามารถบันทึกเรื่องราวความทรงจำให้เราชื่นชมได้อย่างชัดเจน ยิ่งเมื่อเวลาผ่านไป คุณค่าของภาพอาจประเมินเป็นมูลค่าไม่ได้ นั่นจึงเป็นเหตุผล ที่ผมอยากจะเก็บรักษา ผลงานต่างๆ ให้คงอยู่สืบไป การร่วมมือกับ PixCera ในครั้งนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าชิ้นงานที่หาชมได้ยากและทรงคุณค่าอายุเก่าแก่กว่าร้อยปีอย่างภาพถ่ายโบราณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่ผมได้พยายามบูรณะให้ภาพเหล่านี้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง จะได้รับการอนุรักษ์และส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้ร่วมเป็นเจ้าของ เพื่อเก็บรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์นี้ไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา"

ด้วยองค์ประกอบพิเศษของเซรามิกที่มีความทนทาน ทำความสะอาดง่าย สีไม่ซีดจาง ผสานกับความล้ำค่าที่หาเทียบได้ยากของภาพถ่ายโบราณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ถ่ายทอดรายละเอียดทุกมิติและเม็ดสีจากฟิล์มกระจกต้นฉบับ สู่แผ่นเซรามิกระดับพรีเมี่ยมที่ให้ความสวยงามเฉพาะตัวและยังคงคุณค่าไว้ไม่ให้สลายไปตามเวลา ถือเป็นชิ้นงานที่ควรค่าแก่การสะสม มอบให้เป็นของขวัญ หรือบูชาตามศรัทธาเพื่อความเป็นสิริมงคลในทุกยุคทุกสมัย

คุณชลธิชา บรรดาประณีต Managing Director จาก PixCera เปิดเผยถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า "ทาง PixCera รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานสำคัญครั้งนี้กับคุณชาติฉกาจ ศิลปินช่างภาพร่วมสมัยแถวหน้าของเมืองไทยที่ให้ความสำคัญในการเก็บรักษาภาพถ่ายโบราณอันทรงคุณค่าโดยโปรเจคนี้เราต่างมีความตั้งใจเดียวกันในการส่งเสริมและรักษาคุณค่าของงานภาพทั้งภาพถ่ายและงานศิลปะเพื่อให้ผลงานสำคัญสามารถคงอยู่และถ่ายทอดต่อไปได้ผ่านกาลเวลา ทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นที่มาของคอลเลคชั่น "CHARDCHAKAJ x PIXCERA" ที่ต้องการร่วมอนุรักษ์และส่งต่อผลงานภาพถ่ายโบราณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งถือเป็นภาพถ่ายประวัติศาสตร์สำคัญอันทรงคุณค่าของประเทศที่ได้ผ่านยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบันเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและบูชา เราเชื่อว่า การถ่ายทอดภาพโบราณโดยผ่านกรรมวิธีและใช้เทคนิคการเผาชั้นสูงในการผลิตชิ้นงานเซรามิกครั้งนี้ นอกจากจะช่วยคงความงดงามของภาพให้ยาวนานแล้ว ยังช่วยให้ภาพถ่ายที่มีคุณค่าทางจิตใจและมีค่านี้ สามารถส่งต่อให้เป็นมรดกสืบไปจากรุ่นสู่รุ่นได้อีกด้วย"

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมเรื่องราวแรงบันดาลใจในการบูรณภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณ อายุกว่า กว่า 157 ปี คืนชีวิตสู่เซรามิก  ในคอลเลคชั่นภาพถ่ายของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) "CHARDCHAKAJ x PIXCERA" ได้ที่ Link

 

จากภาพถ่ายฟิล์มกระจกโบราณคืนชีวิตสู่เซรามิก ในผลงานอนุรักษ์ภาพถ่ายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จาก PixCera ร่วมกับ ศิลปินช่างภาพร่วมสมัย ชาติฉกาจ ไวกวี