นฤมล ไฟเขียว 2 อุตสาหกรรมฯ เร่งผลิตแรงงานป้อน S-Curve

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

รมช.แรงงาน ขับเคลื่อน 2 อุตสาหกรรม "หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม-การบินและโลจิสติกส์" เร่งผลิตแรงงานป้อนอุตสาหกรรมเป้าหมายเอสเคิร์ฟ

นฤมล ไฟเขียว 2 อุตสาหกรรมฯ เร่งผลิตแรงงานป้อน S-Curve

วันที่ 25 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมายเอสเคิร์ฟ ครั้งที่ 4/2564 ผ่านระบบ Video Conference เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และพิจารณาแผนพัฒนาแรงงานและประสานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (พ.ศ.2565 - 2570) ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ โดยมีหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวจิราภรณ์ ปุญญฤทธิ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เข้าร่วมประชุม และนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำหน้าที่เลขานุการ ณ ห้องประชุมสมชาติ เลขาลาวัณย์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นฤมล ไฟเขียว 2 อุตสาหกรรมฯ เร่งผลิตแรงงานป้อน S-Curve

ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า การประชุมในวันนี้เป็นการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ของ 2 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้ผ่านการ Workshops สำรวจความต้องการ และประชุมหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้ว อุตสาหกรรมแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิตหุ่นยนต์ กลุ่มผู้ใช้หุ่นยนต์ กลุ่มนักบูรณาการระบบ และกลุ่มผู้สร้างเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ส่วนอุตสาหกรรมที่สอง ได้แก่ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ประกอบด้วย ด้านบริการลูกค้า ด้านการวิเคราะห์และวางแผน ด้านคลังสินค้าและการกระจายสินค้า ด้านการจัดซื้อและจัดหา ด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์ และด้านการขนส่ง โดยจะได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานที่ดำเนินการด้าน New Skills / Up Skills / Re Skills ตลอดจนหน่วยฝึกอบรม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อแรงงานได้อย่างยั่งยืน

ที่ประชุมได้เห็นชอบกับแผนพัฒนาแรงงานฯ ดังกล่าว และได้เสนอให้นำข้อสังเกตบางประการจากคณะอนุกรรมการฯ ไปปรับปรุงข้อมูล เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามแผนให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังได้เสนอให้มีการทบทวนข้อมูลจำนวนความต้องการแรงงานในแต่ละปีจากส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานต่อไป

"แม้ว่าสถานการณ์ของโควิด-19 จะยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง แต่แรงงานก็ยังคงต้องได้รับการพัฒนา เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และมีโอกาสในการประกอบอาชีพได้ทันทีตามความต้องการของตลาดแรงงาน" รมช.แรงงาน กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวอุตสาหกรรมหุ่นยนต์+นฤมล ภิญโญสินวัฒน์วันนี้

AMA ร่วม MARA จับมือภาคเอกชน ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์ (AMA) ประชุมร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) และบริษัท เอ็น.พี.โรโบติกส์ แอนด์ โซลูชั่น จำกัด เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการฝึกอบรมเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์/หุ่นยนต์ ตามแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานชั้นสูง และเยี่ยมชมห้องฝึกอบรมสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและเมคคาทรอนิกส์ การเก็บตัวของเยาวชนทีมชาติไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46 ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม

การพัฒนาเศรษฐกิจไทยยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่... วิศวะมหิดล ร่วมกับ สสอ. เดินหน้าโครงการพัฒนาช่างเครื่องมือกลการผลิตความแม่นยำสูง...รองรับ EEC — การพัฒนาเศรษฐกิจไทยยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระ...

CITE DPU เผยผลกระทบจากโควิด-19 ยังมีโอกาส... CITE DPU เผยหลังโควิด-19 ยังมีโอกาสการลงทุนหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ — CITE DPU เผยผลกระทบจากโควิด-19 ยังมีโอกาสการลงทุนหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เหตุมีทั้ง...

ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ หัวหน้าสาขาวิ... CITE DPU เผยผลกระทบจากโควิด-19 ยังมีโอกาสการลงทุนหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ — ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ วิ...

วันที่ 15 มกราคม 2563 ณ สถาบันพัฒนาบุคลาก... ก.แรงงาน คัดหัวกะทิ ฝึกเป็นเทรนเนอร์ด้านแมคคาทรอนิกส์ — วันที่ 15 มกราคม 2563 ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จังหวัดชลบุรี น...

ดร.พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ ผู้อำนวยการโคร... ภาพข่าว: ปตท. หนุนเอไอโรโบติกส์ ABU ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2562 — ดร.พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการ โรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซ...