จากปัญหาสภาพอากาศ และฝุ่น PM 2.5ในพื้นที่ภาคเหนือที่มีระดับสูงเกินมาตรฐานซึ่งจะเกิดในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของนิสิต บุคลากร และประชาชน ที่เข้ามาใช้บริการและใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยพะเยาโดยสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านวิศวศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสาธารณะสุขศาสตร์ ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & lnnovation for Sustainbility Center-RISC) โดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDE) ด้านความร่วมมือทดสอบต้นแบบหอฟอกอากาศอัตโนมัติแบบไฮบริด (Hybrid Air Purifier tower) ภายใต้ชื่อโครงการ "ฟ้าใส รุ่นที่ ๒"ซึ่งเป็นหอฟอกอากาศกลางแจ้งผ่านระบบการปล่อยละอองน้ำ เพื่อดักจับฝุ่นขนาด ๒.๕ ไมครอน และสามารถฟอกอากาศได้เป็นระยะรัศมี ๒๐ เมตร จากหอฟอกอากาศ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.ชัชวาล วงค์ชัย ดูแลการติดตั้งหอฟอกอากาศอัตโนมัติแบบไฮบริด (Hybrid Air Purifier tower) ณ บริเวณลานสนามกีฬากลางแจ้ง มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยได้ทำการลงพื้นที่ พร้อมด้วยทีมงานนักวิจัย เพื่อทดสอบการติดตั้ง และตรวจสอบความเรียบร้อยของหอฟอกอากาศ ผ่านการร่วมมือของนักวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า ผศ.ดร. ธนาทิพย์ จันทร์คง และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อม ดร.ปฎิพัทธ์ วงค์เรืองโดยขนาดหอฟอกอากาศนี้มีขนาด ๒.๔*๒.๔*๕.๑ เมตร โดยหลักการทำงานระบบการกำจัดฝุ่น Jet Venturi Scrubber จะเป็นการพ่นละอองน้ำขนาดเล็กเพื่อดักฝุ่น และมีระบบดูดอากาศจากด้านบนตัวเครื่องผ่านระบบการจัดการฝุ่นและฆ่าเชื้อ และพ่นอากาศที่บริสุทธิ์ได้ในรัศมี ๒๐ ถึง ๒๕ เมตร โดยตัวเครื่องได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อน โดยการติดตั้งหอฟอกอากาศเครื่องแรก ในปี ๒๕๖๓ ในโครงการ 101 True Digital Park กรุงเทพมหานคร เครื่องที่ ๒ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มักกะสัน และเครื่องที่ ๓ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา
การติดตั้งหอฟอกอากาศอัตโนมัติแบบไฮบริด (Hybrid Air Purifier tower) ในครั้งนี้เพื่อเป็นการฟอกอากาศในสถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และการวิจัยเป็นแหล่งศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบต่อพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของประชาชนพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อการดูและสุขภาพในสภาวะฝุ่นควัน ทั้งสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการรับมือในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ในอนาคต โดยผ่านการร่วมมือของสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านวิศวศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ หน่วยวิจัยมลพิษบรรยากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมหาวิทยาลัยพะเยา และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ ดำรงวิริยะนุภาพ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ ในการดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับบริษัท โฟลว์แอคเคาท์ จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ วิทยาประภากร อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามเป็นพยาน ในส่วนของบริษัท โฟลว์แอคเคาท์ จำกัด ได้รับเกียรติจาก Chief of Staff คุณกานต์ โชครุ่งวรานนท์ เป็นผู้ลงนาม และ
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิศวศึกษา ครั้งที่ 19 'Transformation: The New Paradigm of Engineering Education"
—
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 อธิการบดีมหาวิ...
ม.พะเยา ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม
—
วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 256...
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...
มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5
—
หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...
คณะวิศวฯ มจพ. จับมือ สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย อบรมนักวิเคราะห์ระบบอัตโนมัติ SA ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ พ.ศ 2568
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
รอบที่ 3 รับสมัครนักศึกษาใหม่ รอบ Admission น้องๆนักศึกษาเตรียมตัวให้พร้อม
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับนั...
'SPU Engineering Camp 2025' ม.ศรีปทุม พานักเรียนสัมผัสโลกวิศวกรรม เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง!
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโครงการ "SPU Enginee...