ศพช.ลำปาง น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความมั่นคงทางอาหาร ร่วมแรงร่วมใจเอามื้อสามัคคี เก็บเกี่ยวผลผลิตในพื้นที่ต้นแบบฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วยเหลือผู้ประกอบการชุมชน ในภาวะวิกฤต COVID-19
วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.30 น.นางอภิญญา โกมลรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางและทีมมดงาน ดำเนินกิจกรรม "เอามื้อสามัคคี" ในพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ศพช.ลำปาง โดยร่วมกันเก็บเกี่ยวผลผลิตในพื้นที่ต้นแบบฯ ได้แก่ ต้นตะไคร้รอบคลองไส้ไก่ โดยนำมาคัดแยกและจัดจำหน่ายแก่ผู้ประกอบการชุมชนในราคาย่อมเยา เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับบุคลากรหรือทีมมดงานประจำฐานเรียนรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง พร้อมลงแรงร่วมกันพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ ปรับตะพักหัวคันนา เพื่อปลูกต้นตะไคร้ทดแทนที่เก็บเกี่ยวไป ซึ่งตะไคร้ที่เหลือจากการจำหน่ายและแบ่งปันกัน นำมาประกอบอาหารสร้างสรรค์เมนูแสนอร่อย "ยำปลากระป๋อง" เป็นอาหารสุขภาพ จากผลผลิตพืชผักปลอดภัยในพื้นที่ต้นแบบฯ ศพช.ลำปาง ณ พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง
นางอภิญญา โกมลรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง เปิดเผยว่า การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ได้ดำเนินการบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบการช่วยเหลือกันและกัน ผ่านกิจกรรม "เอามื้อสามัคคี" มาอย่างต่อเนื่อง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การพึ่งพาตนเอง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการตนเองและชุมชนให้มีความสุขได้อย่างยั่งยืน และยังเป็นการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของกรมการพัฒนาชุมชน สอดรับกับวาระการพัฒนาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) โดยมุ่งเน้นหลักการ "พึ่งตนเอง" ด้วยการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนอย่างพอเพียง ประหยัด และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งทางศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ได้มีการปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อการบริโภคภายในศูนย์ฯ และเมื่อเหลือจากการบริโภคจึงนำมาจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการชุมชนในราคาย่อมเยาและแบ่งปันกัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการสร้างรายได้ และเกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงสู่ชุมชน
กิจกรรม "เอามื้อสามัคคี" พัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ ศพช.ลำปาง เป็นหนึ่งในกิจกรรมของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางที่เป็นเป้าหมายการดำเนินงานนำร่องการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกรมการพัฒนาชุมชน โดยมุ่งหวังให้พี่น้องประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับครัวเรือน ระดับกลุ่ม และระดับชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ของชุมชน ให้มีความมั่นคงในการผลิตอาหาร สู่การสร้างเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงและยั่งยืน
มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่ก่อตั้งโดยเจตนารมย์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งและชาวจีนโพ้นทะเลที่มุ่งหวังผลิตเยาวชนไทยให้มีความรู้คู่คุณธรรม และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยและจีน ดังนั้นตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจึงมีปณิธานที่แน่วแน่ในการบ่มเพาะคุณลักษณะของนักศึกษาและบุคลากรให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ "มีคุณธรรม 6 ประการ (ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู) ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการมีจิตอาสาพร้อมรับใช้สังคม" และตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
อินโดรามา เวนเจอร์ส และ SEAMEO SEPS ฉลองความสำเร็จโครงการ Waste Hero Education เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
—
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผ...
พิสมัย "หัวใจพอเพียง" จากผู้ต้องโทษ พลิกฟื้นผืนดิน เปลี่ยนชีวิต สร้างความสุขและพึ่งตนเองได้จาก "โคก หนอง นา"
—
นายวรนัฐ ติรประเสริฐสิน พัฒนาการจังหวัดฉะเช...
ม.พะเยา ต้อนรับ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา องคมนตรี ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียน บุคลากรและนักเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดพะเยา
—
วันพุธที่ 3...
เอสซีจี รับรางวัล UN Women 2022 Thailand WEPs Awards จากโครงการ "พลังชุมชน" สร้างอาชีพแก้จนกว่า 10,000 ราย
—
เอสซีจี โดย นางจันทนิดา สาริกะภูติ ผู้ช่วยผู...
ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา All For Education เน้นสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ในงาน "มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ประจำปี 2565"
—
"ในวันนี้รัฐบา...
"นายอำเภอหนองโดน-เจ้าอาวาสวัดโปร่งเก่า" ร่วมเปิดโครงการ "พลิกฟื้น คืนชีวิต ชาวนา
—
ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิ...
"ลุงป้อม"ชื่นชมโครงการแรงงานพันธุ์ดีฯ ช่วยลูกจ้าง นายจ้าง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองได้
—
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำทีมโรดโชว์นิทรรศการ...