นายพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า การชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างประเทศมาเลเซียและประเทศไทยสามารถทำได้แล้ว เกิดจากความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เชื่อมโยงระบบการชำระเงินรายย่อยแบบทันที ด้วยระบบ RPP/DuitNow ของประเทศมาเลเซีย และระบบพร้อมเพย์ ของไทย โดยมีธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นผู้ให้บริการรายแรกของประเทศไทย และคาดว่าในระยะต่อไปจะมีธนาคาร และผู้ให้บริการรายอื่น เข้าร่วมให้บริการเพิ่มเติม
"ธนาคารกลางทั้งสองประเทศต่างเห็นความสำคัญและร่วมกันผลักดันโรดแมปการเชื่อมโยงการชำระเงินในอาเซียน (ASEAN Payment Connectivity) ขอขอบคุณ ธปท.และธนาคารกลางมาเลเซียที่ให้ความไว้วางใจกลุ่มซีไอเอ็มบี และธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโรดแมปสำคัญนี้ และให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระดุล (Settlement Bank) พัฒนาระบบการชำระเงินระหว่างประเทศไทย - มาเลเซียในครั้งนี้ ด้วยศักยภาพของโครงข่ายระบบการชำระเงินของกลุ่ม CIMB และเครือข่ายอันแข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ และการปักธงก้าวเป็น 'a Digital-led with ASEAN Reach' ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย" นายพอล วอง กล่าว
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้แอปพลิเคชัน CIMB THAI Digital Banking ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ชำระค่าสินค้าและบริการ ที่ร้านค้าและร้านค้าออนไลน์ในประเทศมาเลเซีย โดยแอปได้รับการออกแบบมาให้ลูกค้าชำระเงินต่างสกุลแบบง่ายๆ เพียงสแกน QR ลูกค้าจะเห็นยอดชำระเป็นเงินสกุลริงกิต หลังจากนั้นแอปจะทำการแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลบาทให้ทันที เพื่อให้ลูกค้าทราบยอดที่ชัดเจนเป็นเงินบาทก่อนทำการชำระเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนยังถูกกว่าการใช้บัตรเครดิตอีกด้วย
ส่วนลูกค้าในประเทศมาเลเซียสามารถใช้แอปพลิเคชันบนมือถือสแกน Thai QR code เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ที่ร้านค้าและร้านค้าออนไลน์ในประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มให้บริการไตรมาส 4 ปี 2564
การสแกนจ่ายด้วย QR Code สะดวกสบาย ง่าย เร็ว ทั้งลูกค้าและร้านค้า จากสองประเทศ ฝั่งประชาชน ที่เดินทาง ท่องเที่ยว มีทางเลือกของการไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ประหยัดค่าธรรมเนียม และอัตราแลกเปลี่ยนถูกกว่าการใช้บัตรเครดิต และช่วยลดการพกพาเงินสด
สำหรับประโยชน์ฝั่งร้านค้า เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อ โดยเพิ่มทางเลือกรับเงินได้หลากหลายมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการขาย ขยายกลุ่มลูกค้า และลดภาระการเก็บเงินสดอีกด้วย
นายพอล วอง กล่าวว่า นับเป็นจังหวะที่ดีของการเตรียมพร้อม รองรับเศรษฐกิจของภูมิภาคที่จะกลับมาเปิดอีกครั้งหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าขายชายแดนไทย-มาเลเซีย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของทั้งสองประเทศ และเป็นก้าวสำคัญของการเชื่อมโยงการชำระเงินในอาเซียน (ASEAN Payment Connectivity) เพื่อส่งเสริมการบูรณาการทางการเงินในระดับภูมิภาคด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานบริการชำระเงินระหว่างประเทศ
บริษัท แรบบิท แคช จำกัด ผู้ให้บริการสินเชื่อออนไลน์ ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลิตภัณฑ์ "สินเชื่อแรบบิทแคชผ่อนตามใจ กระเป๋าเงินทุนออนไลน์" ตอบรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดอีคอมเมิร์ซไทย พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ง่าย ปลอดภัย เชื่อถือได้ ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ เสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพิ่มความคล่องตัวในการค้าขายและต่อยอดธุรกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานราก พร้อมดึง "เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น" แม่ค้าออนไลน์ตัวจริงเสียงจริงร่วมแคมเปญ เพื่อสร้าง
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
—
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณกา...
กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการณ์ร่วม 6 องค์กร ยืนยันภาคการเงิน-อุตสาหกรรม-ตลาดทุน ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว
—
กลุ่มงานสื่อสารองค์กรคปภ. แถลงการ...
PDPC ร่วมตำรวจ-ธปท. ทลายขบวนการใช้ข้อมูลบัตรเครดิตผิดกฎหมาย ยึดกว่า 3.3 ล้านรายการ
—
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC โดย พ.ต.อ....
"ซิตี้แบงก์" ชี้ ธปท. อาจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ในช่วงครึ่งหลังของปี หลังล่าสุดที่ประชุมกนง. มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2.0%
—
ซิตี้แบงก์ คาด ธนาค...
อยากกู้เงินด่วนออนไลน์ เลือกที่ไหนดี มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
—
ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างต้องรวดเร็วทันใจ การกู้เงินด่วนออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับคว...
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่องหนุน กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย
—
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแ...
"พร้อมเพย์" 8 ปีแห่งการพลิกโฉมระบบการเงินไทย ระบบที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนไทยอย่างแท้จริง
—
ย้อนกลับไปในปี 2559 "พร้อมเพย์" ได้ถือกำเนิดขึ้นในฐานะโครงสร้างพื้...