ผลการวิจัยเผยการศึกษาสำหรับผู้ปกครองช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กๆ มีชีวิตอยู่รอดได้มากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หนึ่งในงานวิจัยที่มุ่งเน้นเก็บข้อมูลเรื่องการศึกษาของบิดาและมารดา โดยพบว่าไม่ว่าจะเป็นการศึกษาของฝ่ายใด ก็สามารถการป้องกันการเสียชีวิตในเด็กได้

ผลการศึกษาใหม่ซึ่งจัดทำโดยนักวิจัยจากสถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และศูนย์วิจัยด้านความไม่เสมอภาคทางสาธารณสุขโลก (CHAIN) พบว่า ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของเด็กลดลง โดยแปรผกผันกับจำนวนปีที่ผู้ปกครองได้รับการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง (Parental education) ที่เพิ่มขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาสำหรับมารดา (Maternal Education) 1 ปีสามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีลงได้ 3% และเด็กที่เกิดจากมารดาที่ได้รับการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง 12 ปีมีโอกาสที่จะเสียชีวิตก่อนอายุ 5 ปีลดลงถึง 30% เมื่อเทียบกับเด็กที่เกิดกับมารดาที่ไม่ได้รับการศึกษามาก่อน ส่วนการศึกษาสำหรับบิดา 12 ปีสามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีได้ 17% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยได้รับการศึกษามาก่อน

Hunter York ผู้เขียนหลักของการศึกษานี้กล่าวว่า "งานวิจัยชิ้นนี้น่าตื่นเต้น เพราะเห็นได้ชัดถึงผลของการศึกษาทั่วทั้งภูมิภาคและระยะเวลาต่างๆ แม้ว่าหลักฐานนี้อาจไม่ใช่สาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่อยู่นอกเหนืออิทธิพลของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการศึกษาระดับต่ำ เช่นการสูบบุหรี่ หรือการแทรกแซงที่มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการอยู่รอดของเด็กโดยไม่คำนึงถึงระดับการศึกษาของผู้ปกครอง เช่น การวางแผนครอบครัวฟรี ทั้งหมดนี้เป็นกลไกสำคัญที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับสุขภาพเด็ก แต่ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการศึกษาในตัวมันเอง"

ผู้เขียนยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับบิดา ซึ่งมีการวิจัยน้อยกว่าการศึกษาสำหรับมารดาอย่างมาก

ศาสตราจารย์ Emmanuela Gakidou หนึ่งในผู้เขียนอาวุโสของการศึกษาฉบับนี้กล่าวว่า "แม้หลังจากควบคุมปัจจัยเรื่องการศึกษาของมารดาแล้ว แต่การศึกษาของบิดาก็ยังมีความสำคัญ การศึกษาส่วนใหญ่พิจารณาเฉพาะปีการศึกษาของมารดาเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาทั้ง 2 ประเภท และอย่ามองข้ามผลที่การศึกษาของบิดามีต่อการอยู่รอดของเด็ก"

การวิเคราะห์นี้รวมการศึกษามากกว่า 300 ผลการศึกษาจาก 92 ประเทศ ซึ่งรวบรวมจากการเกิดของเด็กกว่า 3 ล้านคน นักวิจัยพบว่า ผลในการป้องกันการเสียชีวิตที่เกิดจากการศึกษาสำหรับผู้ปกครองจะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นเมื่ออายุของเด็กๆ เพิ่มขึ้น แต่มีนัยสำคัญอย่างมากสำหรับกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี

  • สำหรับทารกแรกเกิด (0-27 วัน) ปีการศึกษาสำหรับมารดาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ 1.5% การศึกษาสำหรับบิดาในแต่ละปีลดความเสี่ยงได้ 1.1%
  • สำหรับทารก (1-11 เดือน) ปีการศึกษาสำหรับมารดาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ 3.7% การศึกษาของบิดาในแต่ละปีลดความเสี่ยงได้ 1.8%
  • สำหรับเด็กเล็ก (1-4 ปี) ปีการศึกษาสำหรับมารดาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ 4.4% การศึกษาของบิดาในแต่ละปีลดความเสี่ยงได้ 2.2%

ความสัมพันธ์นี้แสดงให้เห็นในทุกภูมิภาค แม้จะหลังจากที่ควบคุมปัจจัยเรื่องความมั่งคั่งหรือรายได้ ระดับการศึกษาของคู่ครอง และเพศของเด็กแล้ว

ศาสตราจารย์ Terje Andreas Eikemo หัวหน้า CHAIN กล่าวว่า "เราจำเป็นต้องลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กลงอีก และการลงทุนด้านการศึกษาอาจเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนี้ ถึงเวลาแล้วที่การศึกษาจะเป็นนโยบายสากลที่สำคัญในฐานะตัวกำหนดอัตราการอยู่รอดของเด็กทั่วโลก"

นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่า การศึกษาที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีซึ่งสัมพันธ์กับการอยู่รอดของเด็ก ให้ผลลัพธ์เดียวกันสำหรับช่วงการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งบ่งชี้ว่า การมุ่งเน้นเฉพาะการศึกษาเฉพาะระดับประถมศึกษา อาจทำให้พลาดโอกาสในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตที่อายุต่ำกว่า 5 ปีและโอกาสที่เด็กๆ จะมีชีวิตอยู่รอดได้มากที่สุด

Kam Sripada หนึ่งในผู้เขียนหลักของการศึกษากล่าวว่า "แม้ช่วงอายุจะแตกต่างกัน แต่การศึกษาและสุขภาพก็ยังคงเชื่อมโยงกัน การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับสากลจะต้องถูกให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรก ตั้งแต่ปีแรกๆ ในการเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งเพื่อสนับสนุนคนรุ่นปัจจุบันให้บรรลุศักยภาพ และเพื่อช่วยให้คนรุ่นต่อไปอยู่รอดและเจริญรุ่งเรือง"

การศึกษานี้ได้รับทุนจากสภาวิจัยแห่งนอร์เวย์, มูลนิธิ Bill & Melinda Gates และคณะกรรมาธิการจาก Rockefeller Foundation และ Boston University ด้านปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม ข้อมูล และการตัดสินใจ (3-D Commission)

ติดต่อ: [email protected]

เกี่ยวกับสถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ

สถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (IHME) คือองค์กรวิจัยอิสระด้านสุขภาพระดับโลก แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งทำหน้าที่ประเมินปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกอย่างแม่นยำและสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบได้ พร้อมทั้งประเมินกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการกับปัญหาเหล่านั้น สถาบัน IHME มีพันธกิจในด้านความโปร่งใสและการทำให้ข้อมูลเข้าถึงได้ในวงกว้าง เพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายมีหลักฐานประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรเพื่อยกระดับสุขภาพของประชากร

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1156878/IHME_Logo.jpg


ข่าวมหาวิทยาลัยวอชิงตัน+มหาวิทยาลัยวันนี้

โควิด-19 คร่าชีวิตราว 6.9 ล้านคนทั่วโลก มากกว่าตัวเลขทางการกว่า 2 เท่า

บทวิเคราะห์ใหม่จาก IHME พบยอดผู้เสียชีวิตที่แท้จริงจากโรคโควิด-19 บทวิเคราะห์ฉบับใหม่โดยสถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันพบว่า โรคโควิด-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 6.9 ล้านรายทั่วโลก ซึ่งมากกว่าตัวเลขของทางการกว่า 2 เท่า โดย IHME พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 ถูกรายงานให้ต่ำกว่าความจริงอย่างมีนัยสำคัญในแทบทุกประเทศ ซึ่งจากการวิเคราะห์ที่ปรับปรุงใหม่พบว่า สหรัฐมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จนถึงปัจจุบันมากกว่าประเทศอื่น

IHME เผยคาดการณ์สถานการณ์โควิด-19 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน คาดยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกทะลุ 3.5 ล้านราย

การฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็วและการสวมหน้ากากเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยควบคุมการแพร่ระบาด สถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน คาดการณ์ว่า จำนวนผู้...

ครั้งแรกของโลกกับการคาดการณ์การเสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นรายประเทศจนถึงสิ้นปีนี้

IHME จัดงานแถลงข่าวในเวลา 11.00 น. (ตะวันออก) ของวันศุกร์ที่ 4 กันยายน สถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน แถลงข่าวเรื่องการคาดการณ์สถานการณ์โรคโควิด-19...

IHME เผยตัวเลขประมาณการโควิด-19 เป็นครั้งแรกของโลก คาดระหว่างนี้จนถึง 1 มกราคมอาจช่วยได้เกือบ 770,000 ชีวิต

มีการคาดการณ์ว่าเดือนธันวาคมเป็นเดือนมรณะ หรือ 'Deadly December’ ซึ่งจะมีผู้เสียชีวิตเกือบ 30,000 รายในแต่ละวัน เมื่อลมหนาวเยือนซีกโลกเหนืออีกครั้ง ในการคาดการณ์สถานการณ์โรคโควิด-19 รายประเทศ...

อิทธิพล คุณปลื้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระท... ภาพข่าว: ดิ เอมเมอรัลด์ต้อนรับผู้ช่วยรมต.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา — อิทธิพล คุณปลื้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เกียรติมาเป็นปร...

มหาวิทยาลัยวอชิงตันทัศนศึกษาดูงานภายใต้การดูแลของมูลนิธิ EDF

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (มูลนิธิ EDF) จัดทัศนศึกษาภายใต้โครงการ University of Washington Exploration Seminar 2015 ขึ้น โดยมีคณาจารย์ และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย นำโดยดร.แสงจันทร์ รุ่ง...

ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวอชิงตัน...ห้ามพลาด

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวอชิงตัน (ประเทศไทย) และนายสุรพล ขวัญใจธัญญา รองประธานกรรมการบริหาร บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ขอเรียนเชิญศิษย์เก่าทุกท่านร่วมงานสังสรรค์ประจำปี ณ ห้องหรรษา ชั้น 8 โรงแรมหรรษา ในวัน...

ภาพข่าว: คณะนักศึกษาพยาบาลอเมริกันดูงานมูลนิธิ EDF

นายสรรเพชร นิลรัตน์ กรรมการผู้จัดการ (แถวยืน ที่ 4 จากขวา) มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (มูลนิธิ EDF) และ นางสาวจารุรัตน์ บุษมาลี (แถวยืนหลัง – ซ้ายสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการ มูลนิธิ EDF ...

ภาพข่าว: เหมราชฯ ต้อนรับนักศึกษาจากวอชิงตัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางสาวจิณณพัต ทองวิเศษกุล (แถวหน้า ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์โครงการที่พักอาศัย บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนให้การต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาภาควิชาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน...