นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินแผนงบประมาณสหรัฐฯ เน้นการจ้างงาน และช่วยผู้มีรายได้น้อย เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย โจ ไบเดน เปิดเผยรายละเอียดของแผนงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2565 (เริ่มต้นเดือน ต.ค. 2564) โดยมีนโยบายหลักสองด้าน คือ 1) สวัสดิการสำหรับครอบครัวชาวอเมริกัน (American Families Plan) วงเงิน 1.8 ล้านล้านเหรียญฯ เน้นสนับสุนนการศึกษา ลดหย่อนภาษีสำหรับครอบครัวผู้มีบุตร แรงงาน และผู้มีรายได้น้อย รวมไปถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข 2) กระตุ้นการจ้างงาน (American Job Plan) วงเงิน 2.3 ล้านล้านเหรียญฯ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างงาน สร้างรายได้ และ 3) งบประมาณที่รัฐสภาอนุมัติให้เป็นรายปี (Discretionary Budget) วงเงิน 1.5 ล้านล้านเหรียญฯ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกจัดสรรไปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงประมาณ 7.54 แสนล้านเหรียญฯ ประกอบด้วย Cybersecurity, โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี, โครงการเพื่อยับยั้งจีนและรัสเซีย เน้นการ R&D เพื่อความมั่นคง, พัฒนาขีดความสามารถของอาวุธยุทโธปกรณ์ด้านต่างๆ และช่วยเหลือครอบครัวทหาร ในขณะเดียวกันก็ยืนยันแผนปรับขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 21% เป็น 28% รวมถึงกลุ่มผู้มีรายได้สูง
หากดูในรายละเอียดจะพบว่าแผนงบประมาณฉบับใหม่นี้ มีหลายด้านที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากยุคของ โดนัล ทรัปม์ นำโดย ด้านการศึกษา การค้า ด้านสาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อม (เพิ่มขึ้น +40.9%, +29.4%,+23.4% และ +21.6% ตามลำดับ) ส่วนประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ พบว่า อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 5.5% และ 4.1% ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ และอัตราเงินเฟ้อ (CPI) อยู่ที่ระดับ 2.1% ในปี 2564-2565 และทรงตัวระดับต่ำกว่า 2.3% ต่อเนื่องในระยะ 10 ปี ข้างหน้า
สิ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากแผนงบประมาณนี้ คือ 1) ตอกย้ำนโยบายที่มุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำ 2) การให้ความสำคัญของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3) การให้ความสำคัญของนโยบายต่างประเทศ ซึ่งอาจหมายถึงความตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะกับจีนและรัสเซีย 4) ให้น้ำหนักกระตุ้นภาคแรงงานที่ยังฟื้นตัวช้า มากกว่า ความกังวลต่อเงินเฟ้อพุ่งแรงเกินไป จากนโยบายที่ยังเน้นการจ้างงาน และประมาณการณ์เงินเฟ้อในระดับที่ควบคุมได้ในระยะยาว (อย่างไรก็ตามประมาณการณ์เศรษฐกิจนี้ ทำเมื่อเดือน ก.พ. ก่อนที่จะเห็นตัวเลขเดือน เม.ย. +4.2%)
แผนงบประมาณนี้แม้จะมีรายละเอียอดส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ตลาดรับรู้อยู่แล้ว แต่ถือเป็นการตอกย้ำภาพเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มวัฎจักรในระยะยาวที่จะค่อยๆฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศที่ดีต่อเนื่อง (BANKING: KBANK, ENERG&PETRO: PTTEP TOP IRPC, CONMAT: EPG, LOGISTICS: WICE,)
คำชี้แจงสำคัญ : บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) อาจมีธุรกรรมร่วมกับ บมจ.ไวส์ โลจิสติกส์ (WICE)
หุ้น Top Picks
Banking KBANK - แนวโน้มกำไรปี 2564-65 น่าจะขยายตัว 8-11% จากต้นทุนสินเชื่อที่ต่ำกว่าคาดและการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นในไตรมาส 1/64 - คุณภาพสินทรัพย์น่าจะดีต่อเนื่องจาก 1Q64 ที่ออกมาดีกว่าตลาดคาด - ปัจจุบันซื้อขายที่ PBV ไม่แพงระดับ 0.63 เท่า
Energy & Petro PTTEP - แนวโน้มราคาก๊าซผ่านพ้นจุดต่ำสุด ประเมินภาพในระยะยาวขยายตัวเฉลี่ย +3% CAGR ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว - โอกาสการควบรวมกิจการเพิ่มเติมยังเปิดกว้างจากสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท TOP - ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวเร็วกว่าคาดหนุน Demand การท่องเที่ยว เดินทาง เป็นบวกต่อน้ำมัน Jet ให้เข้าสู่จุดฟื้นตัว - ส่วนต่างผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ตามภาคการผลิตของสหรัฐฯที่ขยายตัวเด่น IRPC - แนวโน้มธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ รน่าจะโดดเด่นต่อเนื่องในปี 64 โดยเฉพาะธุรกิจ ABS ที่ได้แรงหนุนด้านอุปทาน กำลังการผลิตทั่วโลกลดลงประมาณ 10%ทั่วโลก เช่นเดียวกับ PP ที่ส่วนต่างผลิตภัณฑ์ยังทรงตัวในระดับสูง ตามภาวะอุปทานที่ตึงตัวในสหรัฐฯและเอเชียเหนือ
Conmat EPG - แนวโน้มกำไรปี 2563/64 (งวดสิ้นสุด มี.ค. 64) เติบโต +25% และ ปี 2564/65 เติบโต +17% จากธุรกิจอุปกรณ์ชิ้นส่วนและตกแต่งรถยนต์ ที่เติบโตตามอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งในต่างประเทศและในประเทศ - ธุรกิจฉนวนยางกันความร้อนและเย็น ดีต่อเนื่องจากจากตลาดสหรัฐฯฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง
Logistics WICE - แนวโน้มกำไรใน 2Q64 มีโอกาสทำสถิติใหม่ไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน จากอุปสงค์ที่ยังแข็งแกร่ง และดีต่อเนื่องในระยะยาว คาด EPS ปี 64 ขยายตัวที่ระดับ 45.4% YoY - โครงสร้างของอัตรากำไรขั้นต้นที่จะยืนอยู่ในระดับสูง คาดในปี 64 อยู่ที่ระดับ 16%
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ให้ความเห็นว่า จากบทสรุปการประชุม FOMC เดือน ก.ย. ในวันที่ 21-22 ก.ย. ที่ผ่านมา แม้ว่านาย Jerome Powell ประธาน FED จะยังไม่ระบุจุดเริ่มต้นการลดขนาด QE (QE Tapering) แต่ในทางกลับกันมีการส่งสัญญาณว่าการลดขนาด QE จะสิ้นสุดลงประมาณกลางปี 2566 ซึ่งหากพิจารณาจากวงเงินการซื้อสินทรัพย์ที่ระดับ 1.2 แสนล้านเหรียญฯ (แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 8 หมื่นล้านเหรียญฯ และ MBS 4 หมื่นล้านเหรียญฯ)
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเมินผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย เมื่อ ECB มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
—
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์...
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง จัดสัมมนา WORLD WIDE WEALTH ให้แก่ลูกค้า Investment Management
—
นายอารภัฏ สังขรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นางสาวปนัดดา ตัณฑ...
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง รับรางวัล Best Capital Markets Brokerage South East Asia 2021
—
บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้รับรางวัล "Best Capital ...
กลุ่ม Maybank Kim Eng จัดสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน
—
กลุ่ม Maybank Kim Eng เดินหน้าจัดงานสัมมนา Invest AS...
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง จัดงาน Happy Retirement แด่ คุณมนตรี ศรไพศาล
—
ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการ, นายอารภัฏ สังขรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด...
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เปิดตัวบริการใหม่ Investment Management บริการวางแผนการลงทุนและจัดพอร์ตให้แก่ลูกค้า
—
บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดต...
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเมิน FOMC ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น และอานิสงค์ของแถลงการเปิดประเทศใน 120 วัน
—
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค ...
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง คัดสรรหุ้นที่คาดแนวโน้มทำกำไรขยายตัวได้โดดเด่นในช่วง 2Q64
—
นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ป...