การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำลังขับเคลื่อนวิธีคิดที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลักในเรื่องบริการทางการเงิน
ผลสำรวจธนาคารดิจิทัลประจำปี 2564 ของ FICO แสดงให้เห็นว่า ชาวไทยคาดหวัง ที่จะได้รับประสบการณ์ใช้บริการทางธนาคารที่ราบรื่นเมื่อเปิดบัญชีธนาคารผ่านแอปมือถือหรือเว็บไซต์ โดยคนไทย 1 ใน 2 คาดหวัง ที่จะต้องตอบคำถามไม่เกิน 10 ข้อ มิเช่นนั้นจะเลิกสมัครไปเลย ขณะที่คนไทย 1 ใน 5 จะเลิกสมัครหากต้องตอบคำถามเกิน 5 ข้อ
"การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำลังขับเคลื่อนวิธีคิดที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลักในไทย โดยผู้บริโภค 66% มีแนวโน้มเปิดบัญชีทางระบบดิจิทัลมากกว่าปีที่ผ่านมา" คุณ Aashish Sharma ผู้อำนวยการบริหารระดับอาวุโสด้านโซลูชันการตัดสินใจ ของ FICO ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว "จำนวนผู้บริโภคที่ต้องการเปิดบัญชีธนาคารทางดิจิทัลนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 44% และยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างยิ่งในประเทศที่นิยมใช้บริการที่สาขาเป็นส่วนใหญ่"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://www.fico.com/en/solutions/account-opening
เปลี่ยนอุปสรรคเป็นพลังกระตุ้น
ผลสำรวจพบว่า ความอดทนของผู้บริโภคในการสมัครบัญชีนั้นแตกต่างกันตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ คนไทยมีความคาดหวังมากที่สุดในการสมัครบัญชีให้สำเร็จโดยตอบคำถามไม่เกิน 10 ข้อสำหรับบัญชีเงินฝาก (62%) บัญชีรองรับการทำธุรกรรม (58%) และผลิตภัณฑ์ Buy Now Pay Later (55%)
สิ่งที่น่าสนใจคือความคาดหวังที่ว่านี้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในการสำรวจอย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรเพียง 41% และผู้บริโภคชาวออสเตรเลียเพียง 51% หวังที่จะต้องตอบคำถามไม่เกิน 10 ข้อเมื่อเปิดบัญชีซื้อขาย
ในภาพรวมนั้น ผู้บริโภคชาวไทยต้องการประสบการณ์ดิจิทัลที่ลดอุปสรรคและความไม่สะดวกสบาย พวกเขาคาดหวังว่าธนาคารที่ใช้บริการเป็นประจำต้องรู้จักพวกเขาอยู่แล้ว โดย 85% ต้องการพิสูจน์อัตลักษณ์ของตนเองทางระบบออนไลน์ และคนไทย 25% เปิดเผยว่าสถาบันการเงินถามคำถามมากเกินไป
"อย่างที่เขาพูดกันว่า ที่ใดมีอุปสรรค ที่นั่นย่อมมีโอกาส" คุณ Sharma กล่าว "ถ้าวันนี้คุณไม่ได้แก้ไขปัญหาให้ลูกค้า วันพรุ่งนี้คู่แข่งก็จะทำ ผู้บริโภคต้องการให้ธนาคารใช้เทคโนโลยีหาคำตอบให้กับคำถามในการสมัครใช้งานผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงกลไกตรวจสอบอัตลักษณ์ การวิเคราะห์ประวัติการทำธุรกรรม ฐานข้อมูลบริการธนาคารและฐานข้อมูลรัฐบาลแบบเปิด"
การสมัครสินเชื่อจำนองควรตรวจสอบให้ละเอียดกว่าเดิม
ผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคยอมให้มีอุปสรรคและความปลอดภัยมากขึ้น ในการสมัครและให้ข้อมูลต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์การเงินที่มี มูลค่าสูงบางประเภท
แม้ผู้บริโภคคาดหวัง ให้การสมัครใช้งานผลิตภัณฑ์ทางการเงินออนไลน์ในแต่ละวันต้องมีความสะดวกง่ายดายให้มาก ๆ เข้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีกระแสรายวัน บัญชีเงินฝาก เงินกู้ และบัตรเครดิต แต่ลูกค้ากว่าครึ่งหนึ่ง (61%) ในการสำรวจ คาดหวังว่าการสมัครสินเชื่อจำนองควรจะมีการตรวจสอบเข้มงวดยิ่งขึ้น
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีคนไทยเพียง 27% ที่ยินดีสมัครสินเชื่อจำนองทางออนไลน์ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในการสำรวจที่ราว 1 ใน 3 (34%) โดยทุกประเทศยกเว้นสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร การสมัครใช้บริการในสาขาเป็นที่นิยมมากกว่าออนไลน์ ขณะที่แอฟริกาใต้นั้นแตกต่างจากประเทศอื่น เนื่องจากมีลูกค้านิยมสมัครสินเชื่อจำนองออนไลน์ถึง 43%
คนไทยเกือบ 1 ใน 2 (48%) ในการสำรวจ ยินดีตอบคำถาม 11-20 ข้อหรือมากกว่านั้นในการสมัครสินเชื่อทางออนไลน์
อย่าเปลี่ยนช่องทาง
คนไทยที่เปิดบัญชีออนไลน์ต้องการดำเนินขั้นตอนอื่น ๆ ทั้งหมดในช่องทางที่เลือกไว้ ไม่ว่าจะผ่านสมาร์ทโฟนหรือเว็บไซต์ หากลูกค้าต้องเปลี่ยนช่องทางเพื่อพิสูจน์อัตลักษณ์ของตนเอง ลูกค้าหลายคนจะเลิกสมัคร ไม่ว่าจะเลิกสมัครเปิดบัญชีไปเลยหรือไม่ก็ไปสมัครกับคู่แข่งแทน ส่วนในจำนวนลูกค้าที่ไม่ได้เลิกสมัครทันทีนั้น ลูกค้าอีก 20% จะยืดเวลาดำเนินการออกไป
ผลสำรวจพบว่าอุปสรรคทุกรูปแบบมีความสำคัญ การขอให้ผู้ใช้สแกนและส่งเอกสารทางอีเมล หรือใช้ช่องทางอื่นในการพิสูจน์ตัวตนนั้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเลิกสมัครใช้บริการได้แทบจะพอ ๆ กับขอให้ไปที่สาขาหรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์
แบบสำรวจนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2564 โดยบริษัทวิจัยอิสระรายหนึ่งและยึดตามมาตรฐานวงการวิจัย จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ชาวไทย 1,000 คน รวมถึงผู้บริโภค 13,000 รายในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บราซิล โคลอมเบีย และเม็กซิโก
FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1623956/TH_infographic.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/450763/FICO_Logo.jpg
ในปี 2024 จำนวนการโจมตีด้วยโทรจันแบงเกอร์บนสมาร์ทโฟนพุ่งสูงขึ้น 196% เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามรายงานของ แคสเปอร์สกี้เรื่อง "The mobile malware threat landscape in 2024" ที่เผยแพร่ในงาน Mobile World Congress 2025 ที่เมืองบาร์เซโลนา อาชญากรไซเบอร์กำลังเปลี่ยนกลยุทธ์โดยอาศัยการแพร่กระจายมัลแวร์จำนวนมากเพื่อขโมยข้อมูลตัวตนสำหรับบริการธนาคารออนไลน์ โดยแคสเปอร์สกี้ตรวจพบการโจมตีด้วยมัลแวร์ประเภทต่างๆ และซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องการต่อผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากกว่า 33.3 ล้านครั้งทั่วโลก จำนวนการโจมตีด้วยโทรจันแบง
fintips by ttb ชวนไขข้อสงสัย เปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ปลอดภัยแค่ไหน
—
การทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เคยต้องเดินทางไปทำธุ...
แคสเปอร์สกี้ตรวจพบฟิชชิ่งการเงินมากกว่า 1.6 ล้านรายการในอาเซียน - 1.2 แสนรายการในไทย
—
การระบาดครั้งใหญ่ได้เร่งการใช้งานดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉีย...
บริการธนาคารออนไลน์เพื่อธุรกิจ BizChannel@CIMB Mobile App จากธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้า 3 รางวัล จากเวที Digital CX Awards 2021
—
นายไพศาล ธรรมโพธิทอง ผ...
ทีเอ็มบี มอบโชคขอบคุณลูกค้า เพียงใช้แอป TOUCH ลุ้นรางวัลคะแนน WOW สูงสุด 10,000 คะแนน มูลค่ารวม 1.2 ล้านบาท ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2563
—
ทีเอ็มบี มอบ...
แอปฯ ทีเอ็มบี ทัช เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าทีเอ็มบีจ่ายบิลสินเชื่อและบัตรเครดิตธนชาตได้แล้ววันนี้
—
แอปฯ ทีเอ็มบี ทัช เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าทีเอ็มบีจ่ายบิล...
แอป “ทีเอ็มบี ทัช” พัฒนาบริการ “ถอนเงินสดไม่ใช้บัตร”
—
แอป “ทีเอ็มบี ทัช” พัฒนาบริการ “ถอนเงินสดไม่ใช้บัตร” ให้สะดวกยิ่งขึ้นไม่มีบัตรเดบิต หรือไม่อยากไปสา...
ที่สุดแห่งนวัตกรรม ธนาคารออนไลน์ เพื่อลูกค้าธุรกิจ TMB Business CLICK ครบ จบทุกธุรกรรมในแพลตฟอร์มเดียว
—
ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมเค...