รู้จัก ลองโควิด (Long COVID) อาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

รู้จัก ลองโควิด (Long COVID) อาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19 

รู้จัก ลองโควิด (Long COVID) อาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19

ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post Covid-19 Syndrome คือภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ คือเชื้อโควิดหายจากร่างกายไปแล้วแต่บางอาการกลับไม่หายไปด้วย

อาการลองโควิดจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน เป็นอาการที่ไม่มีลักษณะตายตัวสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วโดยฉะเพราะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง

บีบีซีอ้างข้อมูลของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (National Health Service: NHS) รายงานว่า Long Covid เป็นอาการเรื้อรังที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 สัปดาห์ มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-49 ปี และอายุระหว่าง 50-69 ปี ร้อยละ 20 ผู้ป่วยจะเข้าข่ายนี้ หลังจากรับเชื้อไปแล้ว 5 สัปดาห์

กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Long COVID

  • ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน
  • เพศหญิงมีความเสี่ยงกว่าเพศชาย

อาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด-19

  • เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ
  • กล้ามเนื้อไม่มีแรง
  • ไอเรื้อรัง
  • การรับรสและได้กลิ่นผิดปกติ
  • รู้สึกเหมือนมีไข้
  • ปวดศีรษะ มึนศีรษะ
  • นอนไม่หลับ
  • ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ
  • มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด
  • ใจสั่น แน่นหน้าอก
  • ท้องเสีย ท้องอืด

ภาวะลองโควิดยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดแต่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายและจิตใจของผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ได้ จึงแนะนำให้หมั่นสังเกตและประเมินร่างกายตัวเองอยู่เสมอหลังจากหายป่วย หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจประเมินสภาพร่างกายรับการรักษาและวางแผน การฟื้นฟูร่างกายที่เหมาะสม เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นระยะยาวและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และหากปล่อยไว้นานก็อาจเป็นอันตรายได้

** ผู้ที่หายจากโควิด-19นอกจากการหมั่นสังเกตความผิดปกติแล้ว การตรวจร่างกายเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้รู้ทันความผิดปกติที่เกิดขึ้นและสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม

"การตรวจเช็คแต่เนื่นๆ หากพบความผิดปกติที่สามารถแก้ไขหรือรักษาได้ ก็จะช่วยให้ระยะเวลาที่มีความผิดปกตินั้นสั้นลง หรือโอกาสที่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้มีสูงขึ้น"


ข่าวระบบทางเดินอาหาร+ไม่หายไปวันนี้

รพ.เมดพาร์ค ชูแคมเปญใหม่ ชวนประชาชน ตรวจคัดกรองมะเร็งระบบทางอาหาร

โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Healthy, Stay Safe from Cancer" ชวนประชาชนตรวจคัดกรองสุขภาพในเดือนพฤษภาคม เพิ่มระยะห่างจากโรคมะเร็งร้าย โดยเฉพาะ "มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก" หนึ่งในโรคที่มีแนวโน้มพบมากขึ้นในประชากรไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค แนะนำให้มีการเฝ้าระวังโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อย่างใกล้ชิด เนื่องจากระยะเริ่มต้นของโรคนี้มักไม่แสดงอาการชัดเจน และคนทั่วไปมักละเลยการตรวจสุขภาพในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการส่องกล้องตรวจระบบทาง

เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหา... เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่ — เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...

พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต... โรต้าไวรัสโรคฮิต.. ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก — พญ.นฤภร ต่อศิริสุข กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม คลินิกเด็ก ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว...

หน้าหนาวแบบนี้ มีโรคใหม่กำลังระบาดอีกแล้ว... รู้ทันสัญญาณอันตราย "โนโรไวรัส (Norovirus)" — หน้าหนาวแบบนี้ มีโรคใหม่กำลังระบาดอีกแล้ว!! นั่นก็คือ "โนโรไวรัส" มักเกิดขึ้นในเด็ก ซึ่งตอนนี้มีเด็ก ๆ ติด...

ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใคร... ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง? — ระวัง! "โนโรไวรัส" ระบาดหนักหน้าหนาว! ใครบ้างที่เสี่ยง? จากข่าว "โนโรไวรัส" ที่กำลังระบาดในหลายพ...