กรมปศุสัตว์ ยกระดับการขยายพันธุ์ดีด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ สู่เกษตรกรด้วยวิธีการย้ายฝากตัวอ่อน ซึ่งปัจจุบันกรมปศุสัตว์มีความพร้อม ทั้งด้านเครื่องมือและห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีด้านตัวอ่อน และการย้ายฝากตัวอ่อนที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ทำให้การผลิตตัวอ่อนแพะที่มีคุณภาพ และกระจายแพะสายพันธุ์ดี สู่เกษตรกรทั่วประเทศไทยและเกิดการปรับปรุงพันธุ์แพะได้วงกว้าง เนื่องจากแพะที่เกิดจากการย้ายฝากตัวอ่อน จะไม่ได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรม จากแพะแม่ตัวรับที่อุ้มทอง แต่จะมีพันธุกรรมชั้นดีจากพ่อแม่พันธุ์ที่ได้คัดเลือกเท่านั้น ทำให้มีอัตราเจริญเติบโตที่ดี สุขภาพแข็งแรง ให้ผลผลิตที่ดีตามสายพันธุ์ ปลอดจากโรคติดต่อ ช่วยย่นระยะเวลาการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จากผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูป ลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศ ปัจจุบันกรมปศุสัตว์มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประกอบด้วยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ การย้ายฝากตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์สัตว์ และศูนย์การวิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอีก 10 แห่ง ครอบคลุมในทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยพร้อมให้บริการ ผู้ที่สนใจสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยการผสเทียมใกล้บ้านท่าน
กรมปศุสัตว์ ใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาพันธุ์สัตว์ โดยวิธีการย้ายฝากตัวอ่อน ซึ่งเป็นการนำตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่างตัวอสุจิของพ่อพันธุ์และไข่ของแม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แล้วเก็บออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ต่อจากนั้น นำไปฝากใส่ไว้ให้เติบโต ในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่งจนคลอด หรือที่เรียกว่าอุ้มบุญ ซึ่งปัจจุบันกรมปศุสัตว์โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ได้นำเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อนนี้ มาให้บริการในฟาร์มเกษตรกรเครือข่ายของกรมปศุสัตว์โดยทำได้ทั้งในโคนม โคเนื้อ กระบือ
MEDEZE ต้อนรับคณะผู้บริหาร ABRM ร่วมหารือความร่วมมือยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์
—
นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำก...
กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์
—
นายภัสชญภณ ...
"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการหมักแบบแม่นยำ
—
"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการ...
มจธ. คิดค้น "นวัตกรรมการผลิตซิลิกาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ" ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง พร้อมพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย
—
นักวิจัย มจธ.พัฒนากระบวนการผลิต ไบโอซิลิกา (Biosili...
สวทช. และ กองทัพเรือ โดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ร่วมวิจัยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง หนุนนโยบาย Green Navy ด้วยนวัตกรรมสะอาด
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...