ในขณะที่โรค COVID-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และด้วยปัญหาอุทกภัยที่กำลังถาโถมอยู่ในขณะนี้สิ่งที่น่าวิตกไม่แพ้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 คือโรคที่มากับฤดูฝน ซึ่งโรคที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเกษตรกรรม ซึ่งต้องอาศัยดินและน้ำในการทำการเกษตร คือ "โรคติดเชื้อเมลิออยโดสิส" หรือ "โรคไข้ดิน" เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคอาศัยอยู่ในดิน
ประเทศไทย แม้กำลังมุ่งสู่การเป็นประเทศนวัตกรรม แต่ในปัจจุบันก็ยังนับเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมักพบโรคติดเชื้อเมลิออยโดสิสทางภาคอีสาน ซึ่งร้อยละ 40 ของผู้ป่วยมักเสียชีวิต และที่สำคัญยังไม่มีวัคซีนใดๆ ใช้ป้องกัน
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทุ่มเทเวลากว่า 3 ทศวรรษในการทำงานวิจัยเพื่อค้นหาวิธีวินิจฉัย ป้องกัน และลดการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อเมลิออยโดสิส จนสามารถคิดค้นและพัฒนา "ชุดตรวจแอนติบอดีอย่างง่ายเพื่อวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิสได้รวดเร็ว" (Point-of-care test for rapid serological diagnosis of melioidosis)
ซึ่งเป็นชุดตรวจแอนติบอดีที่มีรูปแบบคล้าย ATK ที่ใช้ตรวจเลือด โดยบุคลากรทางการแพทย์ ที่สามารถบอกผลการตรวจทั้งบวกและลบด้วยการอ่านสีด้วยตาเปล่า โดยได้ยื่นจดสิทธิบัตร และต่อยอดสู่ภาคธุรกิจ ดำเนินการโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล จำหน่ายแล้วทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งจากการทดสอบยืนยันแล้วว่าเป็นชุดตรวจที่ให้ผลแม่นยำมาตรฐานระดับโลก
แม้ที่ผ่านมา ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่พบการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อเมลิออยโดสิสในอัตราที่สูงมาก แต่ก็ยังไม่ได้มีความตระหนักในปัญหาดังกล่าวกันเท่าที่ควร และด้วยความมุ่งมั่นที่จะร่วมผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลก จากการเป็นผู้นำในการศึกษาวิจัยค้นหาวิธีวินิจฉัย ป้องกัน และลดการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อเมลิออยโดสิส นอกเหนือจากการเป็นผู้นำวิจัยโรคเขตร้อนต่างๆ เช่น ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก แห่งภูมิภาคเอเชีย ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ รองศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ ยังคงทำงานต่อยอดการศึกษาวิจัยโรคติดเชื้อเมลิออยโดสิสอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาโทและเอกภายใต้โครงการวิจัยดังกล่าวถึงปัจจุบันมาแล้วกว่า 30 ราย และเมื่อเร็วๆ นี้ด้วยผลงานวิจัยอันโดดเด่นของ รองศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ยังส่งผลให้สามารถคว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2563 ประเภทดีเด่นเฉพาะทาง สาขาการวิจัย มาได้อย่างภาคภูมิ
รองศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ ได้กล่าวฝากนักวิจัยรุ่นหลัง ถึงหลักการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จโดยให้มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ และประโยชน์เพื่อประชาชนเป็นที่ตั้งนอกจากนี้ ยังได้แสดงความห่วงใยต่อประชาชนคนไทยในพื้นที่ประสบอุทกภัยว่า นอกจากควรเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัส COVID-19 แล้ว ยังควรเฝ้าระวังไม่ให้ติดเชื้อเมลิออยโดสิสที่มากับดินและน้ำด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคCOVID-19 ที่ติดเชื้อเมลิออยโดสิสด้วย จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากขึ้น สามารถป้องกันได้โดยการใส่รองเท้าบูทกันน้ำ รักษาความสะอาดร่างกาย และล้างมือตลอดจนใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ทั้งจากการหายใจ และการสัมผัส เช่นเดียวกับ COVID-19 ซึ่งหากพบอาการผิดปกติ เช่น เป็นฝี หนองไอ หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุควรรีบพบแพทย์
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เดินหน้านโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก โปร่งใส" สั่งการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เป็นศูนย์กลางการบริการทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งมีศูนย์บริการที่สำคัญเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ เตรียมการรองรับปัญหาอุทกภัยด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติให้เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์
EXIM BANK ออกมาตรการ "เพิ่มทุน-ลดภาระ-ขยายระยะเวลา" ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคใต้
—
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อก...
หมูเด้งนำทีม! ชวนซื้อข้าวล่วงหน้า เพื่อช่วยชาวนาที่ประสบภัยน้ำท่วม ร่วมสนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์ง่าย ๆ ตั้งแต่วันนี้ - 20 ธันวาคม 2567
—
จากปัญหาอุทกภัยในพื...
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 25 "แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room" นวัตกรรมทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย
—
จุฬาลงกรณ์ม...
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 25 "แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room" นวัตกรรมทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย
—
จุฬาลงกรณ์ม...
KGI ปันน้ำใจร่วมบริจาคสิ่งของที่จำเป็นช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
—
นางนันทรัตน์ สุรักขกะ (ที่ 2 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสนับสนุนสำนักกรรมการอำนวยกา...
"เอกนัฏ" สั่งการ "ดีพร้อม" ส่ง 3 มาตรการช่วยผู้ประกอบการหลังน้ำท่วม เยียวยาเร่งด่วน-สนับสนุนเงินทุน-แผนรับมืออุทกภัยในอนาคต
—
กรุงเทพฯ 22 กันยายน 2567 นาย...
บริษัท แมทเทรส ซิตี้ ร่วมเป็นหนึ่งในน้ำใจคนไทย ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สาขาจังหวัดแพร่
—
จากเหตุการณ์ร่องมรสุมพาดผ่าน...
กรมพัฒนาที่ดิน ห่วงพี่น้องเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือ ผนึกกำลังช่วยเหลือ พร้อมฟื้นฟูดินพื้นที่การเกษตร หลังน้ำลด
—
พด. เดินหน้าเร่งให้ความช่วยเหลือเกษต...