นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนเมษายนจากสภาพอากาศร้อนในตอนกลางวัน มีฝนตกและลมแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรที่ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม ขอให้เฝ้าระวังการเข้าทำลายของ ด้วงหมัดผัก โดยตัวอ่อนด้วงหมัดผักจะกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้น หรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉา และไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ อาจจะทำให้พืชผักตายได้ โดยตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลีบดอกด้วย
วิธีลดการระบาดของด้วงหมัดผักให้ใช้วิธีเขตกรรม โดยไถตากดินไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อน และดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน ใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae อัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นหรือราดลงดินก่อนปลูกหลังการให้น้ำ และพ่นทุก 7 วันหลังปลูก ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรฟีโนฟอส 50% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กล่าวว่า นอกจากด้วงหมัดผักแล้วยังต้องเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ผัก โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวกะหล่ำ การเข้าทำลายมักเกิดเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ และมักแพร่ระบาดได้รวดเร็วตลอดปี การป้องกันกำจัด
ให้ใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้และลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุ์ของหนอนกระทู้ผัก และใช้วิธีกลโดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายซึ่งจะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis (Bt) อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (WDG, WG, WP) หรือ 60-100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (SC) พ่นทุก 3-5 วัน เมื่อพบการระบาด หากมีการระบาดรุนแรงให้พ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นพ่นทุก 5 วัน จนกระทั่งหนอนลดปริมาณการระบาดใช้ชีวภัณฑ์เอ็นพีวีหนอนกระทู้ผัก อัตรา 40-50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็กจะให้ผลในการควบคุมได้รวดเร็วกรณีหนอนระบาดรุนแรงพ่นอัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ติดต่อกัน 2 ครั้ง ทุก 4 วัน หากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีให้ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพตามคำแนะนำ เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาด
นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ถั่วเหลืองอยู่ในระหว่างการเจริญเติบโตของลำต้น ขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการทำลายของหนอนกระทู้ผัก ซึ่งจะเข้าทำลายตั้งแต่ถั่วเหลืองเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ จนถึงระยะออกดอกและติดฝัก หนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะผิวใบด้านล่าง ทำให้เหลือแต่เส้นใบ เมื่อผิวใบแห้งจะมองเห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะแยกกลุ่มออกไปกัดกินใบทั่วทั้งแปลง โดยหนอนจะกัดกินจากขอบใบเข้าไป เมื่อพบการระบาดแนะนำให้พ่น
เตือนชาวสวนลำไยช่วงติดผลให้ระวังหนอนเจาะขั้วผลและราน้ำฝนทำลายผลผลิต
—
เตือนชาวสวนลำไยช่วงติดผลให้ระวังหนอนเจาะขั้วผลและราน้ำฝนทำลายผลผลิต นายศรุต สุทธิอาร...
เตือนภัยพริกเฝ้าระวังแมลงวันทองและโรคกุ้งแห้งทำลายช่วงผลเริ่มสุกและใกล้เปลี่ยนสี
—
นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเ...
เตือนภัยเกษตรกรเฝ้าระวัง โรคตายพรายหรือโรคเหี่ยว ระบาดในกล้วย
—
ช่วงฤดูฝน เตือน เกษตรกรเฝ้าระวังโรคตายพรายหรือโรคเหี่ยวระบาดในกล้วย ให้สังเกตอาการใบกล้วยด...
กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์
—
นายภัสชญภณ ...
กรมวิชาการเกษตร ลุยถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันจาวมะพร้าว สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ตั้งเป้าบุกตลาดพรีเมียมภายใต้แบรนด์สินค้าชุมชน
—
นางสาวศุภมาศ...
แนะวิธีปราบด้วงหนวดยาวในไร่อ้อย พบเข้าทำลายทั้งอ้อยปลูกใหม่และในระยะแตกกอ
—
นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เป...
เกษตรฯ ย้ำยังต้องเฝ้าระวังหนอนชอนใบมะเขือเทศ พร้อมยันตั๊กแตนทะเลทรายไม่โฉบเข้าไทย
—
กรมวิชาการเกษตร ส่งสัญญาณเข้าฤดูกาลปลูกมะเขือเทศรอบใหม่ยังต้องเฝ้าระว...