'ช้อปปี้' ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เฉลิมฉลองการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค และแชร์ผลงานในการรังสรรค์สิ่งดี ๆ ที่สังคมได้รับจากอีคอมเมิร์ซ และบริการทางด้านการเงินแบบดิจิทัลในปี 2564
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีการหันมาใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ใช้งานดิจิทัลรายใหม่ถึง 40 ล้านคนในปี 2564 โดยเมื่อการใช้เทคโนโลยีมีการเติบโตมากขึ้น ช้อปปี้มุ่งเพิ่มโอกาสให้การสร้าง การมีส่วนร่วมให้ทุกคนเข้าถึงโลกดิจิทัลได้ ส่งเสริมให้ผู้คนและธุรกิจเปิดรับโอกาสของโลกออนไลน์ได้มากขึ้น
ในปี 2564 มีผู้ใช้งานที่เข้าถึงและได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีผ่านช้อปปี้มากขึ้น โดยในภาพรวมทั่วทั้งภูมิภาค 1 ใน 6 ของยอดคำสั่งซื้อ มาจากผู้ใช้งานครั้งแรก ในขณะที่จำนวนผู้ขายบนช้อปปี้ที่อยู่นอกเมืองใหญ่เติบโตขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับปี 2563 นอกจากนี้ ช้อปปี้ยังได้สร้างสีสันและมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้ซื้อ และเสริมศักยภาพให้ผู้คนในวงการเทคโนโลยีเพื่อให้เติบโตได้อย่างเต็มความสามารถในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
มร. เทอเรนซ์ แพง ประธานฝ่ายปฎิบัติการ ช้อปปี้ กล่าวว่า "ในปี 2564 ช้อปปี้ยังคงมุ่งสานต่อเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือสังคมผ่านเทคโนโลยี โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการโอกาส เนื่องในปัจจุบันผู้คนและธุรกิจหันมาใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เราจึงนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้มากขึ้น และสามารถปรับเข้ากับวิถีใหม่ทั้งในด้านการใช้ชีวิต การทำงาน และการซื้อสินค้า ยิ่งเรามีการเชื่อมต่อกันมากขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น และที่สำคัญเราสามารถช่วยเหลือกันและกันเพื่อไม่ให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ทั้งหมดนี้คือการสร้างโอกาสใหม่ ๆ และมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคม ผมจึงอยากเชิญชวนให้มาร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้สดใสและเข้าถึงทุกคนไปด้วยกัน"
สร้างการเข้าถึงและเพิ่มการเติบโต
ในปี 2564 ทั้งผู้คนและธุรกิจในประเทศต่างได้เข้าถึงและได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านช้อปปี้
- การเข้าถึงที่กว้างขวางกว่าที่เคย: ช้อปปี้ทำให้การซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ในตลอดปีที่ผ่านมาช้อปปี้ได้จัดแคมเปญภายในประเทศที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ซื้อ และขยายเครือข่ายการจัดส่งสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อ สามารถช้อปและรอรับสินค้าได้อย่างมั่นใจแม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ ยังมีการช่วยเหลือธุรกิจ MSMEs ในการก้าวสู่โลกดิจิทัล โดยเฉพาะผู้ผลิตและเกษตรกรภายในประเทศ ผู้เป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจในประเทศ โดยมีไฮไลท์ ดังนี้
- ยกระดับการดำเนินธุรกิจ: ด้วยช้อปปี้ช่วยให้ภาคธุรกิจในประเทศสามารถสร้างธุรกิจดิจิทัลให้เติบโตได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในแง่ยอดขายและและการดำเนินธุรกิจ ในปี 2564 ช้อปปี้ได้สร้างเครื่องมือและฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้ขายท้องถิ่นเป็นที่มองเห็นมากขึ้นในแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่น กิจกรรม 'Shopee Celebrates Local - ช้อปปี้ส่งใจให้ชุมชน' ในช่วง 12.12 Birthday Sale ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยสปอตไลต์ให้แก่ผู้ขายให้สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้มากขึ้นพร้อมทั้งช่วยขยายฐานลูกค้า โดยมีข้อมูลไฮไลท์ที่น่าสนใจ ได้แก่
- ปลดล็อกการเติบโตให้แก่แบรนด์ธุรกิจ: Shopee Mall ยังคงเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างการเติบโตให้แก่แบรนด์ธุรกิจ โดยริเริ่มพร้อมกับนวัตกรรมและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน แบรนด์พันธมิตรธุรกิจมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและสร้างสถิติใหม่ โดยในปี 2564 มีผู้ใช้งาน 42 ล้านรายที่ทำการซื้อของครั้งแรกผ่าน Shopee Mall ในขณะที่มีแบรนด์พันธมิตร 5 รายที่มียอดขายรวมถึง $100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,350 ล้านบาท)
มอบความสุขให้แก่ผู้ซื้อ
ช้อปปี้ไม่หยุดยั้งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ และมอบบริการที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้ใช้งานในปี 2564 เมื่อผู้คนหันมาใช้อีคอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้น ช้อปปี้ได้ทำงานร่วมกับผู้ขายและพันธมิตรอย่างเต็มที่เพื่อมอบความสุขให้แก่ผู้ซื้อและสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่ทุกคน
- สร้างรอยยิ้มนับพันล้าน: ช้อปปี้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยผู้ขายและแบรนด์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้งานได้อย่างสะดวกสบายและมั่นใจได้ด้วยระบบที่ครบวงจรทำให้ผู้ใช้งานรีวิวแอปฯ ช้อปปี้ด้วยคะแนน 5 ดาว ถึง 3 พันล้านรีวิวในปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 60% ด้วยผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่น เพลิดเพลิน และไว้วางใจได้
- ส่งความสนุกมอบความบันเทิงให้ผู้ใช้งาน: ฟีเจอร์ต่าง ๆ ในช้อปปี้สามารถมอบความบันเทิงให้แก่ผู้ใช้งานและช่วยเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน โดยมีการรับชม Shopee Live รวมกันถึง 400 ล้านชั่วโมง และมียอดการเล่นเกมในแอปฯ มีจำนวนสูงถึง 4 หมื่นล้านครั้ง
ยกระดับภาคชุมชน
ในปี 2564 ช้อปปี้ได้ช่วยเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ที่มีความสามารถ นักธุรกิจมือใหม่ และชุมชน ด้วยการมอบความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการก้าวสู่ความสำเร็จในเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งสำหรับในวันนี้และในอนาคต
- พัฒนาบุคลากรคุณภาพที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี: ช้อปปี้มุ่งมั่นที่จะเข้าถึงและเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ที่มีความสามารถและสนใจในด้านเทคโนโลยี โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีของช้อปปี้มากกว่า 20,000 คน ไม่ว่าจะเป็นงาน "Tech@Shopee" Webinars และการแข่งขัน Shopee Code League ในขณะที่โดย 8 ใน 10 ของทีมงาน ช้อปปี้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผ่าน Shopee Academy รวมเป็นชั่วโมงการเรียนรู้ถึง 27,000 ชั่วโมง
- เพิ่มศักยภาพให้ผู้ขายในประเทศ: ช้อปปี้มีการพัฒนาแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจให้มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยหลักสูตรของ Shopee University ช่วยให้ผู้ขายสามารถเข้าถึงคอร์สอบรมเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซและพัฒนาความสามารถได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และยังมี Seller Education Hub ที่มีคอร์สการเรียนรู้ที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่มากประสบการณ์ หรือมือใหม่หัดขาย โดยในปี 2564 มีผู้ขาย 1.3 ล้านคน ที่เข้าเรียนรู้ในคอรส์ของ Shopee University
คืนกำไรสู่สังคม
ในประเทศไทย ช้อปปี้ใช้แพลตฟอร์มและทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือผู้คนท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และหยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่ชุมชนที่ขาดแคลน
- สนับสนุนการฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19: ตลอดปี 2564 ช้อปปี้ และ SEA ประเทศไทยมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้คนในประเทศไทยผ่านโครงการ "Shopee Together" โดยได้มอบรถตู้ทีมแพทย์สนามฉุกเฉินและถังออกซิเจน 2,000 ถัง ให้แก่สถานพยาบาลและโรงพยาบาลสนามทั่วไทย เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือสถานการณ์โควิด-19
- ให้ความช่วยเหลือสังคม ก้าวผ่านสถานการณ์อันท้าทายไปด้วยกัน: ช้อปปี้ ประเทศไทย ได้เปิดตัว "ช้อปปี้ช่วยเปย์" แคมเปญพิเศษที่ช้อปปี้ริเริ่มขึ้นเพื่อมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยการลดค่าครองชีพให้แก่คนไทย และกระตุ้นการทำธุรกิจออนไลน์ โดยชาวไทยกว่า 450,000 คน[1] ได้รับประโยชน์จากการได้รับโบนัสพิเศษใน ShopeePay เพื่อนำมาซื้อสินค้าบนช้อปปี้
โลกกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่บนโลกออนไลน์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูง สวนกระแสสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อย่างไรก็ตามแม้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ซึ่งหมายถึง บล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำการตลาด ทั้งในมิติของการช่วยสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์และสินค้าหรือบริการในเชิงบวก (Brand Awareness) ช่วยสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) กับกลุ่มเป้าหมาย และช่วยกระตุ้นยอดขาย (Sales) แต่ในประเทศไทยยัง
ลาซาด้า กรุ๊ป เผยรายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2567 เผยความสำเร็จสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลง 40% ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
—
รายงานผลกระ...
Amaze Super App ก้าวใหม่ของ Loyalty E-Commerce ไทย เชื่อมทุกแต้มสู่มูลค่าจริง สร้างโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งอนาคต
—
หลังจากเริ่มให้บริการเมื่อต้นเดือนท...
ดีป้า เปิดฉาก depa ESPORTS ACCELERATOR PROGRAM ติวเข้ม 10 ทีมน้องใหม่ ก่อนปล่อยของในกิจกรรม Demo Day & Business Matching
—
ดีป้า เปิดฉากกิจกรรม depa ESPOR...
ดีป้า ชู dSURE กลไกกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ระดับ 4.0
—
ดีป้า ชี้ตราสัญลักษณ์ dSURE ที่มอบให้กับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานด้านคว...
ดีป้า เผยผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคอุตสาหกรรม ปี 67 ขยับสู่ระดับ 2.0
—
ดีป้า เผยผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ระบุอุตสาหกร...
ไทยพาณิชย์-NIA-depa ชูความสำเร็จหลักสูตร IBE 6 นำผู้ประกอบการ 109 บริษัทสู่เส้นทางความยั่งยืน
—
ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การม...
ผอ.ใหญ่ ดีป้า แนะไทยเดินหน้าหาตลาดใหม่ เตรียมการรับมือมาตรการภาษีทรัมป์
—
ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของ...
LIMIX และ TIDC ร่วมมือกันต่อสู้กับการหลอกลวงกระเป๋าเงินคริปโตด้วย AI — เสริมสร้างความปลอดภัยของบล็อกเชนในประเทศไทยและกำหนดนิยามใหม่ของตัวตนในโลกดิจิทัล
—
เพื่อปกป้อง...
ไทยผงาดบนเวทีเกมโลก gamescom 2025 พร้อมรุดหน้าจัด "gamescom asia x Thailand Game Show" เปิดฉากมหกรรมเกมสุดยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล...