"ลิ้นหัวใจ" ของคนเรามีทั้งหมด 4 ลิ้น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดใน 4 ห้องหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปในทิศทางที่ถูกต้อง แต่ถ้าลิ้นหัวใจมีปัญหาเปิดหรือปิดได้ไม่สนิท ก็จะส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักขึ้นจนเกิดภาวะต่างๆ เช่น หัวใจโต เลือดคั่งในหัวใจหรือปอด และอาจรุนแรงจนถึงขั้นชีวิตได้
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ เกิดจากความเสื่อมตามอายุ มีไขมันหรือหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจตีบตัน ส่วนใหญ่มักเกิดที่ "ลิ้นหัวใจเอออร์ติก" ซึ่งเป็นลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา เป็นเส้นเลือดที่รับเลือดจากหัวใจส่งไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อลิ้นหัวใจตีบจะทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนแรง หน้ามืดเป็นลมบ่อย หากปล่อยไว้หัวใจจะทำงานหนักขึ้น ผนังหัวใจหนาตัวและนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ในที่สุด
การรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ เดิมใช้วิธีการผ่าตัดเปิดหน้าอกเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก หรือ TAVI (trans catheter aortic valve implantation) คือการใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านสายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ เมื่อสายสวนไปถึงบริเวณลิ้นหัวใจที่ตีบ แพทย์จะปล่อยลิ้นหัวใจเทียมที่ม้วนพับอยู่ให้กางออก เพื่อทำหน้าที่แทนลิ้นหัวใจเดิม
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยวิธี TAVI นอกจากผู้ป่วยจะไม่มีแผลผ่าตัดแล้ว ยังช่วยลดความเจ็บปวดในการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกตินวัตกรรม TAVI ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่ เช่น ร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว หรืออาจทนต่อการดมยาสลบไม่ไหว TAVI จึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ คือมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรดูแลตัวเองให้ดี ตรวจสุขภาพเช็กการทำงานของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น… อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1373
สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน
วว. ร่วมเปิดรับสมัครบุคลากรและนักศึกษาฝึกงาน @ อว. JOB FAIR 2025
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว....
ครบ 6 ปี สอวช. "ดร.สุรชัย" เดินหน้าวางยุทธศาสตร์ "อววน." ปี 68-71 เลือกทำเรื่องใหญ่ ใช้เครื่องมือ Foresight นำประเทศสู่อนาค
—
ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อ...
ทีวี QLED จากซัมซุง ชูจุดเด่น Quantum Dot แท้ ยืนหนึ่งผู้นำประสบการณ์สุดคมชัด ปลอดภัย ไร้สารแคดเมียม
—
ซัมซุง ตอกย้ำความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมทีวีระดับโลก ...
วว. ร่วมเป็นเกียรติแสดงความยินดีเนื่องในงานครบรอบ 6 ปี คล้ายวันสถาปนากระทรวง อว. พร้อมรับมอบใบประกาศเกียรติคุณ "คนดีศรี อว." ประจำปี 2567
—
นางสาวศุภมาส อ...
เปิดฉากยิ่งใหญ่ "Pet Expo Thailand 2025" ฉลองครบรอบ 25 ปี
—
พบไฮไลท์สัตว์หายาก กิจกรรมโดนใจ สินค้า-บริการนวัตกรรมเพื่อสัตว์เลี้ยงจัดเต็มกว่าใคร เปิดฉากแล้...