ผลสำรวจเผยให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาของรัฐเป็นภาคส่วนที่ใช้มัลติคลาวด์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของการใช้มัลติคลาวด์ของภาครัฐทั่วโลกถึงสองเท่า
นูทานิคซ์ (NASDAQ: NTNX) ผู้นำด้านไฮบริด มัลติคลาวด์ คอมพิวติ้ง เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาครัฐจากรายงานการสำรวจดัชนีการใช้คลาวด์ระดับองค์กร (Enterprise Cloud Index - ECI) ประจำปี 2565 ซึ่งประเมินความคืบหน้าขององค์กรต่าง ๆ ในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ และสถาบันการศึกษาของรัฐทั่วโลก รายงานดังกล่าวชี้ว่าองค์กรภาครัฐใช้มัลติคลาวด์เป็นรูปแบบหลักในงานด้านไอที โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และคาดว่าการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจาก 39% เป็น 67% ในช่วงสามปีข้างหน้า
มัลติคลาวด์ได้รับการยอมรับและนำมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกลายเป็นสถาปัตยกรรมด้านไอทีที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาครัฐ ผลสำรวจ ECI พบว่ามีการใช้มัลติคลาวด์มากที่สุดในส่วนภาคการศึกษาของรัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยอยู่ที่ 69% สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเกือบสองเท่า นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ก็มีการใช้มัลติคลาวด์สูงกว่าค่าเฉลี่ยเช่นกัน อยู่ที่ 47% อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนในการจัดการคลาวด์หลายระบบยังคงเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญสำหรับองค์กรภาครัฐ 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีความเห็นว่า การที่องค์กรต่าง ๆจะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลาวด์หลาย ๆ ระบบให้ง่ายมากขึ้น นอกจากนั้น ในการแก้ไขปัญหาท้าทายที่สำคัญในเรื่องที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย การใช้งานร่วมกัน และการบูรณาการข้อมูล 75% มีความเห็นว่า รูปแบบไฮบริดมัลติคลาวด์ (Hybrid Multicloud) ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินงานด้านไอทีที่ใช้ระบบคลาวด์หลายประเภท ทั้งไพรเวทคลาวด์และพับลิคคลาวด์ โดยมีการทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ชิป จอร์จ รองประธานกลุ่มธุรกิจภาครัฐของนูทานิคซ์ กล่าวว่า "ประเทศทั่วโลก กำลังพัฒนาไปใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบมัลติคลาวด์ที่มีการผสมผสานไพรเวทคลาวด์และพับลิคคลาวด์เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาครัฐซึ่งมีการนำไปใช้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาที่ว่านี้จำเป็นต้องอาศัยความมุ่งมั่นในการสร้างแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งและปลอดภัย เพื่อให้สามารถใช้มัลติคลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพและขยายขีดความสามารถให้ครอบคลุมทั้งส่วนแกนหลัก (Core) และส่วนขอบ (Edge) ของเครือข่าย องค์กรภาครัฐจำเป็นที่จะต้องมองหาโซลูชันไฮบริดมัลติคลาวด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านความปลอดภัย รวมถึงการตรวจสอบอย่างทั่วถึง การจัดการที่มีประสิทธิภาพ การบังคับใช้นโยบายที่สอดคล้องกัน และการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุมบนทุกสภาพแวดล้อม"
ผู้ตอบแบบสอบถามในส่วนของภาครัฐได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความท้าทายด้านระบบคลาวด์ที่เผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน รวมไปถึงวิธีการรันแอปพลิเคชันทางธุรกิจ และแอปพลิเคชชันที่สำคัญต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน และแผนการรันแอปพลิเคชันดังกล่าวในอนาคต นอกจากนั้น ยังมีการสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีในปัจจุบัน ในอนาคต และเร็วๆ นี้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านไอทีและภารกิจสำคัญอันเนื่องมาจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ในรายงานฉบับล่าสุดมีดังนี้:
สำหรับประเทศไทย ได้มีการสร้างบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ GOV Cloud เพื่อเป็นศูนย์รวมอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญให้เกิดการรวมศูนย์การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเสมือนที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยสูงให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ขาดความพร้อมด้านการดูแลศูนย์ข้อมูลและขาดบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะ ทั้งนี้ยังให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความสามารถด้าน Cloud computing เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานและวิธีการใช้งาน Cloud ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
รายงานนี้ดำเนินการสำรวจโดย Vanson Bourne ในนามของนูทานิคซ์ เป็นการสำรวจปีที่สี่ติดต่อกัน โดยได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที 1,700 คนทั่วโลกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564 รายงานนี้เป็นฉบับเสริมของรายงานหลัก ดัชนีคลาวด์ระดับองค์กรประจำปี ฉบับที่สี่ (Fourth Annual Enterprise Cloud Index) ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทั่วโลก โดยมุ่งสำรวจแนวโน้มการวางแผนและการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในส่วนของภาครัฐ และอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายไอทีภาครัฐ 491 คน นอกจากนี้ มีการเปรียบเทียบแผนงาน ภารกิจสำคัญ และประสบการณ์เกี่ยวกับคลาวด์ในส่วนของภาครัฐและเซ็กเตอร์ย่อย รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ และผลการสำรวจทั่วโลก ข้อมูลที่ระบุไว้ในรายงานฉบับนี้ครอบคลุม "องค์กรภาครัฐ" หรือ "ภาครัฐทั่วโลก" ซึ่งหมายถึงผู้ตอบแบบสอบถามในหน่วยงานรัฐบาลกลาง หน่วยงานส่วนกลาง รัฐบาลท้องถิ่น สถาบันการศึกษาของรัฐ และหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเซ็กเตอร์ย่อยสำหรับการเปรียบเทียบ ซึ่งได้แก่ หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ และสถาบันการศึกษาทั่วโลก
การนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในภาครัฐเป็นก้าวสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ลดต้นทุน และเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้คลาวด์เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีความคล่องตัว ลดภาระในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการรองรับปริมาณข้อมูลและการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในข้อได้เปรียบหลักของคลาวด์คือความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถลดการลงทุนล่วงหน้าในอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูล รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา นอกจากนี้
TIDC จับมือ G42 ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทย พร้อมเสริมศักยภาพ AI
—
ศูนย์ธุรกิจและการเงินดิจิทัลระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย (TIDC) ประกาศความร่วมมื...
NT เผยแนวทางสำคัญในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัย
—
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ชูแนวทางสำคัญในการใช้เทคโนโลยีคล...
ประมวลภาพความสำเร็จจากงาน "Powering The Future with SiS Cloud"
—
บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กร...
NT เผย 5 คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับการเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง
—
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที (NT) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งเป...
บีโอไอไฟเขียว "เวสเทิร์น ดิจิตอล" ลงทุนเพิ่มกว่า 23,000 ล้านบาท ขยายฐานผลิตฮาร์ดดิสก์ครั้งใหญ่ รองรับคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์
—
บีโอไอ อนุมัติส่งเสริมการลง...
SiS จับมือ ZStack ประกาศรุกตลาดคลาวด์ คอมพิวติ้งในไทย
—
บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าไอทีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประก...
หัวเว่ย คลาวด์ กับแนวคิด “Cloud for Good” เพื่อนำนวัตกรรมสู่ชีวิต
—
ในงาน Huawei Cloud Summit Thailand 2024 นายอาคา ได (Aka Dai) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด หั...
หัวเว่ยจับมือจุฬา ยกระดับความร่วมมือด้านนวัตกรรม 5.5 G และพัฒนาบุคลากรรองรับคลาวด์
—
ในงาน Asia-Pacific ICT Summit -Thailand หัวเว่ย ประเทศไทย และจุฬาลงกร...