เปิดเวที "ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต" ระดมกูรู 2 วัยร่วมถก"บทบาทของคนรุ่นก่อนและรุ่นใหม่ ต่อภารกิจการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

วิกฤตคุณภาพการศึกษาฝังรากลึกยาวนานมากว่า 10 ปี เด็กไทยมีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำลงเรื่อย ๆ ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบที่กระทบต่อโรงเรียนทั่วประเทศ ทำให้การจัดการศึกษาไม่เป็นตัวของตัวเอง โรงเรียนไม่ตอบโจทย์ว่าเรียนไปทำไม การเรียนรู้ในโรงเรียนไม่เชื่อมโยงกับโลกความเป็นจริง

เปิดเวที "ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต" ระดมกูรู 2 วัยร่วมถก"บทบาทของคนรุ่นก่อนและรุ่นใหม่ ต่อภารกิจการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย"

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP - Thailand Education Partnership) ผนึกภาคีด้านการศึกษา องค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคสังคม เปิดเวทีสาธารณะระดับประเทศ TEP Forum 2022 "ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต" โดยในวันสุดท้ายของการจัดงานได้มีการจัดเสวนาในประเด็น "บทบาทของคนรุ่นก่อนและรุ่นใหม่ ต่อภารกิจการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย" โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ในหลากหลายบทบาท เปิดเวที "ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต" ระดมกูรู 2 วัยร่วมถก"บทบาทของคนรุ่นก่อนและรุ่นใหม่ ต่อภารกิจการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย"

ทั้งรุ่นก่อน และรุ่นใหม่ ร่วมนำเสนอแนวคิดในมุมมองที่น่าสนใจ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาไทยให้
ก้าวทันโลกในทุกมิติ

เปิดเวทีด้วยมุมมองของอดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน ร่วมเปิดประเด็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันว่า
"ปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษาไทยคือ การมีโครงสร้างแบบราชการที่มีกฎเกณฑ์มากมาย หากจะปฏิรูปการศึกษาจริง ๆ ต้องลงลึกไปถึงรากถึงโคนเลย ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับการศึกษา ซึ่งสิ่งสำคัญคือ ผู้มีอำนาจหรือรัฐบาลต้องเปิดใจให้กว้าง ไม่ผูกขาดอำนาจ ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน การศึกษาไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่การศึกษาเป็นเรื่องของสังคม เพราะผู้ที่เข้ารับการศึกษาเป็นลูกหลานของคนในสังคม ครูก็ควรจะเป็นครูของสังคม ไม่ใช่ครูของระบบราชการ การเรียนการสอนต้องทำให้เด็กหรือนักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีทักษะการดำรงชีวิตที่ดีในสังคม ครูต้องสอนเนื้อหาให้น้อยลง พูดคุยกับนักเรียนมากขึ้น ระบบการศึกษาที่ดีต้องปล่อยให้เด็กคิดอย่างเสรี กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ซึ่งทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง ต้องปรับเปลี่ยน Mindset หรือกระบวนการคิด เพื่อให้อนาคตการศึกษาไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น"

ทางด้าน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบาทของการปฏิรูปการศึกษาไทยว่า "การปฏิรูปการศึกษาไทยต้องไม่ใช่การที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็นความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่าย เพื่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างแท้จริง รวมถึงการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาของระบบการศึกษาไทย เนื่องจากคนรุ่นใหม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ต้องให้พื้นที่คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ ด้วยการทำใจให้เป็นกลางและเปิดใจกว้าง ๆ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าแผนการศึกษาทำไว้สำหรับคนรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้น คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วม ควบคู่ไปกับการนำปัญญาของคนรุ่นเก่ามาผสมผสานกับความต้องการของคนรุ่นใหม่เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาไทยให้ก้าวทันโลก"

หนึ่งในคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่น่าจับตามากของยุคนี้ เคน - นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ อดีตนักศึกษาคณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ ซึ่งปัจจุบันนั่งแท่น กรรมการผู้จัดการและบรรณาธิการบริหาร สำนักข่าว THE STANDARD ร่วมแชร์มุมมองบทบาทของครูและโรงเรียนที่ต้องปรับเปลี่ยนในโลกยุคดิจิทัลไว้อย่างน่าสนใจว่า "ในอดีตที่ผ่านมา โรงเรียนและครูมีหน้าที่ในการให้ข้อมูล ให้ความรู้ เพราะยังไม่มีการกระจายความรู้ออกไป แต่พอเกิดเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้ความรู้ถูกกระจายออกไป ระบบการศึกษาในปัจจุบันจึงไม่ได้มีเพียงแค่โรงเรียนหรือครูเท่านั้นที่เป็นเจ้าของความรู้ แต่มีผู้ที่มีความรู้มากกว่าครูมากมาย เช่น วิศวกร สถาปนิกที่ทำงานแบบมืออาชีพ โดยสิ่งสำคัญที่อยากชี้ให้เห็นคือ ความรู้หลังจากนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ความรู้ไม่ได้กระจุกอยู่กับใคร ผมมองว่าการศึกษาต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับบริบทของโลกในยุคปัจจุบันและอนาคตที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล อันดับแรก คือ โรงเรียนและครูซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้จำเป็นจะต้องเปลี่ยนบทบาทการสอนในรูปแบบ

Learn how to learn คือ ไม่ควรให้ปลา แต่ควรให้เบ็ดตกปลาและสอนให้รู้จักวิธีตกปลา ต้องกระตุ้นให้เด็กสงสัยและตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาและพัฒนาตนเอง นี่คือกระดุมเม็ดแรกหรือจุดเริ่มต้นแรก ถ้าเราอยากที่จะเรียนรู้ สิ่งอื่นๆ จะตามมาเอง อันนี้ผมว่าเป็นทักษะสำคัญมากในโลกอนาคต อันดับที่ 2 ต้องให้ความสำคัญกับการสอนที่ต้องมีการทดลองทำจริง โดยโรงเรียนควรเป็น Sandbox หรือเป็นพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการทดลองปฏิบัติจริง ครูควรเปลี่ยนบทบาทของตัวเอง จากการเป็นผู้ให้ความรู้ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ โรงเรียนต้องทำให้ความอยากรู้สำคัญกว่าความรู้ให้ได้ และอันดับที่ 3 โรงเรียนต้องเป็นสนามทดลองการเรียนรู้ของการอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีกติกาที่ทำให้ทุกคนรู้ว่านี่คือสังคมที่ควรจะเป็น เคารพสิทธิ เปิดกว้างทางความคิด ผมเชื่อว่าถ้าปรับเป็น 3 บทบาทนี้ได้ โรงเรียนและครูยังมีความจำเป็นในระบบการศึกษาของไทยอย่างแน่นอน"

ปิดท้ายกันที่ ไอติม - พริษฐ์ วัชรสินธุ ในบทบาทของผู้ก่อตั้ง แอปพลิเคชันด้านการศึกษา StartDee ร่วมแบ่งปันไอเดียและถกประเด็นปัญหาในระบบการศึกษาไทยว่า "โจทย์สำคัญของการศึกษาไทยคือ ทำอย่างไรให้การศึกษามีความหมาย และเกี่ยวข้องกับคนรุ่นใหม่ โดยต้องทำให้เด็กหรือผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าไปโรงเรียนแล้วทำให้ได้รับทักษะที่จะทำให้เขามีโอกาสประสบความสำเร็จในอนาคต ทำให้พวกเขารู้ว่าไปโรงเรียนแล้วสามารถได้สิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น ซึ่งคำตอบเปลี่ยนไปทุกยุคทุกสมัย เพราะฉะนั้นระบบการศึกษาไทยต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในยุคนั้น ๆ

การที่เราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทยได้ ต้องเริ่มจาก 1. เปลี่ยนจากการอัดฉีดความรู้ เป็นการเน้นพัฒนาทักษะสมรรถนะ การคิดวิเคราะห์ การสื่อการ การทำงานเป็นทีมด้วยวิธีสอนรูปแบบใหม่และให้เด็กกล้าลองผิดลองถูก 2. เปลี่ยนรูปแบบการสอน จาก One size fits all มาเป็นแบบ Personalize ที่มีความเฉพาะเจาะจง 3. การศึกษาต้องไม่บั่นทอนการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เด็กมีเวลาที่จะค้นพบตัวเอง 4. บทบาทของโรงเรียนต้องไม่ใช่แค่พัฒนาการเรียนเท่านั้น แต่ต้องส่งเสริมการพัฒนาแบบองค์รวม ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 5. โรงเรียนต้องไม่ใช่สูญญากาศที่ตัดขาดจากสังคม แต่โรงเรียนต้องเป็นภาพจำลองของสิ่งที่เป็นอยู่ในสังคม และ 6. เปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการแบบศูนย์รวมอำนาจ เป็นการกระจายอำนาจ ต้องทำให้โรงเรียนมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น เช่น จะใช้งบประมาณแบบไหน จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีความหมายกับนักเรียนในพื้นที่นั้น ๆ ได้มากขึ้น"

เสียงสะท้อนความคิดเห็นหลากหลายแง่มุม เห็นตรงกันว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมที่จะต้อง ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรับเปลี่ยน ร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลง "ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต" เพื่อให้การศึกษาไทยก้าวทันโลก เด็กและเยาวชนไทยได้รับการศึกษาที่ดี พร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต


ข่าวโรงเรียนทั่วประเทศ+คุณภาพการศึกษาวันนี้

CPF หนุนพนักงานร่วมขับเคลื่อน"คอนเน็กซ์ อีดี" ยกระดับการศึกษาของไทย สร้างเด็กดีและเก่ง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุ่งมั่นร่วมสร้างอนาคตทางการศึกษาของเด็กไทยผ่านโครงการ CONNEXT ED ส่งมอบโอกาสสู่น้องๆ ในโรงเรียนทั่วประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเด็กดีและเด็กเก่ง พร้อมส่งเสริมพนักงานจิตอาสาผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ขององค์กร ทำงานร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครู ยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทยอย่างยั่งยืน นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ ในฐานะประธานคณะบริหารโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ของซีพีเอฟ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ห... ซีพีเอฟ เปิดโลกการเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ปลูกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ ร่วมปกป้องสิ่งแวดล้อม — บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ปลูกฝังจิตส...