โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์
ปี 2563 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติดิจิทัลที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกระแสการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลนี้คือ บริการสาธารณสุข ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ต้องรีบเร่งมองหาโซลูชันที่จะรองรับการให้บริการทางการแพทย์ผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้รับบริการ
เมื่อการแพร่ระบาดทั่วโลกเริ่มต้นขึ้น การขยายการให้บริการได้อย่างรวดเร็วฉับพลันกลายเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับสถานพยาบาลและหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทำให้จำเป็นต้องมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI ระบบงานอัตโนมัติ ระบบข้อมูล และบอทต่าง ๆ ที่รองรับการสนทนามาใช้งาน นับเป็นการยกระดับการใช้งานระบบอัตโนมัติขั้นสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างฉับไวและปรับปรุงประสบการณ์ของผู้รับบริการ
และไม่ว่าความคาดหวังของลูกค้าในภาคธุรกิจบริการสาธารณสุขจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่มีแนวโน้มที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ การปรับปรุงระดับการให้บริการ คุณภาพ และคุณประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะสามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจได้อย่างไร?
แนวโน้มสำคัญด้านประสบการณ์ลูกค้าในภาคธุรกิจบริการสาธารณสุขมีดังนี้:
เรื่องราวความสำเร็จของ Artel: พัฒนาการสร้างประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจการให้บริการด้านสาธารณสุข
พันธกิจของ Artel คือ การจัดหาระบบ อุปกรณ์ เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญสำหรับห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อให้ได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผลการตรวจที่รวดเร็วมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงปีแรกของการแพร่ระบาด เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยและการตรวจคัดกรองเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ Artel จะต้องตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น
ห้องแล็บและบริษัทยาหลายแห่งใช้อุปกรณ์ของ Artel และเครื่องมือแต่ละชนิดก็มีซอฟต์แวร์ที่ใช้รองรับการทำงานโดยเฉพาะ เนื่องจากผลการตรวจจากห้องแล็บมีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ป่วย ดังนั้น Artel จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการปรับปรุงความแม่นยำของการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยตอบสนองต่อความคาดหวังและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
Artel ร่วมมือกับ Persistent เพื่อสร้างชุดซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจด้านระบบเครื่องมือของบริษัทฯ เนื่องจากกระบวนการในห้องแล็บมีความหลากหลายมาก ดังนั้นโซลูชั่นของ Artel จึงจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสถาปัตยกรรมที่แข็งแกร่ง ยืดหยุ่นสูง และใช้งานง่าย
เนื่องจากการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบเฉพาะเจาะจงจะต้องใช้เวลานาน ดังนั้นบริษัทฯ จึงหันมาใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาโมเดิร์นแอปพลิเคชันของเอาต์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ซึ่งช่วยให้สามารถนำซอฟต์แวร์ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น ด้วยเทคโนโลยีของเอาต์ซิสเต็มส์ จึงสามารถสร้างโซลูชั่นที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น สามารถเพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ได้อย่างง่ายดาย และช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน นอกจากนั้น ด้วยการปรับใช้บนระบบคลาวด์ Artel จึงสามารถนำเสนอโซลูชั่นดังกล่าวให้แก่ลูกค้าได้หลายราย
นับตั้งแต่ที่เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ดังกล่าว Artel สามารถเพิ่มผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผลการตรวจจากห้องแล็บมีความแม่นยำ ไว้ใจได้ และช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
การปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วยในภาคบริการสาธารณสุขไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน แต่เป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะประสบการณ์ที่เหนือกว่าจะช่วยปรับปรุงการรักษาพยาบาลและเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ป่วยไปในทางที่ดีขึ้น
เกี่ยวกับเอาท์ซิสเต็มส์
เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ด้วยพันธกิจในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่องค์กรต่าง ๆ สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน OutSystems ประกอบด้วยเครื่องมือประสิทธิภาพสูงที่เชื่อมต่อกันและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนภายในองค์กร ด้วย Community member กว่า 435,000 ราย พนักงานมากกว่า 1,500 คน พันธมิตรกว่า 350 ราย และลูกค้าหลายพันรายใน 87 ประเทศ ใน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจของเอาท์ซิสเต็มส์ครอบคลุมทั่วโลก และช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราบน Twitter @OutSystems หรือ LinkedIn ที่ https://www.linkedin.com/company/outsystems.
โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์ การ์ทเนอร์ (Gartner) คาดการณ์ว่า ในปี 2568 แพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟจะเป็นรากฐานสำหรับโครงการดิจิทัลใหม่ ๆ กว่า 95% เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2564 ที่น้อยกว่า 40% การพัฒนาไปสู่คลาวด์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปสำหรับหลาย ๆ บริษัท โดยการพัฒนาที่ว่านี้หมายถึงการโยกย้ายระบบ (Migration) ซึ่งประกอบด้วยหลายขั้นตอน เช่น การสร้างต้นแบบ การทดสอบ และในบางกรณีอาจมีการทดลองใช้งานจริง โดยครอบคลุมช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ROI ของแพลตฟอร์ม Low-Code ที่องค์กรธุรกิจอาจไม่รู้
—
โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์ ภายใต้แรงกดดันขอ...
องค์กรควรตั้งเป้าลด "หนี้ทางเทคนิค" ให้เป็นศูนย์หรือไม่?
—
โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์ ถ้าธุรกิจคุณ...
3 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัย
—
โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต...
7 เทรนด์การพัฒนาซอฟต์แวร์ในปี 2565 และเหตุผลที่องค์กรควรเปลี่ยนตาม
—
โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์ ทุ...
วางกลยุทธ์ด้าน Multiexperience ให้ประสบความสำเร็จ: ธุรกิจควรพิจารณา 3 เรื่องสำคัญในการเลือกใช้แพลตฟอร์ม MXDP ที่เหมาะสม
—
โดย นายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รอง...
เอาท์ซิสเต็มส์ ประกาศแต่งตั้ง คริสทีน นูร์นเบอร์เกอร์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด
—
ด้วยประสบการณ์สั่งสมมากว่า 20 ปี นูร์นเบอร์เกอร์...
เอาท์ซิสเต็มส์ขยายศักยภาพแพลตฟอร์ม Low-Code ประสิทธิภาพสูง ด้วยโซลูชันการพัฒนาแบบคลาวด์เนทีฟ
—
โซลูชันใหม่ที่ผสานรวมสถาปัตยกรรมคลาวด์ล้ำสมัย, CI/CD ขั้นสู...
"GC" ร่วมมือ "OutSystems" นำเทคโนโลยี Low-Code ประสิทธิภาพสูง มาช่วยเร่งทรานฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล
—
จัดทำ B- Leap Project สร้าง Critical Systems ต่อยอดงาน...