เซเรส นาโนไซเอนเซส เปิดศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบาดวิทยาน้ำเสีย 16 แห่ง ภายใต้โครงการ NIH RADx

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เซเรส นาโนไซเอนเซส (Ceres Nanosciences) บริษัทเอกชนผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อยกระดับการวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์และการทดสอบวินิจฉัย ประกาศจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบาดวิทยาน้ำเสีย (Wastewater-based Epidemiology Centers of Excellence) แห่งใหม่อีก 6 แห่ง เพิ่มเติมจากศูนย์ความเป็นเลิศจำนวน 9 แห่งที่ประกาศเปิดตัวไปก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 และเข้ามาเสริมโครงการทดสอบน้ำเสียในตัวเมืองแอตแลนตาที่อยู่ระหว่างดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเอมอรี (Emory University) ซึ่งทั้งหมดได้รับเงินทุนสนับสนุนมูลค่า 8.2 ล้านดอลลาร์จากโครงการ Rapid Acceleration of Diagnostics (RADx(R)) ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health: NIH)

สถานที่ทั้ง 16 แห่งประกอบด้วยห้องปฏิบัติการทดสอบที่ไม่แสวงหาผลกำไร ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย ห้องปฏิบัติการสาธารณสุข และห้องปฏิบัติการทดสอบเชิงพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ใน 14 รัฐ ได้แก่ แอริโซนา แคลิฟอร์เนีย คอนเนตทิคัต อิลลินอยส์ จอร์เจีย แคนซัส เคนตักกี ลุยเซียนา แมริแลนด์ แมสซาชูเซตส์ นิวยอร์ก เท็กซัส เวสต์เวอร์จิเนีย และวิสคอนซิน และกำลังให้บริการทดสอบน้ำเสียแก่ 40 รัฐ

ศูนย์ความเป็นเลิศดังกล่าวติดตามตรวจสอบน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงการทดสอบน้ำเสียจากโรงบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของไวรัสโดยรวมในเขตหรือเมืองหนึ่ง ๆ, การทดสอบน้ำเสียจากลุ่มน้ำเสีย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรด้านสาธารณสุขในระดับท้องที่ และการทดสอบน้ำเสียจากสถานที่ประเภทอาคาร เช่น หอพักนักศึกษา สถานพักฟื้น ราชทัณฑ์ โรงเรียนระดับอนุบาล-มัธยมศึกษา ค่ายฤดูร้อน และสนามบิน

ศูนย์แต่ละแห่งได้รับคัดเลือกโดยพิจารณาจากความสามารถของศูนย์ในการใช้ขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้น เพื่อขยายบริการไปยังชุมชนที่ขาดโอกาสและด้อยโอกาส และแบ่งปันผลการทดสอบกับหน่วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่นและของรัฐ ตลอดจนส่งข้อมูลไปยังระบบเฝ้าระวังน้ำเสียแห่งชาติในสังกัดศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC National Wastewater Surveillance System)

ศูนย์ความเป็นเลิศแต่ละแห่งได้รับวัสดุและการฝึกอบรมการใช้วิธีทดสอบอนุภาค Nanotrap(R) แบบอัตโนมัติ ณ สถานที่จริง ซึ่งจะช่วยให้ทางศูนย์สามารถส่งมอบผลการทดสอบน้ำเสียจากตัวอย่างมากกว่า 100 ตัวอย่างต่อวันได้ในวันเดียวกัน กรดนิวคลีอิกที่สกัดโดยวิธีอัตโนมัตินี้สามารถใช้กับวิธีการตรวจหากรดนิวคลีอิกหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ปริมาณด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-qPCR) การตรวจนับปริมาณสารพันธุกรรมในหยดปฏิกิริยาด้วยวิธีดิจิทัลพีซีอาร์ (RT-ddPCR) และการตรวจหาลำดับพันธุกรรมของเชื้อ (genomic sequencing)

"ความสามารถในการทดสอบน้ำเสียทั่วประเทศของโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก NIH นั้น พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการติดตามตรวจสอบสายพันธุ์ใหม่ ๆ ของไวรัส SARS-CoV-2" เบน เลอพีนี (Ben Lepene) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของเซเรส นาโนไซเอนเซส กล่าว "นอกจากนี้ ผมยังรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เห็นว่าวิธีการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้ในการทดสอบน้ำเสียเพื่อตรวจหาโรคติดเชื้อได้อีกมากมายหลากหลาย ซึ่งรวมถึงไวรัส แบคทีเรีย และปรสิตอื่น ๆ"

ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://www.ceresnano.com/press-release-coe16

สื่อมวลชนติดต่อ :
รอส เอ็ม. ดันแลป (Ross M. Dunlap)
เซเรส นาโนไซเอนเซส อิงค์
โทร. 1.800.615.0418 ต่อ 202
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: www.ceresnano.com

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1780598/Ceres_Nanosciences_Logo.jpg


ข่าวชีววิทยาศาสตร์+วิทยาศาสตร์วันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุ... วว. ยกทัพงานบริการ วทน. โชว์ในงานนิทรรศการนานาชาติแห่งเอเชีย LAB BIO CHEM International 2024 — นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศ...

เฟพอน (Fapon) บริษัทชีววิทยาศาสตร์ชั้นนำร... เฟพอน ร่วมงาน JITMM 2023 โชว์ความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวินิจฉัยโรค — เฟพอน (Fapon) บริษัทชีววิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก ขึ้นเวทีแสดงความเชี่ยวชาญในการประชุมวิ...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...