บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งด้านฐานะทางการเงิน หลังผู้ถือหุ้นไฟเขียวเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 275,120,000 หุ้น พร้อมอนุมัติขายหุ้น GPSC ในสัดส่วน 10.78% มูลค่า 22,351 ล้านบาท ให้แก่ ปตท. (PTT)
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 2,751,200,000 บาท จะส่งผลให้ทุนจดทะเบียนบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเป็น 23,151,478,730 บาท จากเดิม 20,400,278,730 บาท โดยจะดำเนินการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 275,120,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 10 บาท เพื่อ 1) จัดสรรและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering: PO) จำนวนไม่เกิน 239,235,000 หุ้น รวมการเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 80% ของหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและเสนอขายในครั้งนี้ โดยจะไม่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้หรืออาจเป็นผลให้บริษัทฯ มีภาระหรือหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ และอาจพิจารณาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนบางส่วนให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย และ 2) อาจพิจารณาจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนโดยผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) เพื่อรองรับกระบวนการจัดสรรหุ้นส่วนเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย (Over-Allotment) จำนวนไม่เกิน 35,885,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 15% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่เสนอขายครั้งนี้
ขั้นตอนต่อไป บริษัทฯ เตรียมยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุมัติการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering: PO) สำหรับเดินหน้าตามแผนปรับโครงสร้างเงินทุนให้แข็งแกร่ง รองรับการขยายธุรกิจในอนาคต
พร้อมกันนี้ผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมัติการจำหน่ายหุ้นสามัญของ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) จำนวนทั้งสิ้น 304,098,630 หุ้น สัดส่วนประมาณ 10.78% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GPSC เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 22,351 ล้านบาท ให้แก่บมจ.ปตท. (PTT) และ/หรือ บริษัท สยาม แมนเนจเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด (SMH) ซึ่ง ปตท. ถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วน 100% โดยคาดว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/ 2565 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการทำธุรกรรมแล้วเสร็จ ไทยออยล์จะยังคงมีสัดส่วนการถือหุ้นใน GPSC ไม่น้อยกว่า 10% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ GPSC เพื่อรักษาผลตอบแทนที่จะได้จากธุรกิจไฟฟ้าตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของบริษัทฯ
นายวิรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและปรับลดสัดส่วนการลงทุนใน GPSC ครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น โดยบริษัทฯ จะนำเงินที่ได้รับไปชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น (Bridging Loan) จากการเข้าลงทุนในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) บริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีสายโอเลฟินชั้นนำของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดอัตราส่วนระหว่างหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net Debt-to-Equity Ratio) ให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิน 1 เท่า อีกทั้งจะช่วยคงอันดับความน่าเชื่อถือด้านเครดิต (Credit Rating) ให้อยู่ในเกณฑ์กลุ่มระดับลงทุน (Investment grade) ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมต่อยอดและขยายธุรกิจในโครงการต่างๆ เพิ่มเติมจากธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Product) ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจอื่นๆ ที่เป็น New S-Curve
ทั้งนี้ บริษัทฯ เตรียมแผนการลงทุนในปี 2564 - 2567 เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,431 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยโครงการที่เป็นเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ 1) โครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project หรือ CFP) ที่จะขยายกำลังการกลั่นเพิ่มเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน และเพิ่มประสิทธิภาพการกลั่นให้สามารถรองรับการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Product) ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น 2) โครงการลงทุนธุรกิจโอเลฟินใน CAP ผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นโครงการต่อจากการเข้าลงทุนใน CAP เมื่อปี 2564 เพื่อรุกเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินได้อย่างรวดเร็วและขยายความร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ทางธุรกิจไปสู่ตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการสูง ทำให้ไทยออยล์ได้รับประโยชน์จากการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าระหว่างทั้ง 2 โครงการ เนื่องจากสามารถส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นของโครงการ CFP เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับ CAP ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งความสามารถทางการแข่งขัน และเพิ่มอัตราการทำกำไรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ไทยออยล์ยังคงเดินหน้าสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำในธุรกิจพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ 'Empowering Human Life through Sustainable Energy and Chemicals' โดยการยอดสู่ธุรกิจที่หลากหลายโดยอาศัยรากฐานที่มั่นคงจากธุรกิจหลัก (Building on Our Strong Foundation) พร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและเติบโตไปพร้อมกับคนไทย พร้อมก้าวสู่องค์กร 100 ปีอย่างยั่งยืน
นายณรงค์ รัฐอมฤต (กลาง) ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ, ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ที่2 จากซ้าย), นางอังคณีย์ ฤกษ์ศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (ที่1 จากซ้าย) และคณะกรรมการ บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE) ถ่ายภาพร่วมกันภายหลังการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบทุกวาระ และอนุมัติเพิ่มทุนขายหุ้น PP จำนวน 211.77 ล้านหุ้น เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและขยายกิจการในอนาคต พร้อมอนุมัติขายหุ้น TSR
FVC ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 เดินหน้าขยายการลงทุน 3 ธุรกิจหนุนรายได้โต 25%
—
นายวิทิต สัจจพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท (กลางขวา) นายวิจิตร เตชะเกษม ...
ผู้ถือหุ้น AMA พร้อมใจอนุมัติจ่ายปันผล 0.25 บ./หุ้น-รับเงิน 15 พ.ค.นี้
—
คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ (แถวหน้าที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการ คุณพิศาล รัชกิจประการ (ย...
STX จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห. ไฟเขียวพร้อมอนุมัติจ่ายปันผลอีก 0.10 บาท
—
ดร.จเรรัฐ ปิงคลาศัย (กลาง) รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายทรงวุธ เ...
FPI ฉลุย! ผถห.อนุมัติปันผลอีก 0.04 บ./หุ้น รวมปี 67 จ่าย 0.08 บ./หุ้น
—
นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคณะกรรมการแ...
ไอแบงก์รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 94%
—
พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการตามหลักชะรีอะ...
ผู้ถือหุ้น SUPER โหวตผ่านทุกวาระ
—
นายกำธร อุดมฤทธิรุจ (กลาง) ประธานคณะกรรมการ และ นายจอมทรัพย์ โลจายะ (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร...
PSP ประชุมผู้ถือหุ้นปี 2568 อนุมัติปันผล 0.15 บาท/หุ้น จากกำไรปี 2567 ทำลายสถิติ 672 ล้านบาท
—
บมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP) ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์หล่อลื...