นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปี 2564 รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 307,185 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 88 ของกรอบการลงทุนทั้งปี โดย สคร. ได้ติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด รวมถึงเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการลงทุนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปีที่ผ่านมา
นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปี 2564 ของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน จำนวน 9 แห่ง ได้สิ้นสุดการดำเนินการแล้ว โดยมีผลการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2564 จำนวน 161,724 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92 ของกรอบการลงทุนทั้งปี ส่งผลให้ภาพรวมการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจจำนวน 43 แห่ง ในปี 2564 สูงถึง 307,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 กว่า 53,363 ล้านบาท
ผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ประจำปี 2564 (ณ เดือนธันวาคม 2564 ของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณและปีปฏิทิน)
รัฐวิสาหกิจ กรอบลงทุนทั้งปี ผลเบิกจ่ายสะสม % เบิกจ่ายสะสม/กรอบลงทุนทั้งปี
ปีงบประมาณ (ต.ค. 63 - ก.ย. 64)
จำนวน 34 แห่ง 174,009 145,461 84%
ปีปฏิทิน (ม.ค. - ธ.ค. 64)
จำนวน 9 แห่ง 176,465 161,724 92%
รวม 43 แห่ง 350,474 307,185 88%
สำหรับการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณมีผลการเบิกจ่ายสะสมจำนวน 14,263 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม
ผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ประจำปี 2565 (ณ เดือนธันวาคม 2564 ของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ)
รัฐวิสาหกิจ แผนเบิกจ่ายสะสม ผลเบิกจ่ายสะสม % เบิกจ่ายสะสม/แผนเบิกจ่ายสะสม
ปีงบประมาณ (ต.ค. 64 - ก.ย. 65)
จำนวน 34 แห่ง (ไตรมาส 1) 15,007 14,263 95%
ปีปฏิทิน (ม.ค. - ธ.ค. 65)
จำนวน 9 แห่ง (เริ่มดำเนินการเดือน ม.ค. 65)
รวม 43 แห่ง 15,007 14,263 95%
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ (คณะกรรมการฯ) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 คณะกรรมการฯ ได้มีนโยบายให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจกำกับการดำเนินการอย่างใกล้ชิดให้รัฐวิสาหกิจเร่งขออนุมัติปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี 2565 ให้แล้วเสร็จ โดยให้เสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมชาติภายในไตรมาสแรกของปีบัญชี และปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2565 (Front - Loaded) เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการและเบิกจ่ายงบลงทุนโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบการลงทุนสูงและมีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปี 2564 เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายและเป็นเครื่องมือสำคัญก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
แม้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ตลาดธุรกิจ Food Delivery ของประเทศไทย มีความเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด-19 แต่หลังจากการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น ในวันนี้เหลือผู้เล่นเพียงไม่กี่รายที่ยังครองตลาดบนแพลตฟอร์ม Food Delivery ได้อย่างเหนียวแน่น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการร้านค้า SME ที่จะปรับแนวทาง หากลยุทธ์ ปั้นร้านให้ดีที่สุด ขยายฐานลูกค้า เพิ่มยอดขาย และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น แต่ท่ามกลางจำนวนร้านค้านับแสนราย การจะสร้างร้านให้ "โดดเด่น" จำ
ทีทีบีชวนทำความรู้จักกองทุน Thai ESGX ทางเลือกใหม่เพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีและลงทุนอย่างยั่งยืน
—
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างความม...
TIDLOR ผลประกอบการ Q1/68 แข็งแกร่ง ธุรกิจนายหน้าประกัน-สินเชื่อ โตต่อเนื่อง
—
โชว์กำไรนิวไฮ 1,218 ล้านบาท เติบโต 10.3% (YoY) พร้อมคุม NPL ต่ำ 1.78% เตรียม...
"CHAO" ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2568 ทำรายได้ 323.3 ล้านบาท หลังกลุ่มขนมขบเคี้ยวจากเนื้อสัตว์ในจีนโตเด่น ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 11.8%
—
พร้อมเล็งจับมือ TKN...
กสิกรไทยแต่งตั้งกรรมการใหม่ 2 คน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
—
ธนาคารกสิกรไทยประกาศแต่งตั้ง นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย และนางสาวจิตสุภา วัชรพล เข้าเป็นคณะ...
KBank appoints two new directors to replace vacant positions.
—
KASIKORNBANK (KBank) announces the appointment of Mr. Chatchai Luanpolcharoenchai and Ms. ...
'AIMIRT' โชว์ผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 68 เติบโตกว่า 50% จ่ายปันผลสูงอย่างต่อเนื่อง'
—
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เ...