เคยมีคำกล่าวว่า "แนวทางการตลาดที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนานกว่าหกเดือน จะไม่มีวันย้อนกลับมาทำเหมือนเดิมได้อีกแล้ว" เทียบเคียงได้กับองค์กรที่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลภายใต้สภาพแวดล้อมด้านไอทีใหม่ ๆ เช่น คลาวด์ เวอร์ช่วลแมชชีน บิ๊กดาต้า แมชชีนเลิร์นนิ่ง เอไอ ไอโอที เป็นต้น ซึ่งได้เปลี่ยนแนวทางดำเนินธุรกิจไปตลอดกาล
การตลาด 5.0 ในวันที่ทุกอย่างเปลี่ยนไป
ว่ากันว่า การตลาด 5.0 คือ ยุคของเทคโนโลยีเพื่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งเห็นจริงแล้วจากสถานการณ์ โควิด-19 ที่เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลบิ๊ก ดาต้า ซึ่งถูกใช้เพื่อสนับสนุนระบบสาธารณสุข การพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจและการตลาดใหม่ ๆ ผ่านออนไลน์ เพื่อรับใช้วิถีชีวิตแบบ Work from Home อย่างจริงจัง
การตลาด 5.0 จึงเป็นยุคที่องค์กรธุรกิจต้องเข้าถึงลูกค้าด้วยแพลตฟอร์มใหม่ ๆ แม้ในยามที่เราไม่สามารถเจอลูกค้าแบบตัวต่อตัว โดยมี ข้อมูล เป็นวัตถุดิบสำคัญในการขับเคลื่อนการตลาด (Data-Driven) ผ่านการประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลอื่น ๆ เช่น เอไอหรือแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อสร้างการตลาดแบบคาดการณ์ (Predictive Marketing) ที่พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มความสำเร็จทางธุรกิจที่เป็นไปได้ หรือสร้างแคมเปญทางการตลาดที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย (Contextual Marketing) ไอโอทีในการสร้างช่องทางการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เออาร์หรือวีอาร์ในการสร้างแพลตฟอร์มการตลาดเสมือนจริง (Mixed Reality Marketing) เพื่อกระตุ้นการซื้อได้ในแบบออนไลน์และออฟไลน์ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ลูกค้ายุคการตลาด 5.0 ต่างอัพเกรดสู่การเป็นโปรซูเมอร์ (Prosumer) หรือ บอสซูเมอร์ (Bossumer) ที่รู้จริงมากขึ้น คิดก่อนซื้อมากขึ้น ต้องการสินค้าบริการที่เฉพาะตัวมากขึ้น ซึ่งไอทีจะมีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่รูปแบบ As-a-Service ซึ่งตอบสนองได้มากกว่าการส่งมอบสินค้าและบริการ แต่คือ การทำธุรกิจที่มุ่งสร้าง ประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เป็นสำคัญ
ไอทีที่ธุรกิจ 5.0 ต้องการ
การ์ทเนอร์กล่าวว่า สิ่งที่ผู้บริหารธุรกิจคาดหวังจากเทคโนโลยีในปี 2565 และจากนี้ไปอย่างน้อย 3-5 ปี คือ การขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ โดยต้องตอบโจทย์ใน 3 สาระสำคัญ คือ
สมรภูมิแรนซัมแวร์ยังเดือด
การเกิดขึ้นของ Ransomware As a Service ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นในยุคการตลาด 5.0 แต่เกิดขึ้นจริงแล้วสำหรับบริการมัลแวร์ในการโจมตีข้อมูลและระบบไอที ซ้ำการจ่ายค่าไถ่ผ่านบิตคอยน์ที่ไม่สามารถระบุตัวตนทำให้ติดตามจับกุมได้ยาก ปัจจุบัน เกิดกรณีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ถี่ขึ้นเกือบทุกสองหรือสามเดือน ทั้งยังพบว่า ในปี 2564 องค์กรธุรกิจต้องใช้เวลานานกว่า 287 วัน ในการระบุหรือตรวจพบการละเมิดข้อมูล แม้ว่าการโจมตีของแรนซัมแวร์ยังวนเวียนอยู่ใน 3 วิธีการ คือ หนึ่ง ขโมยข้อมูลออกไปโดยไม่รู้ตัวแล้วนำกลับมาต่อรอง สอง ไม่ได้ขโมยแต่ก็อปปี้ข้อมูลออกไปใช้ และ สาม ใส่รหัสข้อมูลทำให้เจ้าของข้อมูลใช้งานไม่ได้ นอกจากเสียค่าไถ่เพื่อแลกกับกุญแจถอดรหัส แต่ปัญหาตัวโตๆ ณ ขณะนี้ คือ องค์กรที่มีระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลก็อย่าได้วางใจ เพราะ แรนซัมแวร์สามารถโจมตีลึกถึงระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์หลัก ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ หรือแม้กระทั่งในเทปแบ็คอัพก็ตาม
บริษัทไอทีอย่าง HPE แนะเทคนิคการสร้างความปลอดภัยไอทีที่สมบูรณ์ว่า ควรประกอบด้วยขั้นตอนป้องกัน (Prevent) และตรวจจับตอบโต้ (Detect & Response) และจำเป็นต้องใช้ เอไอ ช่วยตรวจจับ ป้องกัน และสร้างระบบอัตโนมัติให้เข้าควบคุมแก้ไขในทันที เพื่อขจัดห่วงโซ่ภัยคุกคาม ไซเบอร์ที่แฝงมากับการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันต่าง ๆ ช่องโหว่จากการเปิดใช้งานไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย อีเมลฟิชชิ่ง หรือการส่งมัลแวร์เข้ามาฝังตัวโดยตรง เป็นต้น รวมถึงควรเชื่อมโยงเทคโนโลยีความปลอดภัยแต่ละจุดในองค์กรให้สามารถประสานการทำงานร่วมกันในทุกสภาพแวดล้อมทั้งคลาวด์และไม่ใช่คลาวด์ ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการปกป้องข้อมูลขององค์กรยุคดิจิทัลมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง
ตัวอย่างของ Cohesity Span FS คือ หนึ่งในแพลตฟอร์มจาก HPE ที่พร้อมดูแลระบบสำรองและข้อมูลซึ่งถือเป็นปราการป้องกันข้อมูลสุดท้ายจากแรนซัมแวร์ ด้วยระบบ Data Lock ที่ช่วยปกป้องไฟล์แบ็คอัพทันทีที่พบสิ่งน่าสงสัยหรือมุ่งร้าย เทคโนโลยี Air-Gap ให้องค์กรสามารถกำหนดวิธีจัดการข้อมูลสำคัญอย่างเหมาะสม และเทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลหลายชั้น (Multi-Factor Authentication-MFA) ด้วยการสร้างรหัสผ่านแบบใช้แล้วทิ้ง หรือ OTP อีกชุดหนึ่ง นอกเหนือรหัสผ่านที่ใช้ประจำซึ่งถูกขโมยได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ ยังมี Cohesity Helios ระบบตรวจจับผู้บุกรุกผ่านการจัดการข้อมูลแบบ Data Management as a Service พร้อมด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อเสริมการตรวจจับและจัดการทั้งข้อมูลและแอปพลิเคชันในเชิงลึกได้แม่นยำและเข้าใจง่ายผ่านการแสดงผลแบบแดชบอร์ด รวมถึงสามารถกู้คืนข้อมูลหรือแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรสามารถเดินหน้าธุรกิจสู่ยุคการตลาด 5.0 ได้อย่างปลอดภัย
แม้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ตลาดธุรกิจ Food Delivery ของประเทศไทย มีความเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด-19 แต่หลังจากการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น ในวันนี้เหลือผู้เล่นเพียงไม่กี่รายที่ยังครองตลาดบนแพลตฟอร์ม Food Delivery ได้อย่างเหนียวแน่น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการร้านค้า SME ที่จะปรับแนวทาง หากลยุทธ์ ปั้นร้านให้ดีที่สุด ขยายฐานลูกค้า เพิ่มยอดขาย และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น แต่ท่ามกลางจำนวนร้านค้านับแสนราย การจะสร้างร้านให้ "โดดเด่น" จำ
ทีทีบีชวนทำความรู้จักกองทุน Thai ESGX ทางเลือกใหม่เพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีและลงทุนอย่างยั่งยืน
—
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างความม...
TIDLOR ผลประกอบการ Q1/68 แข็งแกร่ง ธุรกิจนายหน้าประกัน-สินเชื่อ โตต่อเนื่อง
—
โชว์กำไรนิวไฮ 1,218 ล้านบาท เติบโต 10.3% (YoY) พร้อมคุม NPL ต่ำ 1.78% เตรียม...
QTC เดินเกมรุกธุรกิจ Green Energy โชว์รายได้ไตรมาส 1/68 เพิ่มขึ้น 2.8%
—
บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) ระบุ ตั้งแต่ต้นปีประเทศไทยเผชิญความท้าทาย ทั้งเศรษฐ...
แลนด์มาร์คใหม่ MINISO Flagship Store เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ศูนย์รวมสินค้าไลฟ์สไตล์ และสินค้าแบรนด์ลิขสิทธิ์ดังจากทั่วโลก
—
เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ...
"CHAO" ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2568 ทำรายได้ 323.3 ล้านบาท หลังกลุ่มขนมขบเคี้ยวจากเนื้อสัตว์ในจีนโตเด่น ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 11.8%
—
พร้อมเล็งจับมือ TKN...
Krungsri Foundation supports Relief and Community Health Bureau, Thai Red Cross Society, in helping natural disaster victims
—
Krungsri Foundation, repres...
มูลนิธิกรุงศรีมอบเงินแก่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย หนุนพันธกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
—
มูลนิธิกรุงศรี โดย นายพูนสิทธิ์ ว่องธว...
"ก้อง-สมเกียรติ" คว้ารางวัลเกียรติยศ "นักกีฬาอาชีพชายยอดเยี่ยม" 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2565-2567)
—
ตอกย้ำความสำเร็จ "ฮอนด้า เรซ ทู เดอะ ดรีม" สร้างแรงบันดาลใจสู่...
มจธ. พัฒนา"อะลูมิเนียมทนร้อน"ชนิดใหม่ เสริมแกร่งด้วยนิกเกิลและธาตุหายาก ตอบโจทย์อุตสาหกรรม EV
—
ทีมวิจัย มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมผสมชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติทนค...