ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาด ทำให้ประชาชนต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อ ซึ่งปัญหาเรื้อรังของทุกชุมชนในช่วงหน้าฝนหนีไม่พ้นเรื่องการกำจัดขยะอินทรีย์
อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Center and Technology Development for Environmental Innovation - REi) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ค้นพบทางออกสำหรับปัญหาการกำจัดขยะอินทรีย์ของครัวเรือน
โดยได้ประดิษฐ์ "เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม" ได้กล่าวถึงธรรมชาติของการย่อยสลายขยะอินทรีย์ มีความแตกต่างกันตามลักษณะของขยะแต่ละประเภท ซึ่งปัญหาขยะ ณ บางจุดทิ้งส่งกลิ่นเนื่องจากเกิดการตกค้าง รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงขาดความรู้เรื่องการจัดการกับขยะอย่างเหมาะสม
ทางเลือกสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ จากการรู้วิธีการจัดการกับขยะอินทรีย์ คือ "การตัดตอน" ปัญหาการตกค้างของขยะของอินทรีย์ ด้วยเครื่องกำจัดขยะภายในครัวเรือน จาก "วัสดุเหลือทิ้ง" ที่นอกจากจะเป็นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังสามารถช่วยในการย่อยสลายภายในระยะเวลาก่อนที่ขยะจะแปรสภาพส่งกลิ่น
"วัสดุเหลือทิ้ง" ที่ อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ เลือกนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน ได้แก่ ถังแก๊สรถยนต์ และถังหุงต้ม ที่สามารถหาได้ทั่วไปตามครัวเรือน และร้านขายของเก่า โดยได้นำมาติดอุปกรณ์ที่จะสามารถเติมออกซิเจนให้กับขยะ เพื่อลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ จากการย่อยสลายของเชื้อจุลินทรีย์ในขยะ รวมทั้งได้ติดตั้งเครื่องตั้งเวลา (Timer) เพื่อให้กระบวนการย่อยสลายเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนด
ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ คือ วัสดุที่จะช่วยดูดซับความชื้นจากขยะ เพื่อให้กระบวนการย่อยสลายตามที่ผู้ประดิษฐ์ได้ออกแบบไว้เป็นไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะสามารถใช้ "ขี้เลื่อย" ที่ผ่านการทดลองแล้วพบว่าได้ผลดีที่สุดแล้ว ยังสามารถใช้ "ก้อนเชื้อเห็ด" ที่หมดอายุแล้ว หรือจะใช้ "ขุยมะพร้าว" ผสมกับ "ทางมะพร้าวสับ" ตลอดจนใบไม้แห้งบดละเอียด ในอัตราส่วนขยะ 1 ส่วน ต่อวัสดุดูดซับ 1 ส่วน ก็ย่อมสามารถนำมาใช้ได้
อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ อธิบายว่า ผลงานที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้เป็นเครื่องช่วยในการย่อยสลายขยะ ไม่ใช่เครื่องทำปุ๋ยโดยสามารถใช้ได้กับขยะอินทรีย์ในลักษณะที่เป็นกาก ทั้งดิบและสุก ไม่ว่าจะเป็นเศษผัก หรือผลไม้ หรือก้างปลา ซึ่งหากมาในลักษณะที่เป็นน้ำ ควรมีการกรองเอาน้ำออกก่อนหรือถ้าเป็นขยะอินทรีย์ชิ้นใหญ่ เช่นกระดูกสัตว์อื่นๆ ก็สามารถใช้ได้หากสามารถทำให้เป็นชิ้นเล็กก่อน
ซึ่งกระบวนการย่อยสลายอยู่ที่ภายใน 48 ชั่วโมง โดยผู้ใช้สามารถเติมขยะลงในเครื่องได้ โดยขี้เลื่อย หรือวัสดุดูดซับความชื้น สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะถึงเวลาจะต้องเปลี่ยนถ่ายภายในถัง จากการเสื่อมสลายของวัสดุ
จุดมุ่งหมายสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรม คือ การส่งเสริมแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ให้กับนักศึกษา ซึ่งจะได้เรียนรู้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบการผลิต และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ โดยไม่ได้มุ่งหวังที่ผลกำไรเป็นตัวตั้ง
อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ มองว่าในฐานะที่ตนเป็นอาจารย์ที่สอนด้านสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดจากเพียงการสอน แต่เกิดจากการให้นักศึกษาได้ลงมือทำด้วยตัวเอง เพื่อจะได้สามารถนำไปถ่ายทอด และขยายผลต่อไปได้
ซึ่งการจัดการกับขยะที่ยั่งยืนจะต้องจัดการที่ต้นทาง โดยที่ผ่านมาทีมวิจัยได้ออกแบบขนาดถังของเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยได้มีการทดลองนำไปใช้อย่างเห็นผลแล้วในชุมชน ตลอดจนตามโรงเรียนต่างๆและได้พิสูจน์แล้วถึงประโยชน์ที่ตอบโจทย์สังคม จากการสามารถคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดี สาขาสังคมวิทยา ที่ผ่านมา
ก้าวต่อไป ทีมวิจัยเตรียมขยายผลเพื่อใช้จัดการกับอาหารภายในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเหลวสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มักพบอุปสรรคในการนำไปกำจัด โดยอาจนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการกับอาหารเหลวสำหรับผู้ป่วยติดเตียงตามครัวเรือนได้ต่อไปอีกด้วย
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
รวมพลังชาวประมงสมุทรสาครดูแลท้องทะเลไทย-ทำปะการังเทียมฟื้นฟูระบบนิเวศพร้อมเป็น 'เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน' ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร.จิระวัฒน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เจ้าหน้าที่บริหารระดับ Vice President ฝ่ายผู้จัดการใหญ่ นายสุวิทย์ อินทรเฉลิม เจ้าหน้าที่บริหารระดับ Vice President ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ และนายสาโรจน์ โรจนสาโรจน์ เจ้าหน้าที่บริหารระดับ Assistant Vice President ผู้จัดการภาค 3 ลูกค้าธุรกิจรายกลางต่างจังหวัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และพนักงาน
"น้ำดื่มคริสตัล" ร่วมกับ "โลตัส" เปิดแคมเปญเซฟพื้นที่สีฟ้าและสัตว์ในท้องทะเล
—
ชวนทุกคนอนุรักษ์ทะเลไทย ผ่านฝารักษ์โลกและฉลากบรรจุภัณฑ์ดีไซน์ใหม่ลายวาฬบรูด...
กลุ่มบริษัทยูนิไทย ร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลน เนื่องในวันคุ้มครองโลก เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
—
กลุ่มบริษัทยูนิไทย ร่วมฟื้นฟูระบบน...
มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง
—
มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้ส...
AIT จับมือ กรมประมง วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
—
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ร่วมกับ กรมประมง สังกั...
เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว จัดกิจกรรม Earth Hour 2025 สร้างความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
—
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพ...
กลุ่มบริษัทบางจาก สนับสนุนเยาวชนรอบพื้นที่ปฏิบัติการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านประสบการณ์จริงกับมูลนิธิ ESF
—
กลุ่มบริษัทบางจาก ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแว...
ซีล-อาเบกก์ ผู้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า จากเยอรมนี ผนึกกำลังผู้บริหารโซนเอเชียฯ-เยอรมนี จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนในไทย
—
บริษัท ซีล-อาเบกก์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Z...
ชลิต อินดัสทรีฯ ร่วม ประมงสมุทรสาคร สร้างสมดุลระบบนิเวศ สานต่อ "ชลิต อินดัสทรี รักษ์เล ปล่อยปลา คืนสู่ธรรมชาติ" ปี 3
—
แหล่งน้ำเป็นหัวใจสำคัญของระบบนิเวศท...