ม.มหิดล จัดทำคู่มือ "พลเมืองช่างคิด: การสืบสอบเชิงปรัชญากับพลเมืองประชาธิปไตย" เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้"อยู่อย่างเข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในโลกของการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนต้องพึ่งข่าวสารดิจิทัลแต่มีปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง เรื่องของการพัฒนา "ความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย" เพื่อให้สมาชิกของสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย สามารถ "อยู่อย่างเข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้น

ม.มหิดล จัดทำคู่มือ "พลเมืองช่างคิด: การสืบสอบเชิงปรัชญากับพลเมืองประชาธิปไตย" เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้"อยู่อย่างเข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์"

อาจารย์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง หนึ่งใน "ทักษะที่จำเป็นของการเป็นพลเมือง" ของคนรุ่นใหม่ในโลกยุคดิจิทัลว่า จะต้องมีทักษะในการพิจารณาข้อมูลข่าวสาร "สนใจ-แยกแยะ-เปิดใจรับฟังความเห็นต่าง"

ซึ่งพื้นฐานสำคัญของ "อยู่อย่างเข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" คือการฝึกการรับฟัง ทำความเข้าใจในมุมมองต่างๆ และการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล รวมทั้งการพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์อย่างร่วมมือ และเอื้ออาทร

ที่ผ่านมา โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (IHRP) ได้มีความพยายามผลักดันการสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ภายใต้การจัดการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการ ที่เอื้อให้เกิดการพัฒนากระบวนการความคิดที่เป็นระบบ และเปิดกว้าง เพื่อหา "จุดร่วม" และก้าวข้าม "จุดต่าง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่เปิดสู่ภูมิภาค

โดยปัจจุบันนอกจากหลักสูตรปริญญาโทภาษาไทย ที่เปิดสอนด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ยังได้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสู่หลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติในด้านเดียวกัน นอกจากนี้ยังจัดให้มีหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติที่เน้นการทำวิจัยประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชีย

รวมทั้งหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในเอเชียแปซิฟิค 4 แห่ง โดยหลักสูตรนานาชาติทั้ง 3 หลักสูตรเปิดรับนักศึกษาจากทั่วโลก

ในส่วนของงานวิจัยที่ อาจารย์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ได้รับทุนจาก The British Academy สหราชอาณาจักรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา ส่งเสริมแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยในรั้วสถาบันอุดมศึกษาไทย

โดยได้ทำวิจัยในมหาวิทยาลัยไทย 9 แห่ง ภายใต้โครงการ"การใช้แนวทางการสอนแบบชุมชนสืบสอบเชิงปรัชญาเพื่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์และการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย" หรือ CoPE

อาจารย์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ มองว่า ปัจจุบันงานวิจัยส่วนใหญ่ที่ได้รับการพิจารณาสนับสนุนเป็นลำดับต้นๆ มักทำขึ้นเพื่อตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจ ในขณะที่งานวิจัยเพื่อสังคมยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร ซึ่งการส่งเสริมแนวคิดเรื่องสิทธิพลเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน

โครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในระยะแรกแล้ว โดยได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้านความเป็นพลเมืองและความคิดเชิงวิพากษ์ผ่านกระบวนการสืบสอบเชิงปรัชญาทาง https://thaicope.wordpress.com

ปัจจุบันได้จัดพิมพ์เป็นคู่มือ "พลเมืองช่างคิด: การสืบสอบเชิงปรัชญากับพลเมืองประชาธิปไตย" จำนวน 1,000 เล่มเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ด้านพลเมืองประชาธิปไตยสู่วงกว้าง

โดยเตรียบมอบคู่มือให้กับสถาบันอุดมศึกษาเครือข่าย และมีแผนที่จะเผยแพร่ให้กับครูผู้สอนที่สนใจผ่านเครือข่าย Thai Civic Education และในงานมหกรรมทางการศึกษาซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงปลายปีที่คาดว่าจะกลับมาจัดขึ้นในรูปแบบปกติ onsite ต่อไป

"ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงการรอคอยคำตอบ แต่คือการลุกขึ้นมา "ตั้งคำถาม" "ทำความเข้าใจ" และ "มีส่วนร่วม" ในฐานะพลเมือง

โดยสถาบันการศึกษาควรเป็นพื้นที่ที่ปลูกฝัง "การเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ " ของคนทุกคน และสร้างให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนตั้งแต่วัยเยาว์" อาจารย์ ดร.วัชรฤทัยบุญธินันท์ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)

ออกแบบแบนเนอร์โดย วรรณภา อินทรประเสริฐ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา

งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าววัชรฤทัย บุญธินันท์+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุน พสวท. ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ "SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน"ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-3 พฤษภาคม 2568 ณ สิริน พลา รีสอร์ท แอนด์ เรสเทอร์รองท์ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีเปิด รวมทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

เป้าหมายแรกของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)... ม.มหิดล ต่อยอดพัฒนา "คู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์" 3 ภาษาเป็นครั้งแรก — เป้าหมายแรกของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ คือ การขจัดความ...

แอ็คชันเอด ประเทศไทย ผนึกกำลังพันธมิตร จัดคอนเสิร์ต ด.เด็กเสียงใส อยากได้ครูใจดี

เมื่อเร็วๆ นี้นางวัชรฤทัย บุญธินันท์ (แถวยืนที่ 1, ที่ 4 จากขวา) ผู้จัดการองค์การแอ็คชันเอด ประเทศไทย ร่วมกับองค์การแพลน ประเทศไทย เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก และกลุ่มโลกทัศน์สโมสรจัดคอนเสิร์ต "ด.เด็ก เสียงใส อยากได้ครู...

องค์การแอ็คชันเอด ประเทศไทย ผนึกกำลังพันธมิตร ร่วมจัดโครงการ Thailand Campaign for Education Action Week

เมื่อเร็วๆ นี้นางวัชรฤทัย บุญธินันท์ (ซ้าย) ผู้จัดการองค์การแอ็คชันเอด ประเทศไทย ร่วมกับองค์การแพลน ประเทศไทย เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก และกลุ่มโลกทัศน์สโมสรจัด ได้ร่วมจัดงานแถลงข่าวโครงการ...

องค์การแอ็คชันเอด ประเทศไทย ผนึกพันธมิตร สร้างหลักประกันการศึกษาถ้วนหน้าให้เด็กด้อยโอกาสกว่า 1 ล้านคน ในงาน "มหกรรม ด. เด็ก เสียงใส อยากได้ครูใจดี"

องค์การแอ็คชันเอด ประเทศไทย ร่วมกับ องค์การแพลน ประเทศไทย เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก และ กลุ่มโลกทัศน์สโมสรจัด "มหกรรม ด. เด็ก เสียงใส อยากได้ครูใจดี"...